1 เม.ย. 2020 เวลา 14:33 • การศึกษา
เปาโล เฟรรี กับแนวคิด ”การศึกษาเพื่อเสรีภาพ”
1
เปาโล เฟรรี
วันนี้จะมาทำความรู้จักกับ เปาโล เฟรรี (Paulo Freire) นักการศึกษาชาวบลาซิล ที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.1921 - 1997 ซึ่งแนวคิดของเขาได้มีอิทธิพลต่อวงการศึกษาโลก มากที่สุดในช่วงปลายศตวรรษที่ 20
แนวคิดด้านการศึกษาของ เปาโล เฟรรี เน้นการสอนและการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการโต้แย้งและแสดงความคิดเห็น โดยคำนึงถึงผู้ที่ถูกกดขี่บีบคั้นเพราะขาดโอกาสและถูกเอารัดเอาเปรียบมากขึ้น
จุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ของ เปาโล เฟรรีขึ้น เกิดขึ้นเมื่อเขาได้เขียนหนังสือเล่มแรก ชื่อว่า "การศึกษาในฐานะการปฏิบัติเพื่อเสรีภาพ" (Education as the Practice of Freedom) ขึ้นขณะที่เขาต้องลี้ภัยจากบราซิล ไปยังซิลี ใน ค.ศ.1965
หนังสือเรื่อง "การศึกษาในฐานะการปฏิบัติเพื่อเสรีภาพ" (Education as the Practice of Freedom)
โดยเหตุที่เขาต้องลี้ภัยจากบราซิล ไปยังซิลีนั้น เกิดจากความพยายามริดรอนเสรีภาพและการกวาดล้างผู้เห็นต่างของรัฐบาลทหารที่มาจากการปฎิวัติของบราซิลในขณะนั้น ที่ไม่พอใจแนวคิดของเขาที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อระบบอภิสิทธิ์และผลประโยชน์ของของชนชั้นนำในขณะนั้น
คณะรัฐบาลทหารของบลาซิลในช่วง ค.ศ.1964-1985
การกวาดล้างผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในบราซิลโดยรัฐบาลทหาร ช่วง ค.ศ.1964-1985
การกวาดล้างผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในบราซิลโดยรัฐบาลทหาร ช่วง ค.ศ.1964-1985
ในระหว่างปี 1969 - 1970 เขาได้เขียนหนังสือที่ทำให้เขาโด่งดังไปทั่วโลก นั่นคือ การศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่ (Pedagogy of the Oppressed) ซึ่งได้แบ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบเสวนา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนแรก คือ การสร้างการรับรู้และการคิดอย่างวิเคราะห์วิจารณ์เกี่ยวกับสภาพเป็นจริงในสังคมให้เกิดขึ้นก่อน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ว่าสภาพเป็นจริงของตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัวว่าได้รับนั้นถูกบีบคั้นและปฏิบัติอย่างอย่างไร
ในขั้นตอนที่สอง คือ ความพยายามเสวนา ตามหลักทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ เพื่อหาข้อสรุปที่มาจากข้อมูลในด้านแรก เพื่อหาแนวทางเปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหาของระบบที่บีบคั้นเป็นอยู่ต่อไป
หนังสือเรื่อง “การศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่” (Pedagogy of the Oppressed)
โดยแนวคิดของเปาโล เฟรรี นี้ เป็นการมองว่าตราบใดรัฐยังริดรอนเสรีภาพทางความคิดและควบคุมความคิดของผู้คนอย่างเข็มงวดแล้ว กระบวนการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศชาตินั้นย้อมเป็นเครื่องมือในการกดขี่ให้ผู้คนตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอย่างไม่รู้ตัวเช่นเดียวกัน
ดังนั้นการสอนให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในการทำความเข้าใจกับสิ่งใกล้ตัวและสภาพเป็นจริงของรอบตัวเขาเองอย่างเสรี ย้อมนำไปสู่เสรีภาพทางความคิด ที่เจริญงอกงาม มากกว่าการบังคับให้คิดตามแบบที่ผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น
ด้วยเหตุนี้ เมื่อระบบเผด็จการทหารในบราซิลได้เริ่มผ่อนคล้ายลง ในปี ค.ศ.1980 เปาโล เฟรรี ได้รับเชิญให้กลับประเทศบราซิลอีกครั้ง และได้กลับไปรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยของบราซิลอีกครั้ง จนถึงแก่กรรม ในปี ค.ศ.1997
เปาโล เฟรรี ในปั่นปลายชีวิต ที่บราซิล
จากแนวคิดของเปาโล เฟรรี ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราเห็นได้ว่าระบบการศึกษา นั้นไม่สามารถแยกออกจากสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ได้เลย...
โฆษณา