3 เม.ย. 2020 เวลา 16:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หือ? อะไรนะ ขั้วโลกใต้เคยเป็นป่าดิบชื้นมาก่อนเหรอ!!?? 😮🧐🌲🌳
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบร่องรอยของป่าดิบชื้นบนพื้นทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ในปัจจุบัน
สภาพจำลองของทวีปแอนตาร์กติกาหรือขั้วโลกใต้ในปัจจบันเมื่อหลายร้อยล้านปีที่แล้ว
ทีมนักวิจัยร่วม เยอรมัน-อังกฤษ ขุดค้นพบดินจากบริเวณป่าดิบชื้นจากยุคครีเทเชียส Cretaceous ซึ่งต้องย้อนกลับไปเมื่อ 90 ล้านปีที่แล้ว
โดยยุคครีเทเชียสนี้เป็นยุครอยต่อระหว่างยุคจูราสสิคและยุคพาลีโอจีน เป็นยุครุ่งเรืองของไดโนเสาร์ก่อนที่ปลายยุคเมื่อ 65 ล้านปีก่อนจะเกิดอุบัตการณ์อุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลกจนทำให้พวกมันสูญพันธุ์สิ้นไปจากพื้นพิภพ
ภาพจำลองโลกในยุคครีเทเชียส
ซึ่งตำแหน่งที่ขุดค้นพบตัวอย่างดินนี้อยู่ห่างจากชั้วโลกใต้ประมาณ 900 กิโลเมตร
ตัวอย่างดินที่ได้มานั้นมีทั้งละอองเกสร เศษรากไม้ สปอร์ จึงทำให้เชื่อได้ว่าดินแดนแถบนี้เคยมีภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์เอาไว้
ตำแหน่งที่ขุดค้นพบดินจากยุคดึกดำบรรพ์
การค้นพบตัวอย่างดินจากเมื่อ 90 ล้านปีก่อนนี้ทำให้เรามีหลักฐานว่าเมื่อก่อนบริเวณแถบใกล้ขั้วโลกใต้นี้ก็ยังเป็นป่าดิบชื้นได้ แม้ว่าในช่วงฤดูหนาวจะมีกลางคืนที่ยาวนานก็ตาม
การที่พืชเหล่านี้ยังมีชีวิตรอดอยู่ได้ในช่วงฤดูหนาวของขั้วโลกใต้นี้แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลานั้นโลกเราน่าจะร้อนกว่าปัจจุบันมาก
ทั้งนี้ขั้วโลกใต้จะมีช่วงเวลาที่มีกลางคืนยาวนานต่อเนื่องได้ถึง 4 เดือน ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าพืชพรรณเหล่านี้รอดชีวิตอยู่ได้อย่างไรในช่วงเวลามืดมิดยาวนานขนาดนี้
แผนที่โลกในยุคครีเทเชียส
ซึ่งในช่วงกลางยุคครีเทเชียสนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงกว่าปัจจุบันมาก ระดับน้ำทะเลอาจสูงกว่าปัจจุบันถึง 170 เมตร
คาดกันว่าอุณหภูมิบริเวณป่าเขตร้อนแถบนี้อาจสูงถึง 35 องศาได้เลยในช่วงหน้าร้อน
ไม่น่าเชื่อนะครับที่ขั้วโลกใต้ก็เคยมีป่าดิบชื้นด้วย ในช่วงเวลานั้นโลกคงจะร้อนน่าดู 😅

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา