2 เม.ย. 2020 เวลา 14:45 • บันเทิง
นโปเลียนโบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศส 8
1
เราจะเห็นได้ว่า การที่นโปเลียนเข้าหาศาสนจักรนั้น เป็นไปเพื่อผลประโยชน์เฉพาะอย่าง (สร้างสัมพันธ์ระหว่างคาธอลิกกับฝรั่งเศส
และทำให้จักรพรรดิมีฐานะเทียบเท่ากับกษัตริย์อย่างถูกต้อง) และเมื่อพระสันตะปาปามีท่าทีกระด้างกระเดื่องต่อคำสั่งของนโปเลียน
เขาก็ไม่รอช้าที่จะขังพระสันตะปาปาไว้ในพระราชวังฟองเเตนโบล
จักรวรรดิเรืองอำนาจ
ขยายอำนาจ
ในปี ค.ศ. 1804 ยังไม่ถึงเวลาแห่งการออกรบครั้งใหญ่เพื่อยึดครองดินแดน และนโปเลียนซึ่งยึดติดกับแนวความคิดว่า
สันติภาพอย่างถาวรจะมีได้ ต่อเมื่อปราบสหราชอาณาจักรลงได้เท่านั้น ได้ร่วมกับพลเรือเอกลาตุชเชอ-เทรวิลล์
(ผู้ซึ่งเสียชีวิตก่อนจะกระทำการสำเร็จ) วางแผนบุกอังกฤษ ซึ่งเป็นแผนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากการรบที่สมรภูมิทราฟัลการ์
กองเรือฝรั่งเศส-สเปนที่บัญชาการโดยพลเรือเอกวิลล์เนิฟถูกพลเรือเอกเนลสันของอังกฤษตีจนแตกพ่าย ทำให้สหราชอาณาจักร
กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเล นับแต่นั้นจวบจนในอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา
ในปีเดียวกันนั้นเอง (ค.ศ. 1805) ได้มีการจัดตั้งกลุ่มแนวร่วมที่สามในยุโรปขึ้นเพื่อต่อต้านนโปเลียน ทำให้จักรพรรดิผู้ซึ่งกำลังบัญชาการ จากเมืองบูลอญจ์ในฝรั่งเศส เพื่อเตรียมการบุกบริเตนใหญ่ ต้องเผชิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน นโปเลียนได้สั่งให้ตั้งรับโดยทันที โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะ
ต่อพวกออสเตรียและรัสเซียมาให้จากสมรภูมิออสแตร์ลิทซ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็น"สงครามสามจักรพรรดิ" ในปี ค.ศ. 1806 ปรัสเซีย
ได้ก่อเหตุพิพาทครั้งใหม่ ซึ่งเป็นแผนการที่นโปเลียนยังชื่นชม ในความรวดเร็วของการนำแนวคิดเรื่อง "จิตวิญญาณแห่งโลก"
ของเฮเกลมาใช้ แต่นโปเลียนก็สามารถกวาดล้างกองทัพปรัสเซีย ที่การรบในสมรภูมิอิเอนาได้ในที่สุด (ซึ่งได้ความยินดีเป็นสองเท่า
จากชัยชนะของดาวูต์ ที่เมืองโอเออสเต็ดท์ในช่วงเวลาเดียวกัน) แต่นโปเลียนยังไม่หยุดแค่นั้น ในปีถัดมาเขาได้เดินทัพข้ามโปแลนด์และสิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสํญญาเมืองทิลสิทในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1807 กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่หนึ่ง
ซาร์แห่งรัสเซีย อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุโรปกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้นเพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรู (ฝรั่งเศสครองยุโรปตะวันตก และรัสเซียครองยุโรปตะวันออก โดยมีโปแลนด์อยู่ตรงกลาง)
นโปเลียนผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนและครูบาอาจารย์ในระบอบเก่า ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายทหารในกองทัพหลวงได้ทำลายกฎเกณฑ์ดั้งเดิมทางการทหารอย่างสิ้นเชิง ด้วยการไม่ริเริ่มสงครามที่กินเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษในการรบด้วยพลทหาร 30 ถึง 50,000 นาย แต่มองหาการรบที่สามารถเผด็จศึกได้อย่างเด็ดขาด ใช้ทหารกว่า 100,000 นายหากจำเป็น
นั่นคือนโปเลียนไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในสมรภูมิเท่านั้น แต่ต้องการจะบดขยี้ศัตรูอีกด้วย
ด้านความรัก... ต้องมีรัชทายาท
ที่สุดจุดปะทุสุดท้ายก็มาถึง ใน ค.ศ. 1807 เมื่อ นโปเลียน ชาร์ลส์ โบนาปาร์ต หลานย่าของพระนางโฌเซฟีน ซึ่งถูกวางตัวเป็นองค์รัชทายาท ล้มป่วยเป็นปอดบวมตาย
ในมื้อเย็นของวันที่ 30 พ.ย. ค.ศ. 1807 จักรพรรดินโปเลียนตัดสินใจบอกพระนางโฌเซฟีนว่า ถึงเวลาแล้วที่พระองค์ต้องหามเหสีองค์ใหม่ เพื่อมีรัชทายาท
พระนางโฌเซฟีนกรีดร้องคร่ำควญ ''ไม่ แล้วฉันจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร'' และช็อกถึงสิ้นสติ อย่างไรก็ตามเช้าวันรุ่งขึ้น พระนางโฌเซฟีนและข้าราชบริพารก็เสด็จออกจากพระราชวังลูฟร์ ไปพำนักอยู่ที่ ตำหนักมาเมลซอง ชานปรุงปารีส สถานที่ที่ถือว่าเป็นวังส่วนตัวของพระองค์
เหตุผลเดียวที่ทรงยินยอมก็คือ เพื่อให้จักรพรรดินโปเลียนมีโอกาสอภิเษกสมรสใหม่เพื่อมีองค์รัชทายาท
ในวันที่ 10 ม.ค. ค.ศ. 1810 การหย่าขาดระหว่างจักรพรรดินโปเลียน ที่ 1 และพระนางโฌเซฟีน ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ มีการลงพระนามในเอกสาร และกล่าวการหย่าต่อกัน ในวันที่ 11 มี.ค. จักรพรรดินโปเลียนก็เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ อาร์คดัชเชส มารี หลุยส์ แห่งออสเตรีย ทั้งเพื่อการมีองค์รัชทายาทและกุศโลบายทางการเมือง ที่ดองกันทางการเมืองไว้ระหว่างฝรั่งเศสและออสเตรีย
อาร์คดัชเชส มารี หลุยส์ ได้รับการสถานปนาเป็นจักรพรรดิณีแห่งฝรั่งเศสเช่นกัน ทว่าจักรพรรดินโปเลียนได้ตรัสกับคนสนิทหลังจากนั้นว่า..''ฉันเพียงแต่งงานกับมดลูก''
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระองค์จะแยกจากพระนางโฌเซฟีนแล้ว แต่ก็ยังทรงให้เกียรติอย่างเต็มเปี่ยม ทรงโปรดว่า ''นี่คือความปรารถนาของข้า ที่จะให้พระนางโฌเซฟีนยังคงรักษาพระยศจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสเช่นเดิม อันไม่มีข้อสงสัยใดๆ เลยว่า ข้ายังระลึกถึงพระนางอย่างไม่เสื่อมคลาย เพื่อพระนางยังจะได้โอบกอดข้าในฐานะเพื่อนที่ดีที่สุดและรักที่สุด''
จักรพรรดินโปเลียนทรงแวะเวียนมาหาพระนางโฌเซฟีนเสมอ ด้วยเป็นผู้หญิงที่เข้าใจพระองค์ที่สุด เป็นแหล่งพักพิงหัวใจยามพระองค์เหนื่อยล้าด้วยความกดดันรอบด้าน ว่ากันว่า ที่พระนางโฌเซฟีนผูกใจจักรพรรดินโปเลียนยิ่งกว่าหญิงใด ก็เพราะพระนางเป็นคนไม่พูด เมื่อพูดก็มีแต่ความชาญฉลาด ทำให้องค์จักรพรรดิเกรงพระทัยมาก
ติดตามตอนต่อไป
ชอบฝากกดติดตามกดไลท์กดแชร์กดติดตามเพจเจเจ้มีสาระด้วยนะคะขอบคุณค่ะ
Cr.บันทึกประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสหอสมุดแห่งชาติ
โฆษณา