3 เม.ย. 2020 เวลา 05:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เต่าบก (Tortoise)
สายพันธุ์และสปีชีร์ต่าง ๆ
เต่าบก(Tortoise) คือ เต่าที่ไม่สามารถว่ายน้ำหรือใช้ชีวิตอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากเต่าบกจะมีกระดองเป็นโดมนูนสูง มีน้ำหนักมาก ส่วนขามีลักษณะกลม ผิวหนังเป็นเกล็ดหยาบ มีเล็บที่แข็งแรงเพื่อใช้ขุดดินหาอาหารและป้องกันตัวเองจากนักล่า ลักษณะเหล่านี้ทำให้เต่าบกไม่สามารถว่ายน้ำได้ พฤติกรรมของเต่าบกส่วนใหญ่จะอยู่บนบกหรือบนพื้นดินตลอดเวลา เวลาเดินจะยกตัวสูงเพื่อไม่ให้ท้องขูดกับพื้นดิน เต่าบกส่วนใหญ่กินพืชเป็นอาหาร แต่มีบางสายพันธุ์ที่กินได้ทั้งพืช สัตว์และแมลง
บรรพบุรุษของเต่าบก โดยเฉพาะที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกค้นพบเมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 ในยุคจูราสสิกตอนปลาย ที่จังหวัดมุกดาหาร ในประเทศไทยของเรานี้เอง ซึ่งซากฟอสซิลมีขนาดความยาวและกว้างกว่า 90 เซนติเมตร โดยมากแล้วเต่าบกจะเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ และส่วนใหญ่หลายชนิดเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีน้ำหนักร่วมร้อยกว่ากิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่บนพื้นที่ที่มีความแห้งและอุณหภูมิค่อนข้างร้อนหรือกึ่งทะเลทราย หรือแม้แต่จะเป็นทะเลทรายเลยในบางชนิด
เต่าบกเป็นสัตว์ที่มีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจน โดยตัวผู้มักจะมีกระดองส่วนหางที่เว้าลึกกว่าตัวเมีย เนื่องจากจะต้องสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมียในเวลาผสมพันธุ์ เต่าบกถึงแม้จะมีชีวิตอยู่บนบกเป็นหลักและอาศัยในที่ที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง แต่เต่าบกก็ยังต้องการน้ำ ซึ่งวิธีที่จะทำให้ได้รับน้ำก็คือ "การที่กินน้ำนั้นเข้าไปโดยตรงและผ่านจากการกินอาหารที่กินเข้าไป และรวมไปถึงการที่ลงไปแช่ในน้ำในบางครั้งบางคราอีกด้วย"
แสงแดดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อเต่าบกเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องการรังสียูวีเอและยูวีบี ซึ่งยูวีเอจะเป็นตัวกระตุ้นในเรื่องของความอยากอาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการสืบพันธุ์อีกด้วย ส่วนยูวีบีจะช่วยในเรื่องของการดูดซึมแคลเซียมและเสริมสร้างวิตามินดี 3 ภายในร่างกายของเต่า ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับยูวีบีแล้วจะทำให้กระดองเต่าอ่อนแอ นุ่มนิ่ม ทำให้เต่ามีร่างกายที่อ่อนแอและตายได้ง่าย
"เต่าบก(Tortoise)" สามารถพบและมีการกระจายพันธุ์ทั่วทุกทวีปของโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งหลายชนิดเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่...
⛔ เต่ายักษ์กาลาปากอส(Geochelone Nigra) ซึ่งเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่และมีอายุยืนยาวที่สุดในโลก ซึ่งจะพบได้เฉพาะในหมู่เกาะกาลาปากอสเท่านั้น
⛔ เต่ายักษ์เซเชลส์(Aldabrachelys Hololissa) ที่อาศัยอยู่เฉพาะสาธารณรัฐเซเชลส์
⛔ เต่าดาวพม่า(Geochelone Platynota) หรือ เต่าราเดียตา(Astrochelys Radiata) ซึ่งเป็นเต่าบกขนาดเล็ก กระดองมีความสวยงาม นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง โดยกระดองของตัวที่มีสีเหลืองมาก จะเรียกว่า "ไฮเยลโล่"
"เต่าบก(Tortoise)" สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่...
⛔ เต่าเหลือง/เต่าเทียน/เต่าแขนง หรือ เต่าขี้ผึ้ง (Elongated Tortoise) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยและง่ายที่สุดในประเทศไทยและแถบอินโดจีน
⛔ เต่าหก(Asian Forest Tortoise) ซึ่งมักอาศัยในป่าดิบเขา จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย เป็นต้น
⛔ เต่าเดือย หรือ เต่าควะ(Impressed Tortoise)
1. เต่าเหลือง / เต่าเทียน / เต่าแขนง / เต่าขี้ผึ้ง (Elongated Tortoise)
2. เต่าหก (Asian Forest Tortoise)
2.1) เต่าหกเหลือง
2.2) เต่าหกดำ
3. เต่าเดือย / เต่าควะ (Impressed Tortoise)
4. เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone Nigra)
5. เต่ายักษ์เซเชลส์ (Aldabrachelys Hololissa)
6. เต่าดาวพม่า (Geochelone Platynota) / เต่าราเดียตา (Astrochelys Radiata)
เต่าบกเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มนุษย์เริ่มหันมาเลี้ยงกันไม่ว่าจะเพื่อค้าขายหรือเพื่อเสริมดวงชะตาชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เพราะเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีความผูกพันกับความเชื่อมาอย่างยาวนาน ว่าเลี้ยงเต่าแล้วจะทำให้อายุยืนเหมือนเต่า สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ร่ำรวย เพราะเต่าเป็นสัตว์ที่อายุยืน เคลื่อนไหวช้า ทำให้ชีวิตก้าวไปอย่างสุขุมรอบคอบ
ผมอยากเป็นส่วนหนึ่งให้ทุกคนหันมาตระหนักช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมกันให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้ถุงพลาสติก ลดการทิ้งขยะลงแม่น้ำ ลำคลอง และอีกมากมายหลายอย่างที่เราสามารถช่วยกันได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้โลกของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น สัตว์ต่าง ๆ ก็จะไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกของเรา
แหล่งอ้างอิง 1 : www.wikipedia.org
แหล่งอ้างอิง 2 : www.pineapplenewsagency.com
แหล่งอ้างอิง 3 : www.reptilehiso.com
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำออนไลน์
fishway
Website : ...coming soon...
Youtube : ...coming soon...
Tiktok : ...coming soon...
Line VOOM : ...coming soon...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา