Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ขุดเจาะ สำรวจและผลิตปิโตรเลียม onshore offshore
•
ติดตาม
4 เม.ย. 2020 เวลา 03:17 • ความคิดเห็น
โควิด 19 กับ ผลัดการทำงาน ของคนทำงานบนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม
nongferndaddy.com
โควิด 19 กับ ผลัดการทำงาน ของคนทำงานบนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม – Oil man
โควิด 19 กับ ผลัดการทำงาน - แบบนี้มันก็โอเค สำหรับ crew change ที่ปกติสั้นๆ เช่น 7/7 10/10 14/14 แต่ถ้า crew change ปกติที่ยาวๆอยู่แล้ว เช่น ...
โควิด 19 นี่กระทบ อาละวาดไปหมดทุกวงการ ทุกภาคส่วนเลย ตั้งแต่ระดับเล็กๆไปถึงระดับโลก ... ดีนะที่ยังไม่หลุดออกไปนอกโลก 555
ผลัดการทำงานบนแท่นขุดเจาะฯก็เช่นกันครับ โดนเน้นๆเนื้อๆ
ผลัดการทำงานบนแท่นขุดเจาะฯ ภาษาเราเรียกว่า crew change นะครับ เราจะใช้คำนี้ล่ะกัน เพื่อความกระชับของการอ่านและพิมพ์
แท่นขุดเจาะฯก็เหมือนเรือลำหนึ่งน่ะครับ มีคนอยู่รวมกัน 80 - 120 คน ขึ้นกับขนาดของแท่นฯ กิน อยู่ หลับ นอน ทำงาน ร่วมกัน ไม่ต่างกับโรงงานก่อสร้างกลางทะเล พื้นที่ก็ไม่ได้มากมายอะไร การเว้นระยะทางสังคม ก็ทำได้แหละในระดับหนึ่ง
ในมุมของ crew change ขอเกริ่นให้เห็นภาพก่อนครับว่า บนนั้นมีคนงานอยู่ 3 ประเภท ใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือ ทำงานตามระยะเวลาคือ ครบเวลาทำงานแล้วกลับ ครบเวลาพักแล้วกลับมาทำใหม่ เช่น 7/7 (ทำ 7 วันพัก 7 วัน) หรือ 14/14 หรือ 21/21 หรือ 28/28 ก็ว่าไป ขึ้นกับประเภทงาน และ บ.ที่จ้างมา แต่บางทีก็ 14/7 21/14 28/21 ก็มีนะครับ คือ ทำงานมากกว่าพัก ไม่จำเป็นต้องทำงานกับพักเท่ากัน ตอนที่เราพัก ก็จะมีคู่กะของเราขึ้นมาทำแทน เรียกกลุ่มนี้ว่า เปลี่ยนตามเวลา ล่ะกันนะ
ประเภทที่สอง คือ ทำเมื่อมีงานที่ต้องทำ เช่น เมื่อถึงเวลาที่จะต้องทำงาน ก. ก็จะมีคนงานที่ทำงาน ก. นี้ลงมาทำงาน จะทำกี่วันก็ว่าไป ไม่มีกำหนดเวลา งาน ก. เสร็จก็กลับ จะเรียกกลุ่มนี้ว่า เปลี่ยนตามงาน
ประเภทที่สาม คล้ายกับประเภทที่ 2 แต่จะเป็นงานซ่อมเมื่อของเสีย ตรวจบำรุงรักษาเมื่อถึงกำหนดเวลา (preventive maintenance) หรือ ลงมาติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ (installation) เรียกกลุ่มนี้ว่า เปลี่ยนมาติดตั้งซ่อมบำรุง นะ
เมื่อโควิด 19 มา เราทำไงกัน
เอาพวกแรกก่อน พวกเปลี่ยนตามเวลา ... คณิตศาสตร์ง่ายๆเลยครับ เช่น 14/14 ถ้าต้องกักตัวก่อน 14 วัน แปลว่าต้องการคนเพิ่มเห็นๆ เพราะเราได้พัก 14 วัน แล้วต้องมากกักตัวที่รร.ก่อนขึ้นฮ. (หรือเข้าแท่นฯในกรณีแท่นบก) ก็ต้องมีคนขึ้นมาทำงานแทนเรา 14 วัน ช่วงเรากักตัวก่อนเข้าแท่นฯ หรือ คู่กะเราต้องอยู่บนแท่นฯยาวไปอีก 14 วัน (และเราก็ด้วยเช่นกัน) โดยที่ได้พัก 14 วันเท่าเดิม
นั่นคือ ถ้าใช้คนเท่าเดิม crew change ก็จะเป็น (14+14)/(14+14) ... พูดง่ายๆ บวกไปอีก 14 วัน ช่วงที่ทำงานบนแท่น แต่พักเท่าเดิม 14 วัน แต่ อีก 14 วัน ต้องมากักตัวที่รร. ส่วนค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน ก็ไม่รู้ล่ะ ไปว่ากันแต่ล่ะบ. ไม่เหมือนกัน
แบบนี้มันก็โอเค สำหรับ crew change ที่ปกติสั้นๆ เช่น 7/7 10/10 14/14 แต่ถ้า crew change ปกติที่ยาวๆอยู่แล้ว เช่น 21/21 28/28 จะบวกไปอีก 14 ก็กระไร แบบนี้ก็ต้องใช้คนเพิ่ม
แล้วจะใครที่ไหนล่ะครับ ก็ทหารแก่นี่ไง Old soldier never die ครับ ก็ต้องเอาพวกปลดประจำการนี่แหละครับ ลงไปช่วยอุดช่องว่าง ยามนี้ก็ต้องกัดฟันช่วยๆกันไป สว.ก็หาหอม ยาดม ยาหม่อง ก็เตรียมๆลงไปเผื่อ 555
แต่ก็ได้รสชาติดีนะครับ จากไปนาน มันก็เหงาๆ ได้ลงไปแท่นฯทีก็กระชุ่มกระชวย เหมือนเป็นหนุ่มอีกครั้ง :)
พวกที่สอง กับ พวกที่สามนี่ พวกเปลี่ยนตามงาน กับ เปลี่ยนลงไปติดตั้งซ่อมบำรุง แบบนี้ก็จะไม่ยากเท่าแบบแรก ฝ่ายจัดการที่ฝั่งสามารถบริหารจัดการได้ง่าย แค่จับคนที่จะต้องทำงานลงแท่นทั้งหมด standby กักตัว ตรวจสุขภาพตลอดเวลา พอถึงคิวก็ลงแท่นฯก็ลงได้เลย
ลด เลื่อน เลิก
มาตราการหนึ่งที่เราเอามาใช้คือ ลด เลื่อน เลิก
ลด คือ งานไหนใช้คนน้อยลงได้ ก็ใช้ให้น้อยลง ใช้เทคโนโลยีช่วย ถ่ายรูป วีดีโอคอลฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญบนฝั่งช่วย ไม่ต้องเอาผู้เชี่ยวชาญลงไป อะไรให้เครื่องทำได้ ซอฟแวร์ทำได้ก็ซอฟแวร์ทำ อะไรที่ remote ควมคุมการทำงานจากฝั่งได้ ก็ควบคุมจากฝั่งไป บลาๆ ฯลฯ เวลาของเสีย ปกติต้องเอาคน เอาช่าง ขึ้นไปซ่อม ก็ส่งไปแต่อะไหล่ แล้ว วีดีโอคอล ให้ช่างบนฝั่งดู แล้วใช้คนบนแท่นนั่นแหละทำตามที่ช่างบอก ซ่อมไป ติดตั้งไป ไรไป ฯลฯ
เลื่อน คือ งานไหน เลื่อนได้ก็เลื่อนไปก่อน โดยเฉพาะงานซ่อมบำรุงตามระยะเวลา เช่น ถ้าใช้จนพังไปแล้วค่อยหยุดงานซ่อมเปลี่ยนอะไหล่ ใช้เวลาเปลี่ยนอะไหล่ 3 ชม. คูณเป็นเงินแล้วคุ้มกว่าความเสี่ยงที่จะเอาคนบนฝั่งมา preventive maintenance ก็ยอมเสียเวลาเจาะ 3 ชม. คือ มันต้องคำนวนความเสี่ยงเป็นกรณีๆไป งานซ่อมบำรุงบางอย่างก็ขยับได้ จากทุกเดือน เป็นทุก 2 เดือน เป็นต้น
เลิก คือ เลิกไปเลย เช่น การเยี่ยมชมของฝ่ายบริหาร (management visit) การ audit ต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับเครื่องมือ เช่น safety audit, field management audit อะไรพวกนี้ หรือ ไม่ก็มอบอำนาจให้วิศวกรอาวุโสที่อยู่บนนั้นอยู่แล้ว audit แทน ใช้วีดีโอคอลช่วย อะไรก็ว่าไป เป็นการฝึกทักษะวิศวกรสนามให้ทำงานออฟฟิตไปในตัว เพราะวันหนึ่ง(แก่พอแล้ว)ก็ต้องขึ้นมาทำงานบนฝั่ง
ตัวสำรอง ...
นั่นคือเหตุปกติ คือ แผนการเอาคนขึ้นไปเปลี่ยนคนที่จะลงจากแท่นฯ แต่ก็ต้องมีตัวสำรองที่กักตัวเอาไว้บนฝั่ง เผื่อคนของเราที่อยู่บนแท่นมีอาการป่วยแล้วหมอบนแท่นฯบอกว่าต้องส่งกลับก่อนกำหนดเวลา เราก็ต้องมีคนที่กักตัวรอบนฝั่งพร้อมที่จะขึ้นไปเปลี่ยนทันทีตลอดเวลา ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวงมันคือการวางแผน คิด ล่วงหน้า จากปกติ 0 วัน เป็น 14 วัน เท่านั้นแหละ แน่นอนว่าก็ต้องลำบากหน่อย คิดเยอะหน่อย ใช้ทรัพยากรมากหน่อย
เห็นไหมครับว่า การกักตัว 14 วัน นี่มีผลแค่ไหนกับ crew change และ ความสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆในการทำงาน แต่ไม่ว่าจะอย่างไร นี่เป็นสถานการณ์ไม่ปกติ ที่พวกเราต้องร่วมมือร่วมใจกันฝ่าฟันกันไป
บนแท่นขุดเจาะ มันก็เหมือนครอบครัวเดียวกันกลายๆ ถ้าไฟไหม้ แท่นฯล่มจมทะเล ก็ต้องลงไปลอยคอด้วยกัน ถ้าติดเชื้อโรค ก็ใช้ท่อแอร์เดียวกันทั้งแท่นฯ ข้าวก็หุงจากหม้อเดียวกัน ก็ติดกันไปทั้งแท่นฯ ไม่รักกันไว้ ไม่ช่วยกันไว้ เดี๋ยวโควิด 19 ก็แว้งกลับมาโดนตัวเราเองนั่นแหละ ...
https://nongferndaddy.com/
https://www.blockdit.com/thaioilman
https://www.instagram.com/nongferndaddy2510/
https://twitter.com/recta_sapere
1 บันทึก
3
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Covid 19
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย