4 เม.ย. 2020 เวลา 07:05 • ประวัติศาสตร์
พิธีล้างบาปให้กาแฟ
ต้นกำเนิดของกาแฟนั้น ได้มีการสันนิษฐานว่า ถูกค้นพบโดยบังเอิญในแถบเอธิโอเปียช่วงต้นศตวรรษที่ 15 โดยมีเรื่องเล่าว่า ฝูงแพะไปกินลูกไม้ชนิดหนึ่งเข้าและมีอาการคึกคักตลอดคืน จนคนเลี้ยงสงสัยและติดตามพวกมันไปพบลูกไม้ดังกล่าว จากนั้น ในเวลาต่อมา พวกเขาได้เรียนรู้ที่จะนำเมล็ดของมันมาคั่วบดและชงกับน้ำร้อน เพื่อใช้เป็นเครื่องดื่ม
มีบันทึกว่า กาแฟถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มเป็นครั้งแรกในเยเมน ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 15 ก่อนจะแพร่ไปทั่วตะ วันออกกลาง อาฟริกาเหนือ รวมถึงอินเดียตะวันตก
นับแต่ศตวรรษที่ 15 กาแฟได้กลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้นับความนิยมในหมู่ชาวมุสลิมในตะวันออกกลาง โดยบรรดาผู้ศึกษาศาสนามุสลิม นิยมดื่มกาแฟ เพื่อให้กระปรี้กระเปร่าและสามารถอ่านคัมภีร์ได้ทั้งคืน ทั้งยังมีบันทึกด้วยว่า ในบางแคว้นของยุคนั้น สตรีมีสิทธิที่จะขอหย่ากับสามี ได้หากว่าเขาไม่สามารถหากาแฟมาให้นางดื่มได้อย่างเพียงพอ(เปย์ไม่พอ ก็ขอแยกทาง)
เมื่อกาแฟได้รับความนิยมอย่างมาก ร้านกาแฟจึงผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด และกลายเป็นสถานที่ชุมชุมนุมสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องการเมืองด้วย (นี่เอง ที่มาของสภากาแฟ) จนร้านกาแฟได้กลายเป็นที่บ่มเพาะความคิดรุนแรง ทำให้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 ผู้มีอำนาจในนครเมกกะและกรุงไคโรพยายามออกกฏหมายห้ามดื่มกาแฟ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนต้องยกเลิกไป
กาแฟเข้าสู่ยุโรป โดยเริ่มเป็นครั้งแรกที่เกาะมอลต้า ในศตวรรษที่ 16 ก่อนจะกระจายไปยังส่วนต่างๆของยุโรปเหล่าบาทหลวงในวาติกัน มองว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มของซาตาน ที่พวกนอกรีตต่างศาสนาปรุงขึ้น จึงเห็นว่าควรให้สั่งห้ามดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้ ทว่าหลังจากที่ สันตะปาปา คลีเมนต์ที่ 8 ทรงชิมกาแฟแล้ว พระองค์ก็ทรงเห็นว่า เครื่องดื่มของพวกนอกรีตนี้ มีรสชาติอร่อย เกินกว่าจะปล่อยให้พวกนอกศาสนาได้ดื่มแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ ดังนั้นในเวลาต่อมา พระองค์จึงได้ทำพิธีล้างบาปให้กาแฟเสีย
1
สันตะปาปา คลีเมนท์ ที่ 8
นับจากนั้นมา กาแฟก็แพร่หลายและเป็นที่นิยมในยุโรปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะแพร่ออกไปทั่วโลก จนกลายมาเป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้สำหรับคนจำนวนมากในยุคปัจจุบัน
โฆษณา