4 เม.ย. 2020 เวลา 09:28 • ธุรกิจ
"Food Delivery" ธุรกิจที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน
ยุคนี้ ไม่ว่าอะไรๆ ก็สะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าต้องการสิ่งใด ก็สามารถสั่งซื้อได้ทางออนไลน์ไม่จำเป็นต้องออกไปหาซื้อเหมือนอย่างสมัยก่อน ไม่เว้นแม้กระทั่งอาหาร ที่อยากทานอะไรก็สามารถใช้บริการ food delivery ให้ไปซื้อ และมาส่งถึงที่ได้ และโดยเฉพาะในข่วงที่เกิดโรคระบาดที่ทำให้ทุกคนจำเป็นต้องอยู่แต่ในบ้านเช่นนี้ ธุรกิจบริการจัดส่งอาหารก็ยิ่งเติบโตมากขึ้น
ธุรกิจ Food delivery นั้น ลักษณะของมันคือเป็นแอพลิเคชั่นที่ให้ผู้ใช้บริการเลือกอาหารที่ต้องการผ่านแอพฯ นั้นๆ ที่ร้านอาหารได้เข้าร่วม และทางผู้ให้บริการซึ่งเป็นเจ้าของแอพลิเคชั่นก็จะมีพนักงานคอยไปซื้ออาหาร และนำอาหารไปส่งลูกค้าตามที่อยู่ที่ระบุไว้
1
อันที่จริงธุรกิจรับสั่งและส่งอาหารรูปแบบดังกล่าวนี้ก็เติบโตกันมากว่า 3-4 ปีแล้ว บางรายก็มีการให้บริการมานานกว่านั้นด้วยซ้ำ และนับวันการแข่งขันก็ยิ่งสูงขึ้นเพราะในปัจจุบันจำนวนผู้ให้บริการ food delivery นั้นก็มีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ food delivery นั้นเติบโตก็เป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไป ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น บางส่วนก็มีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันนี้แทบทุกคนล้วนมีสมาร์ทโฟน ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจแอพลิเคชั่นที่รับสั่ง และส่งอาหารให้ผู้บริโภคถึงบ้านนี้จึงเกิดขึ้นมา และมันก็สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ได้ดี ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจดังกล่าวนี้จึงเติบโต และมีผู้ให้บริการเยอะมากขึ้นจนส่งผลให้การแข่งขันนั้นสูงขึ้นตามมาด้วย
1
นอกจากนี้แล้ว ธุรกิจดังกล่าวนี้ยังถือเป็นการเชื่อมโยงอีกหลายอย่าง ทั้งธุรกิจอาหาร รวมไปถึงการสร้างอาชีพอีกด้วย โดยในส่วนของร้านอาหารนั้น นี่ถือเป็นอีกทางหนึ่งในการขยายการขาย จากเดิมที่ขายอยู่แค่เพียงหน้าร้านอย่างเดียว แต่เมื่อมีธุรกิจ food delivery ร้านอาหารก็สามารถเข้าร่วมกับธุรกิจดังกล่าวนี้ และลูกค้าก็สามารถเลือกซื้อจากในแอพฯ ได้อีกทางหนึ่ง
1
นอกจากนี้ ผู้ให้บริการสั่งและส่งอาหารแต่ละเจ้าก็ต้องอาศัยแรงงานคนในการไปซื้อ และส่งอาหารให้ถึงมือลูกค้า จึงเป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างอาชีพ หรือหารายได้เสริม ซึ่งค่าตอบแทนที่เหล่าพนักงานจะได้รับนั้นก็แตกต่างกันไปในผู้ให้บริการแต่ละราย
1
และในปี 2562 ที่ผ่านมา มูลค่าโดยรวมของธุรกิจ food delivery นั้นก็อยู่ที่ประมาณ 33,000-36,000 ล้านบาท โดยการขยายตัวของธุรกิจนี้ก็ยังมีส่วนเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจร้านอาหารอีกด้วย โดยร้านอาหารขนาดเล็กและขนาดกลางนั้นมีส่วนแบ่งจากการเข้าร่วมในแอพลิเคชั่นของผู้ให้บริการแต่ละรายราว 2.6 หมื่นล้านบาท ส่วนพนักงานที่เป็นผู้ซื้อและส่งอาหารของผู้ให้บริการแต่ละรายนั้น ก็มีรายได้โดยรวมอยู่ที่ประมาณ 3.9 พันล้านบาท
แต่ทั้งนี้ข้อมูลอีกด้านที่น่าสนใจก็คือถึงแม้ธุรกิจซื้อและส่งอาหารนี้จะเติบโตและมีเงินสะพัด แต่อันที่จริง รายได้ของเหล่าผู้ให้บริการนั้นก็ไม่ได้มากเท่าใหร่นัก เพราะธุรกิจ food delivery ถือว่ายังเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับธุรกิจประเภทอื่นๆ ในเมืองไทย เรียกได้ว่ายังเป็นช่วงเริ่มต้นของธุรกิจ ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องเน้นการพัฒนาธุรกิจในหลายๆ ด้าน มากกว่าการเน้นผลกำไร เพื่อให้ธุรกิจนี้สามารถยืนหยัด และกินผลกำไรได้ในระยะยาว
1
และส่วนมาก ผลประโยชน์ก็ตกอยู่ที่บรรดาร้านอาหารที่เข้าร่วมแอพลิเคชั่นเหล่านี้มากกว่า เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปว่าผู้บริโภคมีช่องทางในการเลือกซื้ออาหารมากขึ้น และร้านอาหารก็มีช่องทางในการขายมากขึ้น
นี่ก็คือรูปแบบของการทำธุรกิจที่อาจไม่ได้ดำเนินอยู่แบบเดี่ยวๆ แต่มีการไปผสมผสานหรือเข้าร่วมกับธุรกิจอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นการสร้างผลประโยชน์ให้แก่ตัวธุรกิจเอง และแก่ผู้บริโภคได้มากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวอย่างของการทำธุรกิจให้เติบโต และอยู่ได้อย่างยั่งยืน
อยากรู้เรื่องอะไร อยากอ่านบทความเเบบไหน ส่งคำถามมาให้ "สมองไหล" ได้ง่ายๆ เพียง “กดลิ้ง” ข้างล่างนี้ได้เลย
โฆษณา