Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
iYom BookViews
•
ติดตาม
5 เม.ย. 2020 เวลา 12:14
อุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ The Bhopal Disaster
ท่ามกลางโรคภัยที่กำลังระบาดอยู่ในขนาดนี้ ที่หลายคนมองว่า เป็นเหมือนฆาตรกรรมต่อเนื่อง โดยฝีมือธรรมชาติ เพื่อจัดการให้โลกเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้ง
แต่ความโหดร้ายของธรรมชาติ ก็ไม่เคยร้ายเท่าสิ่งที่มนุษย์เราทำร้ายมนุษย์ด้วยกันเอง หนึ่งในนั้นก็คือ The Bhopal Disaster หรือ โศกนาฏกรรมก๊าซพิษที่โบพาล (The Bhopal Gas Tragedy) นั่นเอง
ย้อนกลับไปเมือ่ปี 1984 เมืองโบพาล ประเทศอินเดีย
ในคืนวันที่ 2 ธันวาคม ในความเงียบสงบ ผู้คนกำลังหลับไหล
แต่อยู่ๆ ก็มีเสียงระเบิดขึ้นในโรงงานละแวกใกล้เคียง ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาฆ่าแมลงของบริษัทยูเนียนคาไบต์ ทำให้สารพิษรั่วไหลออกมามากมาย หนึ่งในนั้นคือ ก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์
ก๊าซพิษแพร่กระจายในอากาศอย่างรวดเร็ว เหมือนมัจจุราชยามค่ำคืน ที่ลอยมาไปยังชุมชนในละแวดใกล้เคียง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที ย้ำเลยนะครับว่าทันที 3,787 คน
แต่การฆาตรกรรมอย่างต่อเนื่องยังไม่จบเท่านั้น แค่เพียงสัปดาห์แรกมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 8,000 คน และมีผู้คนกว่ากว่า 500,000 คน ที่ได้รับผลกระทบจากก๊าซพิษในครั้งนี้
เพราะแม้จะไม่เสียชีวิตในทันที่ แต่ผู้ที่ได้รับสารพิษดังกล่าว จะมีอาการพิกลพิการ และค่อยๆ เสียชีวิตในเวลาต่อมา และเมื่อนับรวมได้ทั้งหมดจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 20,000 คน
แต่สิ่งที่น่าเจ็บปวดมากกว่าการเสียชีวิต คือ การต้องมีชีวิตรอดแบบทรมาน
ที่แม้มัจจุราชจะไม่เอาชีวิตไปในทันที แต่ก็ได้ฝากโรคร้ายไว้ในร่างกาย ทั้ง ความผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจขั้นรุนแรง , สมองที่ถูกทำลาย, ภูมิคุ้มกันผิดปกติ รวมทั้งโรคมะเร็งและวัณโรค ไม่ตายก็เหมือนตายทั้งเป็น
ถึงแม้ทางคดี ศาลอินเดียได้ตัดสินให้ทางบริษัทมีความผิดฐานทำการโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่โทษมันช่างน้อยนิด เมื่อเทียบกับสิ่งที่สูญเสียไป
คำถาม คือ ทำไมโรงงานที่อันตรายขนาดนี้ถึงไปตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชน ?
ซึ่งเป็นคำถามที่ เราเองก็น่าจะตอบได้เพราะ ระบบทุนนิยมและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่ทำให้มนุษย์มักจะหยิบยื่นความตายให้แก่กันอยู่ร่ำไป
แล้วแบบนี้เราจะโทษอันใดกับโรคภัยภายนอก เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่าก็คือเชื้อโรคร้ายที่ฝังอยู่ในหัวใจคนเรานั่นเอง
#iYomBookViews
ที่มาข้อมูล Wikipedia
5 บันทึก
53
17
9
5
53
17
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย