5 เม.ย. 2020 เวลา 06:38 • สุขภาพ
ประเทศไทยจะรอดพ้นการระบาดครั้งนี้ได้อย่างไร หากเรายังไม่สามารถตรวจได้อย่างน้อย 400,000 test หรือประมาณ 6,000 test ต่อประชากรล้านคน
ผมได้มีโอกาศติดตามกลยุทธ์ของประเทศต่างในการควบคุมการระบาดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้ว่า แต่ละประเทศมีบริบทที่แตกต่างกันก็จะเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตนเอง
1. ประเทศจีน ปิดเมือง (short term pain, long term gain) ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการแจ้งและติดตามกลุ่มเสี่ยง จับตรวจให้มาก
2. เกาหลีใต้ คล้ายคลึงประเทศจีนแต่ไม่ปิดเมือง perform a massive testing
3. สิงคโปร์ คล้ายคลึงเกาหลีใต้
4. ไตหวัน ปิดพื้นที่บางส่วน และเน้นการตรวจให้มากเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key success factor) ส่วนนึงมาจากการ test ให้มาก เพื่อนำคนที่ป่วยหรือเป็นพาหะเข้ามาสู่ระบบให้ได้ทั้งหมด โดยหลายประเทศรัฐบาลจะมีงบประมาณรองรับเพื่อตรวจให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สำหรับประเทศไทย การตรวจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 6,000 บาท ยกเว้นกรณีผู้ป่วย test positive จะได้รับการรักษาฟรี ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ลังเลที่จะตรวจโดยไม่จำเป็น ทำให้จำนวนการตรวจของไทยอยู่ที่ประมาณ 2x,xxx test ณ ข้อมูลวันที่ 1 เม.ย.
หากถามว่าตัวเลขการตรวจดังกล่าวเพียงพอหรือไม่ เราคงต้องเทียบกับประเทศอื่นตามตาราง benchmark ด้านล่างนี้
จะเห็นว่าอัตราการตรวจของประเทศไทยต่อประชากร 1 ล้านคน ต่ำมากที่ประมาณ 300 test ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้หรือสิงคโปร์ที่เป็น benchmark ว่าคุมได้ค่อนข้างดีจะอยู่ที่ 2nd tier คือ 6,000-7,000 test และน่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
ลองหันมาดูพี่เสือเหลืองมาเลเซียเพื่อนบ้านเราก็ทำได้ดีกว่าเรา แต่ก็ยังไม่สามารถ ramp up ได้ดีเท่าที่ควร
ทีนี้ ถ้าเรากลับมามองตัวเราเองว่า การจะไปให้ถึงจุดของเกาหลีใต้หรือสิงคโปรได้ จะต้องใช้งบประมาณและระยะเวลาเท่ารัย (6,000 test per mil ppl)
“Thailand testing capacity” ผมขออนุญาต assume ว่าจากนี้ไปประเทศเราจะสามารถเพิ่มการตรวจต่อวันได้ที่ 3,000 เคส (เพิ่มมา 1 เท่าจากเดิม 1,500) ถ้าเรานำ 400,000 หักออกด้วย 21,000 ที่เราเทสไปแล้ว แล้วนำมาหารด้วย 3,000 คือ (400,000 - 21,000)/3,000= 126 วัน หรือ 4 เดือน อย่างไรก็ตามจำนวนวันจะแปรผันตาม capacity การตรวจและนโยบายการตรวจฟรีของภาครัฐ
ในมุมของ budget ที่ใช้ก็ประมาณค่าใช้จ่ายการตรวจเคสละประมาณ 5,000 บาท โดยภาครัฐออกนโยบายให้ตรวจฟรีที่ ร.พ. เอกชนและรัฐบาล โดยมีการ subsidy ซึ่งจะใช้เงินประมาณ 5,000x400,000= 2,000 ล้านบาท
จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าประเทศเรายังมีอะไรต้องทำอีกเยอะเลยในการที่จะควบคุมการระบาดครั้งนี้ และโดยส่วนตัวผมคิดว่าตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีการแถลงในทุกวันค่อนข้าง misleading จะเห็นประมาณหลักร้อย บวกลบนิดหน่อยอยู่เป็นประจำ เนื่องจากการ test กลุ่มตัวอย่างที่จำกัด
ภาคธุรกิจหรือนักลงทุนที่ติดตามตัวเลขเหล่านี้อาจนำไปตีความผิดว่าสถานการณ์ควบคุมได้หรือเข้าสู่ bottom ส่งผลให้วางแผนในการดำเนินกิจการที่หละหลวม
ทั้งหลายทั้งปวงเป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ
สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคน เข้าใจว่าทุกคนเสียสละและเสี่ยงต่อภาระกิจครั้งนี้มาก ส่วนตัวผมเองก็ work from home มาได้สองสัปดาห์แล้ว ภรรยาและลูกก็เช่นกัน อยากเห็นเมืองไทยกลับมาเช่นเดิมครับ
โฆษณา