Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขียนไปเรื่อย | Keep Writing
•
ติดตาม
5 เม.ย. 2020 เวลา 14:35 • ธุรกิจ
โลกของกองทุนตอนที่ 14
SSF
หลังจากที่รัฐบาลไม่ต่อให้ LTF สามารถลดหย่อนภาษีได้ จึงทำให้ปี 2562 เป็นปีสุดท้ายที่สามารถซื้อ LTF เพื่อลดหย่อนภาษีได้
ซึ่งมันก็ทำให้เกิดกองทุนลดหย่อนภาษีแบบใหม่ ซึ่งเรียกว่า SSF
ซึ่งในวันที่เขียน (5 เม.ษ. 2563) ทุก บลจ. มีให้ซื้อ และอยู่ในช่วง IPO อยู่ในขณะนี้
บางคนอาจจะเข้าใจแล้วว่ามันลดหย่อนได้อย่างไร บางคนอาจจะงงว่าแล้ว ต้องซื้อยังไงถึงลดหย่อนได้ วันนี้ผมจะมาเล่าให้ทุกคนได้เข้าใจกันครับ
SSF มีชื่อเต็มๆว่า Super Saving Fund หรือชื่อทางการในภาษาไทยว่า กองทุนรวมเพื่อการออม
โดยเจ้า SSF สามารถที่จะลงทุนอะไรก็ได้ตามนโยบายการลงทุนของกองทุนที่เราซื้อไป
ทั้งนี้หลักเกณฑ์ในการซื้อ SSF เพื่อลดหย่อนภาษีนั้นมีดังนี้
1. ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ซื้อไปแล้วจะต้องถือ SSF ไปอย่างน้อย 10 ปีเต็ม (นับวันชนวัน)
3. ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ปีไหนอยากลดหย่อนก็ซื้อ
4. ยอดในการซื้อ SSF นี้เมื่อรวม RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
โดยในเบื้องต้นเราสามารถซื้อ SSF เพื่อลดหย่อนภาษีได้ในปี 2563 - 2567 ซึ่งหลังจากปี 2567 รัฐบาลจะพิจจารณาอีกทีว่าจะต่อให้หรือไม่
1
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไม่เว้นแม้แต่ตลาดหุ้นไทย
ดัชนีตลาดหุ้นไทยสิ้นปี 2562 ดัชนีปิดที่ 1579.84 แต่วันศุกร์ที่ผ่านมาปิดที่ 1138.84 ซึ่งติดลบไปแล้วประมาณ 27%
ใครที่ซื้อ LTF เมื่อปีที่แล้วเปิดพอร์ตมาก็อาจหน้ามืดได้
มันก็ทำให้รัฐบาลออกเกณฑ์พิเศษในการลงทุน SSF เฉพาะกองที่ลงทุนในหุ้นไทย สามารถลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มได้อีก 200,000 บาท เฉพาะที่ซื้อในช่วง เม.ษ. 2563 - มิ.ย. 2563
โดยจะขอเรียก SSF แบบพิเศษนี้ว่า SSFX นะครับ
อ่านมาถึงตรงนี้อาจทำให้หลายๆคนรู้สึกงงๆว่าลดหย่อนเพิ่มได้อีก 200,000 บาท มันคืออะไร
จะขออธิบายแบบเข้าใจแบบง่ายๆดังนี้ครับ
ในช่วง เม.ษ. 2563 - มิ.ย. 2563 นี้ถ้าคุณซื้อ SSFX จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่ซื้อจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาทครับ
นั่นก็คืออยากซื้อเพื่อลดหย่อนเท่าไรก็ซื้อได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยยอดที่ซื้อ SSFX นี้จะไม่รวมกับ SSF แบบปกติ
และยอด SSFx นี้จะไม่รวมกับยอด 500,000 บาท ที่ซื้อ SSF แบบปกติ RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
นั่นคือถ้าใครที่ปกติในปีที่แล้วซื้อพวก RMF ประกัน จนครบ 500,000 บาทอยู่แล้ว สามารถซื้อ SSFX ลดหย่อนเพิ่มได้อีก 200,000 บาท
ทั้งนี้เมื่อมีการซื้อ SSFX แล้วนั้นจะต้องถือไปอย่างน้อย 10 ปีเต็ม (นับวันชนวัน) เหมือน SSF แบบปกติครับ
ทั้งนี้รายชื่อ SSFX ที่เปิดให้จองในขณะนี้มีดังต่อไปนี้ครับ
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649876?utm_source=category&utm_medium=internal_referral
โดยสามารถติดต่อขอซื้อ SSF และ SSFX ได้ที่ บลจ. ธนาคาร หรือตัวแทนจำหน่ายหน่วยลงทุน
สุดท้ายนี้ถ้าใครมีบัญชีซื้อขายหุ้นไทย และเจอหุ้นที่ชื่อ SSF ในตลาดอันนี้ต้องขอบอกก่อนว่าถ้าซื้อไปแล้วไม่ได้ลดหย่อนภาษีนะครับ
โดยบริษัทนี้มีชื่อว่า บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจผลิตและแปรรูปกุ้งและไก่แช่แข็ง
จากที่จะซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีกลายเป็นเจ้าของโรงงานผลิตอาหารแช่แข็งแทน อันนี้ต้องระวังดีๆนะครับ
ก็ห่างหายไปนานเลยไม่ได้เขียนบทความเพิ่มตั้งแต่เดือน ก.พ. หวังว่าทุกคนยังจะจำผมกันได้นะครับ
ที่หายไปเพราะติดงานส่วนตัวด้วยแหละครับ เลยไม่มีเวลาว่าง พอดีช่วงนี้ได้work from home ก็เลยถือโอกาสกลับมาเขียนใหม่
สำหรับเรื่อง SSFX บางคนอาจยังมีข้อสงสัยว่ามันต่างจาก LTF ยังไง เดี๋ยวไว้ตอนต่อไปจะมาอธิบายถึงความต่างระหว่างกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง 2 กองนี้ครับ
สุดท้ายนี้ด้วยสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้หลายๆคนจะต้องเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันไป ทำอะไรก็ไม่สะดวกเหมือนเมื่อก่อน ก็ขอให้ทุกคนอดทนไว้ครับ เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
อ้างอิง:
https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=6566&type=article
https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649876?utm_source=category&utm_medium=internal_referral
หากชอบบทความนี้ อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ และกดติดตามเพจนี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
5 บันทึก
22
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โลกของกองทุน
5
22
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย