5 เม.ย. 2020 เวลา 13:44 • สุขภาพ
กราฟผู้ติดเชื้อของประเทศไทยดูดีเกินจริงหรือไม่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เรามาหาคำตอบแบบเร็วๆกันครับ....
ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อค่อนข้างทรงตัวในระดับ 100 กว่ารายมาหลายวัน ซึ่งตรวจเลขดังกล่าวถูกจำกัดด้วย testing capacity ในแต่ละวัน รวมถึงรัฐไม่มีนโยบายตรวจฟรีให้กับผู้ที่มีความเสี่ยง ทำให้จำนวนการ test ที่เกิดขึ้นมีแค่ 1,000-1,500 ต่อวัน
หากเราดูนโยบายภาครัฐของประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์จะเห็นถึงความแตกต่างจากประเทศไทย ทั้งสองประเทศได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนและเรียนรู้วิธีการจัดการจากสิงคโปร์ สิ่งที่ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญคือ การ test, test แล้วก็ test ทุกคนในกลุ่มเสี่ยง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือประชากรในประเทศ นี่คือ strategy ที่แตกต่างไปจากไทย
ในเดือนที่ผ่านมา มาเลเซียมีการ test ในอัตรา 3,500 test ต่อวัน (มากกว่าไทยที่ประมาณ 1,500 test ต่อวัน) ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่จะพบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจากบทความข้างต้น มาเลเซียจะเพิ่มอัตราการตรวจให้ได้ถึง 16,000 test ต่อวัน โดยหลังจากนี้เราอาจจะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มข้ึนอย่าง exponential ก็เป็นได้
ฟิลิปปินส์ก็เช่นกัน มีการเพิ่มอัตราการตรวจอย่างรวดเร็วและไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยส่วนตัวของผมรู้สึกว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วในประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์น่ากลัวน้อยการเพิ่มขึ้นแบบคงที่ของประเทศเรา
การตรวจให้ทราบและนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบทำให้บริหารจัดการและประเมินสถานการณ์ได้ดีกว่า หลายๆท่านคงเคยได้ยินกลยุทธ์การ flattening the curve ที่ภาครัฐของเราต้องการให้เป็นแบบนั่น แต่ต้องอย่าลืมว่าการทำแบบนั่นจะต้องเกิดจากการใช้มาตราการ physical distancing, movement control, curfew, border closure เป็นต้น แต่ไม่ใช่ทำให้กราฟเตี้ยลงเพราะการตรวจไม่เพียงพอ ถ้าเป็นเช่นนี้ประเทศเราคงมีผู้ติดเชื้อที่ under report อยู่นอกระบบเต็มไปหมด สุดท้าย herd immunity จะได้ทดลองเกิดขึ้นกับไทยเป็นประเทศแรก ขออย่าเป็นเช่นนั้นเลย....🙏
“การทำสงคราม สำคัญที่รวดเร็ว ใช่สำคัญที่ยืดเยื้อ” ซุนวูได้กล่าวเอาไว้
โฆษณา