6 เม.ย. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
จั๊กจี้ คืออะไร ? ทำไมเราถึงไม่สามารถ จั๊กจี้ ตัวเองได้
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่บ้าจี้เหมือนกับผมละก็ ลองมาทำความเข้าใจเรื่องนี้ไปพร้อมๆกันเลยครับ
อาการบ้าจี้ หรือ อาการจั๊กจี้ที่เกิดขึ้น นั้น ยังเป็นสิ่งที่ในวงการณ์วิทยาศาสตร์นั้นให้ความหมายได้ยังไม่ชัดเจนมากนัก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1️⃣ อาการคัน เมื่อร่างกายถูกสัมผัสอย่างแผ่วเบา หรือในบางครั้งก็อาจจะยังไม่ถูกสัมผัส
2️⃣ การถูกกดซ้ำๆ บนผิวหนังบริเวณที่จั๊กจี้ เช่นเอว หรือ คอ
ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้จะส่งผลทำให้เกิดอาการ ขำ หัวเราะ อารมณ์ดี ยิ้มออกมา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เขากำลังยิ้ม หัวเราะด้วยความมีความสุขนะครับ 😳😳
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
แม้แต่นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่สามารถตอบได้อย่างแน่ชัด เหมือนกันครับ
บางทฤษฎีบอกว่า การที่เราขำหรือหัวเราะเมื่อถูกสัมผัสอย่างแผ่วเบานั้น คือการป้องกันตนเองจากความเครียด เพื่อให้ความเครียดนั้นลดลง เราจึงขำและหัวเราะออกมา
แต่นั่นอาจไม่ใช่เหตุผลเดียว ความเป็นไปได้มากที่สุดอาจเกิดจากการตอบสนองทางอารมณ์โดยอัตโนมัติ
เนื่องจากสมองส่วนไฮโพทาลามัสที่มีหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางอารมณ์และ โรแลนดิคโอเพอร์คิวลัม ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของใบหน้า เสียง และปฏิกิริยาทางอารมณ์
นั้นถูกกระตุ้นจากการจั๊กจี้ ก็ได้ครับ
เวลาเครียดๆอยากจะ จั๊กจี้ ตัวเองให้ขำกลับทำไม่ได้ ?
ธรรมชาติช่างกลั่นแกล้งเราจริงๆเลยนะครับ แม้แต่จะจั๊กจี้ตัวเองให้ขำยังทำไม่ได้
ซึ่งเรื่องนี้คงเป็นเพราะว่า สมองของเรานั้นคาดเดาคำตอบล่วงหน้าไว้แล้ว ทำให้เราไม่รู้สึกจั๊กจี้
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราอยากจะจั๊กจี้เอวตัวเอง สมองก็จะรู้ว่า มือของเราจะลงไปสัมผัสที่เอว แล้วคำนวณออกมาว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับเอวของเราบ้าง ? ทำให้เราไม่รู้สึกจั๊กจี้ สะดุ้ง หรือตกใจเลยสักนิด
ผมว่าสมองของพวกเรานี่ ฉลาดสุดๆไปเลยนะครับ 😆😆😆
เพราะฉนั้น เราจะถูกจั๊กจี้ได้ก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นอยู่ในอกเหนือการคำนวณของสมองเรานั่นเอง 😳😳
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเรื่องของการจั๊กจี้ ที่นำมาฝากกันในวันนี้
ทุกๆคนสามารถ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับวิทย์นิดนิด ได้ผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกันได้ที่ด้านล่าง นี้เลยครับ ⬇️⬇️⬇️
และมากไปกว่านั้น ยังสามารถ เป็นกำลังใจ และสนับสนุน วิทย์นิดนิด ได้ด้วยการ กดว้าว เพื่อบอกกับเราว่า อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆
Ref :
🔹https://www.pobpad.com/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81
🔹https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/61126/-scibio-sci-
🔹https://www.scimath.org/article-biology/item/8471-2018-07-18-04-02-14
🌸 วิทย์นิดนิดเรียบเรียง 06/04/2563

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา