Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คนไทยตัวเล็กเล็ก
•
ติดตาม
7 เม.ย. 2020 เวลา 01:01 • ความคิดเห็น
เมื่อคุณต้องดูแลผู้สูงอายุวัย 98 ท่ามกลาง COVID 19
Cr. photo from internet
บทความวันนี้เป็นบทความที่ไม่ได้วางแผนจะเขียนในตอนแรก ............ เพราะพอขึ้นคำว่า COVID 19 ....ฉันก็รู้สึกปวดหัวขึ้นมาทันใด 🥴
..... แต่ในที่สุดก็เขียนเพราะอาจมีประโยชน์บ้างหากคุณต้องเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่เป็นปู่ย่าตายาย ของคุณ
แม้ช่วงที่เราต้องทำ social distancing แต่ในความเป็นจริงเรายังต้องดูแลผู้สูงอายุเหล่านั้นอย่างใกล้ชิดเหมือนเดิมเพราะท่านอาจช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยไหวแล้ว
ฉันขอออกตัวก่อนว่า สิ่งที่เขียนในบทความ มิได้เป็นข้อปฏิบัติทางการแพทย์ เป็นเพียงข้อปฏิบัติจากประสบการณ์ตรงของฉันในขณะนี้ค่ะ
ในช่วงที่เราทุกคนถูกกักตัว หากเราดูแลตัวเราคนเดียว ก็คงไม่ยุ่งยากมากเท่าไหร่ใช่มี๊ยคะ
😷😷😷😷
ฉันและพี่สาวอีกคนดูแลผู้สูงอายุ 2 คน วัย 98 ปี และ 86 ปีค่ะ ฉันถูกกักตัวก่อนหน้านี้ เกือบ 30 วันเพื่อให้แน่ใจว่าฉันเหมาะสมที่จะมาดูแลท่าน
จากสถิติที่คุณคงทราบกันดีว่า กลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่า แต่มีโอกาสรักษาหายเป็นปกติได้น้อยกว่า และอาจต้องรับการรักษานานกว่า
👶👶👴👵👴👵
ความกังวลคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่าวันใดวันหนึ่งเราอาจจะพลาด สิ่งที่เราไม่ปรารถนาอาจเกิดขึ้น เราเป็นพาหะที่ไม่มีการแสดงอาการหรือไม่
ความอ่อนไหวเกิดในจิตใจตลอดเวลา ฉันคงไม่พูดเรื่องที่ว่าคุณจะจัดการกับจิตใจคุณอย่างใรให้คงความเข้มแข็ง และ มีสติ แต่อยากบอกว่า
ความรู้สึกของคุณไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ จะถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้สูงอายุที่คุณดูแล พลังงานด้านลบมีอำนาจทำลายล้างสูงกว่าพลังงานด้านบวกหลายเท่าค่ะ ❗❗
หลายคนพูดว่าผู้สูงอายุก็เหมือนเด็ก เป็นความจริงเพียงส่วนนึงค่ะ ในแง่ที่อาจเอาแต่ใจ น้อยใจง่าย เปลี่ยนใจไปมาง่าย ฉันหมายถึงผู้สูงอายุบางส่วนเท่านั้นนะคะ แต่ส่วนที่ไม่เหมือนคือแม้นาฬิการชีวิตจะเดินอ่อนลง แต่เคยผ่านประสบการณ์มามากมาย
คุณเคยได้ยินสำนวน “อาบน้ำร้อนมาก่อน" ใช่มี๊ยคะ” เพราะฉะนั้นคุณควรพูดทุกสิ่งตามความเป็นจริงเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดความแคลงใจว่ากำลังถูกปิดบัง 😒
☝️ฉันขอเน้นไปที่ การดูแลจิตใจ 💟
💟 ฉันให้ความสำคัญกับส่วนนี้มาก เพราะอย่างที่เรามักพูดกันว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
🍂 ถ้าผู้สูงอายุเกิดความไม่สบายใจ หดหู่ ซึมเศร้า ปัญหาที่อาจตามมาคือ ไม่อยากทานอาหาร หรือในทางกลับกันคือทานมากเกินความพอดี ไม่กระตือรือร้นที่จะออกกำลังกาย (ตามสภาวะ) หรือไม่ทานยา ในกรณีที่มีโรคประจำตัว อารมณ์เสียหรืออื่น ๆ
☹ ภาวะจิตใจหดหู่นี้เกิดจากอะไรได้บ้าง
👉 เกิดจากเราที่เป็นผู้ดูแลถ่ายทอดไปให้ท่าน (โดยไม่รู้ตัว) ค่ะ นั่นเป็นเหตุว่าทำไมคุณต้องเติมพลังบวกในตัวคุณเสมอ
👉 เกิดจากการรับข่าวสารที่มากเกินไป หรือรับข่าวสารโดยขาดความเข้าใจ
☘ ผู้สุงอายุควรได้รับรู้ข่าวสารพร้อมคำอธิบายโดยสรุปเพื่อความเข้าใจถึงความรุนแรง ลักษณะของโรค การแพร่ระบาด การป้องกันและการปฏิบัติตัว เพื่อให้ท่านเข้าใจว่าทำไมลูกหลานถึงห่างเหินไม่เข้ามาหาหรือไม่แสดงความรักความผูกพันเหมือนเดิม ป้องกันสภาวะที่เราเรียกง่าย ๆ ว่าใจเหี่ยวเฉา
☘ การให้ความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติตัวและความสำคัญที่ต้องเคร่งครัด เพื่อไม่ไห้ท่านรำคาญหรือละเลยเมื่ออยู่นอกสายตาเรา
👉 ควรคิดว่าทำอย่างไรให้แต่ละวันไม่น่าเบื่อหน่ายจากการที่ออกไปไหนไม่ได้ หันไปทางไหน มีแต่คำว่า “ไม่ได้” และ “ไม่ได้”
อาจอ่านหนังสือให้ฟัง ดูรายการทีวีอื่นนอกเหนือจากการเปิดข่าวตลอดเวลา อาจชวนคุยเรื่องเก่า ๆ
🙂 จำได้มั๊ยคะ ลักษณะของผู้สูงวัย คือ คุยเรื่องเก่าและเล่าความหลัง (ซึ่งคุณเองอาจไม่ชอบและเบื่อหน่าย) ส่วนกินของขม ชมเด็กสาว คงไม่เกี่ยวเท่าไหร่ในตอนนี้ 😊😊
👉 ในส่วนการรักษาสุขนิสัยที่ดี ไม่ว่าจะเป็น การกินอาหารร้อน (ปรุงสุกใหม่จะดีมาก) ช้อนส่วนตัว ล้างมือบ่อย ๆ นั้น คุณคงจำได้ขึ้นใจแล้ว
📌 ขอย้ำว่าบทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ข้อเขียนมาจากประสบการณ์เท่านั้น
Photo by: Kon Thai Tua LekLek
💕💕💕💕💕💕💕
ฉันขอเอาใจช่วยให้พวกเราทุกคนผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยดี เรายังมีเรื่องที่ต้องจัดการอีกมากมายหลังจากคุณโกวิดจากเราไปแล้ว ซึ่งก็ยังไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่
🍀🍀 ขอให้คุณเข้มแข็ง มีวันที่เบิกบานทุกวัน นะคะ
สวัสดีค่ะ 🙂
คนไทยตัวเล็กเล็ก
07/04/2020
1 บันทึก
61
65
9
1
61
65
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย