6 เม.ย. 2020 เวลา 12:22 • สุขภาพ
เห็นวันนี้หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ) เขาออกมาไลฟ์อธิบายให้ฟังเรื่องสาเหตุที่คนเอเชียนั้นมียอดผู้เสียชีวิตน้อยกว่าทางฝั่งยุโรป ซึ่งในขณะที่คนยุโรปอย่างอิตาลีนั้นมียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดที่ 15,000 คน
สเปน 12,000 คน อเมริกาอีก 8,000 กว่าคน สูงกว่าประเทศในแถบเอเชียอย่างจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทยเป็น 10-100 เท่า ขนาดที่จีนคุณภาพทางด้านการสาธารณสุขนั้นไม่ได้ดีเท่ากับประเทศแถบยุโรปยังสามารถควบคุมยอดผู้เสียชีวิตให้อยู่แค่เพียง 3,000 กว่าคนได้ ส่วนเกาหลีใต้นั้น 180 กว่าคน ไทยแค่ 20 คนนิดๆ
หมอมนูญให้เหตุผลว่าเป็นเพราะที่เอเชียนั้นส่วนใหญ่เด็กๆที่เกิดมาเกือบทุกคนได้รับวัคซีคป้องกันวัณโรค BCG มากันหมดแล้วตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านโรคระบาดในไทยและพื้นที่รอบๆเอเชียนั้นวัณโรคยังเป็นโรคที่ร้ายแรง และมีการระบาดอยู่เรื่อยๆ
อย่างตามทางเหนือ และแถบๆพม่านี้คนป่วยเป็นวัณโรคเยอะมากนะครับ ตามบ้านนอก ตามตะเข็บเมือง และอาณาบริเวณนอกชานเมือง ผมเคยไปเยี่ยมเยียน ร.พ.ส.ต. รอบๆเชียงใหม่ แรงงานพม่าเป็นวัณโรคกันเยอะมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไทยจะได้รับวัคซีนวัณโรค BCG กันไปซะส่วนใหญ่แล้ว
ในขณะที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปนั้นเขาไม่ได้มีนโยบายบังคับเรื่องวัคซีน BCG กัน แต่ปัจจุบันกำลังพยายามเริ่มทดลองนำวัคซีน BCG มาปรับใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคไวรัส COVID-19 ทำให้นักวิจัยและนักสาธารณสุขนั้นตั้งข้อสันนิษฐานว่าวัคซีน BCG นี้เป็นปัจจัยข้อหนึ่ง
ที่ทำให้การตรวจพบเชื้อไวรัส COVID-19 ในไทยนั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ส่วนสาเหตุที่ช่วงหลังๆนี้มีการแพร่เชื้อ และสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนั้นหมอมนูญวิเคราะห์ว่ามาจากปัจจัยในเรื่องความแตกต่างของสายพันธุ์ของไวรัส
ช่วงแรกๆที่ไทยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อนั้นส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพันธุ์เอเชีย คือ ไทยเราไปรับเชื้อมาจากคนที่เดินทางสัญจรระหว่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์เบา เลยมีคนเสียชีวิตแค่คนเดียว คือตอนปลายเดือนกุมภาพันธ์ แต่เรื่องที่สนามมวยลุมพินีเมื่อตอนต้นเดือนมีนาคมนั้น เป็นสายพันธุ์แรง
ที่นักท่องเที่ยวชาวไทยนั้นไปรับมาจากอิตาลี ซึ่งถือว่าเป็นคนละสายพันธุ์กับที่ไทยตรวจพบก่อนหน้านั้น ทำให้ความรุนแรง และการแพร่กระจายของเชื้อนั้นเป็นไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือ หมอมนูญนั้นยืนยันว่าไทยไม่ได้มีการปกปิดตัวเลขผู้ป่วยหรือเสียชีวิต
แต่สถานการณ์ภายในไทยนั้นกำลังตามหลังประเทศอื่นๆอยู่ประมาณ 1 เดือน ทำให้ตัวเลขของไทยเราขึ้นช้ากว่าประเทศในแถบยุโรป (จากปัจจัยข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนชุดตรวจ และอุปกรณ์การตรวจหาเชื้อไวรัส ทำให้ยอดการตรวจในแต่ละวันมีกำลังไม่มากเท่าประเทศอื่นๆ)
อีกเรื่องนึงที่เป็นไปได้ คือ ปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม ไทยเราไม่นิยมทักทายด้วยการจับมือ จูบแก้ม หอมแก้ม หรือต้องบูชาพระพุทธรูปด้วยการจูบหินอ่อน เลียรูปปั้นอะไรทำนองนั้น แถมการเดินทางก็มีรถส่วนตัวกันเป็นหลักในต่างจังหวัด ขนส่งมวลชนนั้นมีแต่ในกรุงเทพฯ
ตามต่างจังหวัดแทบจะไม่ค่อยมีใครเดินไปทำงาน เดินบนฟุตบาทสวนกันไปสวนกันมาแบบแออัดเหมือนตามหัวเมืองที่ยุโรปเลย ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไทยเราจะมีจำนวนผู้ป่วยน้อย หากไม่มี Super Spreader จากสนามมวยลุมพินีก็คงไม่ต้องถึงขั้นจะประกาศเคอร์ฟิว ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอะไรกันขนาดนี้
1
โฆษณา