8 เม.ย. 2020 เวลา 06:00 • สุขภาพ
โลกหลังจากโคโรนาไวรัส
The World After Coronavirus
ช่วงนี้คงไม่มีอะไรที่เราจะหลอนเราไปกว่าCOVID-19 หรือ โคโรนาไวรัสแล้วใช่ไหมครับ จากวิกฤตที่เราร่วมกันเผชิญอยู่นี้ได้ทำให้ชีวิตทุกวันนี้ของเราเปลี่ยนไปมากมากภายในชั่วพริบตา
แต่เราเคยลองคิดกันไหมว่าหลังจากนี้โลกของเราจะเปลี่ยนกันไปเป็นอย่างไร หรือเปลี่ยนไปในทิศทางไหน???
https://www.economist.com/leaders/2020/02/27/the-virus-is-coming
วันนนี้แอดอยากนำเสนอบทความของ ยูวาล โนอา ฮารารี่ (Yuval Noah Harari) ด้วยความที่แอดเป็นแฟนหนังสือของเขา จึงได้ไปตามอ่านบทความของยูวาลอยู่หลายๆครั้ง
ซึ่งครั้งนี้ ยูวาล ได้เขียนบทความที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับวิกฤตโคโรนาไวรัส แต่ ยูวาล ชวนเรามองไปในอนาคตข้างหน้าที่อาจจะเกิดขึ้นกับโลกของเราหลังวิกฤตโคโรนาไวรัสผ่านพ้นไป
บทความมีชื่อว่า โลกหลังจากโคโรนาไวรัส (The World After Coronavirus) ถูกเขียนลงใน เว็ปไซต์ของ Financial Times (www.ft.com) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2020
https://www.ft.com/content/19d90308-6858-11ea-a3c9-1fe6fedcca75
https://www.thinkingheads.com/en/speakers/yuval-noah-harari/
ยูวาลคือใคร มีงานเขียนอะไร ทำไมความคิดของเขาจึงสำคัญ
ยูวาล โนอา ฮารารี่ เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอล และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อดังระดับโลกที่ในช่วงปีที่ผ่านมาผู้อ่านหลายคนอาจเคยเห็นหนังสือของเขาผ่านตามาบ้าง
หนังสือที่เขาเขียน เช่น เซเปียนส์: ประวัติย่อของมนุษยชาติ (Sapiens: A Brief History of Humankind) โฮโมดิอุส: ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้ (Homo Deus: A Brief History of Tomorrow) และ 21 บทเรียน สำหรับศตวรรษที่ 21 (21 Lessons for The 21 Century)
แต่ถ้าผู้อ่านท่านใดยังไม่เคยได้อ่าน แอดขอแนะนำให้ลองหามาอ่านนะครับ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้แต่อ่านสนุก เราจะตื่นเต้นไปกับข้อมูลที่ยูวาลได้นำเสนอต่อเรา มีความจิกกัด ย้อนแย้ง ชวนให้เราได้ตั้งคำถามกับตัวเองอยู่ตลอด ไม่เสียดายเงินที่จะหามาอ่านแน่นอนครับ
ด้วยความที่หนังสือของ ยูวาล โด่งดังมากจนเป็นหนังสือเบสต์เซลเลอร์แทบทุกชั้นวางในร้านหนังสือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และลักษณะงานเขียนของ ยูวาล เป็นแนวประวัติศาสตร์ที่ให้เราทบทวนความคิด สังเกตการณ์ปัจจุบัน และชวนคิดถึงอนาคตอยู่เสมอ ทำให้ความคิดของยูวาลมีอิทธิพลและน่าสนใจเป็นอย่างมาก
https://medium.com/doudou-book-club/3-things-i-learned-from-the-3-books-by-yuval-noah-harari-b441a74ffba8
ยูวาล โนอา ฮารารี่ ขึ้นต้นบทความด้วยคำเปรยถึงโลกหลังโคโรนาไวรัสไว้ว่า
มนุษยชาติ (Humankind) กำลังเผชิญกับวิกฤตโลก (Global Crisis) ครั้งใหญ่และอาจเป็นวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดของยุคสมัยเรา (The biggest crisis of our generation) การตัดสินใจของผู้คนและรัฐบาลในอีกไม่กี่อาทิตย์ต่อจากนี้อาจนำมาซึ่งการหล่อหลอมโลกขึ้นมาใหม่
ทำไม ยูวาลถึงมองว่าโลกจะเปลี่ยนไป?
จากบทความชี้ให้เห็นว่าวิกฤตจากโคโรนาไวรัส (Coronavirus) นั้นทำให้เกิดมาตรการฉุกเฉิน (emergency measures) และเทคโนโลยีต่างๆที่ถูกนำมาใช้เพื่อเข้ามาดูแลชีวิตและสุขภาพประชาชนของแต่ละประเทศ และมาตรการเหล่านี้ ถ้าในเวลาปกติคงต้องใช้เวลานานมากกว่าจะผ่านการพิจารณาในขั้นตอนต่างๆและบางมาตรการก็ไม่เคยถูกนำมาใช้มาก่อนเลยด้วย เพราะวิกฤตแบบที่โลกเจอตอนนี้นั้นใหม่ถอดด้ามมากๆ
ทั่วทั้งประเทศต้องกลายเป็นเหมือนหนูตะเภา (Guinea-pigs) ที่ต้องถูกทดลองครั้งใหญ่กับมาตรการเหล่านั้น
ในบทความ ยูวาลได้ตั้งคำถามไว้อย่างน่าสนใจมากว่า อะไรจะเกิดขึ้นหากเราต้องทำงานจากที่บ้าน (work from home) หรือติดต่อกันได้แค่จากระยะทางไกล และ อะไรจะเกิดขึ้นหากโรงเรียนและธุรกิจทั้งหลายต้องหันสู่ออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งตอนนี้เราก็คงเห็นเค้าลางที่ชัดเจนจากมาตรการต่างๆที่เราเองก็พบเจอแล้วนะครับ
https://aleteia.org/2020/03/18/12-of-the-funniest-working-from-home-memes/
ดังนั้น ยูวาลจึงมองว่า หลังจาก "พายุ" ครั้งนี้ผ่านพ้นไป แม้มนุษยชาติจะอยู่รอดและพวกเราส่วนใหญ่จะยังมีชีวิต แต่เราจะอยู่ในโลกที่ต่างออกไป
(The storm will pass, humankind will survive, most of us will still be alive - but we will inhabit a different world)
แต่กระนั้นที่น่าสนใจยิ่งกว่าสำหรับแอดก็คือ ยูวาลได้เสนอเราว่าเราได้เผชิญ 2 ประเด็นการเลือกที่สำคัญสำหรับเราในภาวะวิกฤตนี้
ประเด็นแรก เราต้องเผชิญการเลือกระหว่าง อำนาจเผด็จการ (Totalitarian) และ การเสริมสร้างพลังพลเมือง (Citizen Empowerment)
ประเด็นที่สอง เราต้องเผชิญการเลือกระหว่าง การแบ่งแยกชาตินิยม (Nationalist Isolation) และ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของโลก (Global solidarity)
จากบทความ ยูวาล ได้ยกตัวอย่างให้เราเห็นถึงความสำเร็จของอำนาจเผด็จการนิยมและก้าวต่อไปของพัฒนาการของตัวเลือกนี้
ยูวาลได้ย้อนให้เราเห็นว่าในอดีต สหภาพโซเวียตใช้หน่วยงานคนอย่าง KGG หรือ คณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (The Committee for State Security) ในการตรวจตรา (Surveillance) ประชาชนกว่า 240 ล้านคน ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ก็ไม่สามารถสอดส่องประชาชนได้ครบทุกคน
ในยุคปัจจุบันการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีตรวจจับต่างๆ (Sensors) และ ระบบการประมวลผลแบบอัลกอริทึม (Algorithms) อันทรงพลัง ได้เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์และนำมาซึ่งความเป็นไปได้ที่จะตรวจตราประชาชนทุกคน
จีนเป็นตัวอย่างที่สำคัญที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการใช้ระบบเทคโนโลยีการตรวจตราประชาชนเพื่อแก้ไขวิกฤตการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส (The Crisis of Coronavirus Epidemic) ในประเทศ
ทั้งนี้แอดเชื่อว่าหลายๆคนพอจะเคยเห็นและเคยได้ยินมาบ้างว่าประเทศจีนมีการนำเทคโนโยลีกล้องตรวจจับใบหน้ามาใช้ในประเทศก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสนี้ แต่นอกจากกล้องตรวจจับใบหน้า จีนก็ยังใช้อำนาจในการติดตามและตรวจสอบสมาร์ทโฟนของประชาชนในประเทศ
https://nextshark.com/china-installs-20-million-worlds-advanced-ai-surveillance-cameras-track-people/
https://www.scmp.com/tech/gear/article/3010312/how-9/11-and-chinas-plan-blanket-surveillance-helped-hikvision-and-dahua
ปลายนิ้วของประชาชนที่กดบนสมาร์ทโฟนจะบ่งบอกและให้ข้อมูลแก่รัฐบาลในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชนเพื่อจะตรวจสอบได้ว่า ประชาชนคนไหนมีอุณภูมิร่างกายอย่างไร เป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัสหรือไม่ และยังสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อติดตามได้ว่าคนที่เสี่ยงและคนที่ติดเชื้อออกไปไหน ทำอะไร ติดต่อกับใคร และเพื่อจะเตือนประชาชนให้ระวังการใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อได้อีกด้วย
เช่นเดียวกันกับจีน อิสราเอลก็เป็นประเทศหนึ่งที่ ยูวาล กล่าวว่าได้ใช้อำนาจในลักษณะนี้ในการใช้เทคโนโลยีตรวจสอบตรวจตราประชาชน
ทั้งนี้แอดเชื่อว่าผู้อ่านหลายๆท่านอาจเห็นว่าการใช้อำนาจในลักษณะนี้ในช่วงเวลานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ชัดเจน
ยูวาล บอกว่า เมื่อวิธีการเหล่านี้ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องปกติ (Normalization) รูปแบบการตรวจตราประชาชนจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จาก "บนผิวหนัง" (Over-Skin) ลงสู่ "ใต้ผิวหนัง" (Under-Skin)
https://www.biometricupdate.com/201903/chinese-government-defends-biometric-surveillance-in-xinjiang-saying-13000-terrorism-arrests-made
การตรวจตราใต้ผิวหนัง (Under-Skin Surveillance) กล่าวคือ การตรวจสอบที่ลงลึกผ่านผิวหนังของประชาชนลงไปเพื่อรัฐบาลจะได้รู้ถึงอุณภูมิ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต เพราะรัฐบาลจะสามารถรู้ได้ว่าคุณสุ่มเสี่ยงต่อการติดหรือติดเชื้อไวรัสแล้วหรือไม่
ยูวาล ยกตัวอย่างว่า แต่ก่อนรัฐบาลรู้ว่าการคลิกลิงก์แหล่งข่าวหนึ่งอาจหมายถึงคนคนนั้นมีแนวคิดทางการเมืองแบบใดหรือมีลักษณะนิสัยอย่างไร แต่เมื่อการตรวจตราลึกลงไปใต้ผิวหนังสามารถให้ข้อมูลถึงอุณภูมิ (Temperature) การเต้นของหัวใจ (Heart-rate) ความดันโลหิต (Blood pressure)
หลังจากนี้รัฐบาลก็จะวิเคราะห์ได้ว่าอะไรที่ทำให้คุณกลัว หัวเราะได้ สนุกได้ เบื่อได้ ร้องไห้ได้ และ อะไรที่ทำให้คุณโกรธได้ หรือแม้แต่รักได้
https://www.biometricupdate.com/202003/fever-detection-and-facial-recognition-systems-launched-to-help-prevent-virus-spread
เมื่อเทคโนโลยีได้ประสานการตรวจตราข้อมูลทางชีวภาพ หรือ ไบโอเมทริกส์ (Biometric Data) เหล่านี้ลงไปและถูกใช้โดยรัฐบาลอำนาจนิยมจะทำให้รัฐบาลรู้จักตัวเรามากกว่าตัวของเราเองซะอีก พูดได้ว่ารัฐบาลสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อจัดการตัวเรา อารมณ์เรา หรือขายข้อมูลเราก็ได้ตามแต่ที่เขาต้องการ
ยูวาลยกตัวอย่างว่าหากในปี 2030 รัฐบาลเกาหลีเหนือมีมาตรการให้ประชาชนสวมกำไลข้อมือที่มีระบบการตรวจตราเชิงชีวภาพ (Biometric Surveillance) และประชาชนคนหนึ่งได้ฟังการกล่าวสุนทรพจน์ (Speech) ของท่านผู้นำ แต่กำไลข้อมือตรวจจับได้ว่าประชาชนคนนั้นกำลังโกรธ....ก็คงไม่พ้นการโดนเจี๋ยน....
กระนั้นแม้วิธีเหล่านี้จะดูทรงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ชัดเจนในภาวะฉุกเฉิน (State of emergency) แบบนี้ แต่วิธีการที่ออกมา "เฉพาะกิจ" (Temporary) มักจะไม่จากไปหลังจากวิกฤตผ่านพ้นไป เพราะ รัฐบาลที่หิวกระหายในข้อมูลจะอ้างว่าการตรวจตราเชิงชีวภาพแบบนี้จะเป็นเครื่องมือที่ดีในการรองรับวิกฤตครั้งใหม่ที่อาจมาถึงเมื่อไหร่ก็ได้ และ ยูวาล กล่าวเสริมว่า หากประชาชนต้องเลือกระหว่าง ความเป็นส่วนตัว (Privacy) กับ สุขภาพ (Healthy) คนมักจะเลือกสุขภาพก่อน
https://www.thestatesman.com/supplements/law/big-brother-xi-is-watching-you-1502712341.html
กระนั้นในบทความของ ยูวาล เขียนว่า การที่เราต้องเลือกระหว่าง ความเป็นส่วนตัว กับ สุขภาพ เป็นเรื่องที่ผิด เพราะเราสามารถมีทั้งสองอย่างได้พร้อมกัน เห็นได้จากความสำเร็จของ เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ในการรับมือกับวิกฤตโคโรนาไวรัสที่ได้เปิดเผยและรายงานข้อมูลและข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาต่อประชาชน และให้ความรู้ในการรับมือวิกฤตที่ดีต่อประชาชน
ฉะนั้นการเปิดเผยข้อมูล (Open data) อย่างตรงไปตรงมา เชื่อถือได้และถูกต้องต่อประชาชน หรือแม้แต่ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ยูวาล กล่าวว่าเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพมากกว่ารัฐบาลที่รวมศูนย์และคอยตรวจสอบตรวจตราประชาชน เพราะประชาชนมีความรู้ที่ดีที่จะสามารถปฎิบัติตัวอย่างถูกต้องเพื่อรับมือวิกฤตได้ด้วยตัวเอง
ยูวาล ยกตัวอย่างการเกิดขึ้นของสบู่และการที่คนทุกวันนี้รู้จักการล้างมือด้วยสบู่เพราะการเข้าใจข้อเท็จจริงที่ว่าการล้างมือด้วยสบู่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย และสิ่งนี้ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสุขอนามัยของมนุษย์ (One of the greatest advances ever in human hygiene)
https://www.insider.com/how-long-should-you-wash-your-hands
เทคโนโลยีการตรวจตราเชิงชีวภาพที่ลงลึกไปใต้ผิวหนังนั้น ยูวาล กล่าวว่าควรมีเพื่อการสร้างเสริมความเป็นพลเมือง (Citizen empowerment) และไม่ควรถูกใช้เพื่อสร้างอำนาจเต็มในการจัดการประชาชนให้แก่รัฐบาล (That data should not be used to create an all-powerful government)
ข้อมูลชีวภาพเหล่านั้นควรต้องมีเพื่อให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจและสามารถเลือกหนทางของตัวเองได้ เช่น หากเรารู้ข้อมูลตัวเราเองว่าป่วยเราก็สามารถหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ รวมถึงเพื่อสามารถใช้ในการตรวจสอบการตัดสินใจของรัฐบาลได้ด้วย เช่น หากเรารู้ข้อมูลการแพร่เชื้อโคโรนาไวรัสที่แท้จริง เราก็สามารถรู้ได้ว่ารัฐบาลกำลังบอกหรือปกปิดความจริงกับเรา ดังนั้นเทคโนโลยีการตรวจตรานี้จะไม่เพียงแค่รัฐบาลตรวจสอบเรา เรายังสามารถตรวจสอบรัฐบาลได้เช่นกัน ซึ่งเราจะสามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวและสุขภาพของเราไปพร้อมกันได้
https://www.researchgate.net/figure/Diagram-of-Open-Government_fig2_301775800
มาถึงประเด็นการเลือกที่สองระหว่าง การแแบ่งแยกชาตินิยม (Nationalist isolation) และ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของโลก (Global solidarity)
ถ้าเราติดตามข่าวโลกตอนนี้กำลังดำเนินไปในทิศทางที่แต่ละประเทศแยกเดี่ยวตัวเองออกมามากขึ้น ขาดความร่วมมือระหว่างกัน (lack of cooperation) ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาเองที่ในอดีตที่มีบทบาทเหมือนผู้นำโลก ก็ไร้ซึ่งความเป็นผู้นำไปในภาวะวิกฤตนี้ ยูวาล กล่าวว่า ตอนนี้สหรัฐอเมริกาเอาแต่สนใจความยิ่งใหญ่ของตัวเอง (The Greatness of America) มากกว่าสนใจในอนาคตของมนุษยชาติ (The Future of Humanity) เห็นได้จาก สหรัฐอเมริกาหักหลัง (abandon) เหล่าชาติพันธมิตร (Allies) ที่ใกล้ชิดที่สุดอย่าง สหภาพยุโรป (European Union: EU) ด้วยการห้ามทุกเที่ยวบินจากสหภาพยุโรปบินเข้าสหรัฐอเมริกาและไม่มีแม้แต่การแจ้งล่วงหน้าเกี่ยวกับมาตรการนี้
https://www.theverge.com/2020/3/11/21175944/trump-coronavirus-covid-19-travel-ban-europe-financial-relief-emergency-declaration
ยูวาล กล่าวว่า ทั้งวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส และ วิกฤตทางเศรษฐกิจ เราร่วมกันแก้ไขได้ด้วยความร่วมมือระดับโลก (Global cooperation) เช่น หากจีนที่ผ่านวิกฤตมาได้แล้วสามารถสอนวิธีรับมือให้กับสหรัฐอเมริกาได้ หรือ หากอังกฤษสามารถได้รับคำแนะนำการรับมือวิกฤตจากเกาหลีใต้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในการเอาชนะวิกฤตในครั้งนี้
การแบ่งปันประสบการณ์ คำแนะนำ และข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างเปิดเผยระหว่างกันควรต้องเกิดขึ้น มากกว่านั้นความร่วมมือระดับโลกในการผลิตและแบ่งปันทรัพยากรทางการแพทย์ก็จำเป็นต้องทำและต้องทำอย่างเท่าเทียมและยุติธรรมเพื่อรักษาชีวิตของมนุษยชาติ
เช่นเดียวกันกับวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทั้งโลกกำลังเผชิญ หากประเทศเทศใดมัวแต่กั๊ก ห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของตัวเอง เมินเฉยต่อประเทศอื่น วิกฤตเศรษฐกิจโลกก็จะยิ่งแย่ลงไปอีก ยูวาล กล่าวว่า ฉะนั้น ความร่วมมือกันในระดับโลกจึงสำคัญและแผนความร่วมมือในระดับโลกก็ต้องมีและต้องทำให้เร็ว
สุดท้าย ยูวาล กล่าวว่า มนุษยชาติจำต้องเลือกว่า เราจะก้าวไปบนหนทางของความแตกแยก (The route of disunity) หรือ เราจะเลือกหนทางของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของโลก (The path of global solidarity) ซึ่งหากเราเลือกที่จะแตกแยกกัน วิกฤตก็จะยืดยาวออกไป โลกจะเผชิญผลลัพธ์ที่เลวร้ายกว่าเดิมในอนาคต แต่หากเราเลือกที่จะรวมกันเป็นหนึ่งทั้งโลก มันจะไม่ใช่เพียงชัยชนะต่อโคโรนาไวรัส แต่จะรวมถึงการเอาชนะวิกฤตการแพร่ระบาดทั้งหลายในอนาคตของศตวรรษที่ 21 นี้อีกด้วย
https://www.chinadaily.com.cn/a/202002/13/WS5e44855da3101282172771b7.html
ขอบคุณที่อ่านจนมาถึงตรงนี้นะครับ
แอดเห็นว่าบทความนี้มีความสำคัญที่จะช่วยให้เราตระหนักถึงภัยร้ายที่อาจมากกว่าโคโรน่าไวรัส นั่นก็คือ ความเห็นแก่ตัวและการฉวยโอกาสในภาวะวิกฤต แอดเลยแปลและสรุปมาให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ
กระนั้นหลายท่านอาจเห็นว่ามันดูเป็นเรื่องไกลตัวและเป็นเรื่องระหว่างประเทศ แต่แอดอยากชวนคิดแบบนี้ครับ
แม้เราไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจใดในมือ เป็นเพียงประชาชนทั่วไป แต่ถ้าเราแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ล่ะ แชร์ข้อเท็จจริงให้คนอื่นได้ทราบล่ะ สร้างความตระหนักรู้ที่ดีร่วมกันล่ะ ให้กำลังใจกันและกันล่ะ ช่วยกันตรวจสอบข้อมูลต่างๆล่ะ แสดงให้คนใหญ่คนโตเห็นซึ้งได้ว่าการแบ่งแยกมีแต่จะทำให้เลวร้ายลงทำให้เขาหันมาร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติอย่างเราๆได้ล่ะ
ฉะนั้นมาช่วยกันนะครับ เราสามารถเลือกได้ว่าอยากให้โลกในวันพรุ่งนี้เป็นอย่างไร เราสามารถเลือกให้โลกนี้ดีขึ้นได้ครับ
You can make your own choices!
https://www.pinterest.com/pin/139541288427577203/
โฆษณา