7 เม.ย. 2020 เวลา 08:01 • ข่าว
Oil Update : สถานการณ์น้ำมันล่าสุด
กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกกำลังอยู่ภายใต้การกดดันในการทำข้อตกลงที่คาดเดาได้ยาก ในการช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก Coronavirus
กลุ่มสภาชิกรัฐมนตรีและนักการฑูตจะใช้เวลา 2 วันถัดไป เพื่อพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ว่า "ใครจะลดกำลังการผลิตน้ำมัน และจะลดได้มากเท่าไหร่"
ซึ่งแน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีความร่วมมือกันจาก 3 ประเทศมหาอำนาจด้านน้ำมันของโลกคือ ซาอุฯ รัสเซีย และสหรัฐฯ
แต่อุปสรรคสำคัญที่สุดตอนนี้มีอยู่เพียงอย่างเดียวคือ สหรัฐฯ จะยอมลดกำลังการผลิตของตนเองหรือไม่ ? เนื่องจากรัสเซียและซาอุฯ ได้ยื่นข้อเสนอที่ชัดเจนอย่างมากแล้วว่า "จะยอมลดการผลิต หากสหรัฐฯ ยอมลดด้วย"
ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดจากสหรัฐฯ นั้นยังไม่มีความชัดเจนใด ๆ แต่ก็มีข่าวออกมาว่า "บริษัทของสหรัฐฯ อาจจะค่อย ๆ ลดการผลิตลงทีละเล็กน้อย"
อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ได้กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า "พวกเขาได้ลดกำลังการผลิตไปแล้ว และพวกเขากำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง นี่เป็นเรื่องจริง และผมคิดว่ามันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ" (หมายถึงซาอุฯ และรัสเซีย)
รายงานล่าสุดจาก Bloomberg ระบุว่าการเจรจาครั้งนี้ยังมีอุปสรรคอยู่หลายประการ ซึ่งรวมถึงการประชุมสุดยอดที่เพึ่งถูกเลื่อนออกไป และมีกำหนดการเพียงคร่าว ๆ เท่านั้นว่าจะจัดขึ้นอีกทีในวันพฤหัสบดีนี้ ประกอบกับการที่รัสเซียและซาอุฯ มีจุดยืนอย่างชัดเจนว่าต้องการให้สหรัฐฯ ลดการผลิตน้ำมันร่วมกับประเทศอื่น
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจบริษัทผู้นำด้านยุทธศาสตร์ระดับโลก Cantor Fitzgerald กล่าวว่า "ผมคิดว่าซาอุฯ และรัสเซียกำลังเหย้าแหย่และเล่นท่ากันอยู่ ในการที่จะลดกำลังผลิต และผมก็คิดว่าข้อตกลงระหว่างกลุ่ม OPEC+ อาจยังไม่เพียงพอที่จะช่วยพยุงอุตสาหกรรมพลังงานของสหรัฐฯ"
และหัวหน้านักยุทธศาสตร์ระดับโลกอย่าง Peter Cecchini ก็ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า "จริง ๆ แล้วผมไม่เคยเชื่อเลยว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างรัสเซียและซาอุฯ ผมคิดว่ามันมีความพยายามที่ถูกปิดบังอยู่ ในการโจมตีบริษัทน้ำมันของสหรัฐฯ ขณะที่บริษัทของเราต้องปิดตัวลงและออกจากตลาด"
ขณะที่ปฏิกิริยาล่าสุดของทรัมป์นั้นดูเหมือนว่าเจ้าตัวจะไม่ค่อยพอใจเรื่องนี้นัก โดยกล่าวว่า "ไม่เคยมีใครพูดกับผมเรื่องนี้ แต่ถ้าพวกเขาพูด ผมก็จะลองตัดสินใจดู และผมจะบอกให้คุณรู้ในช่วงเย็นของวันพฤหัสบดีนี้"
ข้อสังเกต : เหมือนอย่างที่ World Maker เคยบอกครับ รัสเซียและซาอุฯ กำลังกดดันให้สหรัฐลดการผลิตของตัวเอง และผลักภาระการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้ไปที่สหรัฐฯ แทนที่จะดึงอำนาจการตัดสินใจมาไว้ที่ตนเอง
เป้าหมายของการเจรจาครั้งแรก คือการลดกำลังการผลิตน้ำมันทั่วโลกลงประมาณ 10 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเบื้องต้นรัสเซียยื่นข้อเสนอให้ 3 ประเทศยักษ์ใหญ่ลดกำลังการผลิตของตัวเองลงคนละ 1 ล้านบาร์เรล/วัน
และสำหรับข้อเสนอนี้ของรัสเซีย World Maker ได้เคยวิเคราะห์ไปในบทความเก่าแล้วว่า "มันไม่มีทางทำให้กำลังการผลิตลดลงทั่วโลกได้ถึง 10 ล้านบาร์เรล/วัน อย่างแน่นอน"
ดังนั้นแล้ว หากต้องการบรรลุเป้าหมายที่ 10 ล้านบาร์เรล/วัน มันก็จะหมายความว่า อย่างน้อย 3 ประเทศยักษใหญ่ "ต้องลดกำลังการผลิตของตัวเองลงให้มากกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วัน"
ทีนี้เรามาดูกันว่า 10 ประเทศหลัก ๆ เขาผลิตเท่าไหร่กันบ้าง (ประมาณอย่างใกล้เคียง แต่ไม่เป๊ะนะครับ)
*ข้อมูลตอนสิ้นเดือนมีนาคม 2563
1. สหรัฐฯ : 13 ล้านบาร์เรล/วัน
2. ซาอุฯ : 12 ล้านบาร์เรล/วัน
3. รัสเซีย : 11.29 ล้านบาร์เรล/วัน
4. แคนาดา : 5.78 ล้านบาร์เรล/วัน
5. อิรัก : 4.62 ล้านบาร์เรล/วัน
6. บราซิล : 3.06 ล้านบาร์เรล/วัน
7. อาหรับเอมิเรตส์ : 3 ล้านบาร์เรล/วัน
8. คูเวต : 2.67 ล้านบาร์เรล/วัน
9. นอร์เวย์ : 2.07 ล้านบาร์เรล/วัน
10. ไนจีเรีย : 1.93 ล้านบาร์เรล/วัน
แต่ล่ะประเทศมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง ?
1. สหรัฐ -> ทรัมป์ไม่พอใจกับเรื่องนี้นัก แต่บอกว่ากำลังพิจาณา นอกจากนั้นเขาขู่จะขึ้นอัตราภาษีนำเข้าน้ำมัน หากสงครามยังยืดเยื้อต่อไป
2. ซาอุฯ -> ชะลอการเปิดเผยราคาขายออกไป หลังจากเพึ่งเพิ่มกำลังการผลิตเป้น 12 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อวันที่ 1 เม.ย 2563 เนื่องจากกำลังรอดูท่าทีของสหรัฐฯ แต่ก็มีแนวโน้มอย่างชัดเจนที่จะให้ความร่วมมือ หากสหรัฐฯ ยอมลดกำลังการผลิตลง
3. รัสเซีย -> บอกอย่างชัดเจนในเบื้องต้นว่าจะยอมลดอย่างน้อย 1 ล้านบาร์เรล/วัน โดยมีเงื่อนไขข้อเดียวคือสหรัฐ ต้องลดการผลิตในสัดส่วนที่เหมาะสมเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ
4. แคนาดา -> เตรียมเข้าร่วมการประชุมกับ OPEC+ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ และจะ "เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของประชาชน"
5. อิรัก -> มีมุมมองที่ดีว่าการประชุมครั้งนี้จะบรรลุข้อตกลงใหม่เกีย่วกับการผลิตน้ำมันทั่วโลก โดยกล่าวว่า "ผู้ผลิตทั้งหมดอยู่ในเรือลำเดียวกัน และต้องร่วมมือกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน"
6. บราซิล -> กล่าวว่าบริษัทน้ำมันยักษใหญ่ ภายในประเทศจะลดกำลังการผลิตรวมกันให้ได้ประมาณ 100,000 บาร์เรล/วัน
7. อาหรับเอมิเรตส์ -> กล่าวว่าต้องมีการประชุมอย่างเร่งด่วนกับกลุ่ม OPEC+ และผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นเพื่อสร้างเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน
8. คูเวต -> กล่าวเพียงว่าการผลิตน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น นั้นมาจากการที่ประเทศส่งออกน้ำมันมากขึ้น แต่โดยรวมแนวโน้มน่าจะไปทางเดียวกับกลุ่ม OPEC+
9. นอร์เวย์ - > กล่าวว่าจะพิจารณาลดกำลังการผลิตลง หากมีข้อตกลงที่จะลด Supply น้ำมันในวงกว้าง ระหว่างกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันด้วยกัน พูดง่าย ๆ คือ ถ้ายักษ์ใหญ่เขาตกลงกันได้ นอร์เวย์ก็ไม่ขัดขืนอะไร
10. ไนจีเรีย -> เสนอการส่งออกในราคาที่ต่ำที่สุดในรอบกว่าทศวรรษ (เมื่อเทียบกับมาตรฐานราคาภายในประเทศ) อย่างไรก็ตาม ไนจีเรียกล่าวว่า "พร้อมจะให้ความร่วมมือในการช่วยคืนความมั่นคงสู่ตลาดน้ำมันโลก และเต็มใจที่จะเสียสละผลประโยชน์บางส่วนเพื่อป้องกันการล่มสลายของเศรษฐกิจโลก"
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา