8 เม.ย. 2020 เวลา 04:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โลกร้อน (ตอนที่ 4)
ภาวะโลกร้อน ... จากผลการลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ (Ozone Depletion)
ที่มา : วารสาร Nature (เป็นวารสารที่ทรงอิทธิพลทาง วิทยาศาสตร์ ที่สุดของโลก)
จากการเฝ้าดู เราเห็นผลชัดเจนจาก การที่ลดการปล่อย CO2 แบบทันทีทันใด ซึ่งเราทำไม่ได้ในภาวะปกติ เพียงไม่กี่เดือน อากาศสะอาด สามารถเห็นได้เกิน 100 km ชั้นโอโซน healing เร็วกว่าที่คิด ถ้าเป็นอย่างนี้ถึงสิ้นปีชั้นโอโซน จะฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 10 เท่า ซึ่งจะลด UV ที่มาถึงถึงผิวโลกได้ถึง 95%
โอโซนมีความสำคัญ ในการช่วยป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) จากดวงอาทิตย์ส่องมาถึงผิวโลก พลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้ชีวิตบนโลกดำรงอยู่ได้ แต่แสงจากดวงอาทิตย์ มีรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตด้วย โอโซนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสิ่งมีชีวิตต่างๆ จากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์ เมื่อโอโซนบางลงเราก็ได้รับการปกป้องน้อยลงด้วย
นักวิทยาศาสตร์พบว่า การสูญเสียก๊าซโอโซน ไปในปริมาณมหาศาล มีสาเหตุสำคัญมาจาก ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) โดยเฉพาะสารประกอบ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) หรือที่โดยทั่วไปว่า CFC ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และระบบทำความเย็นต่างๆ
การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต ส่องผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้โดยตรง เป็นผลให้ ความร้อนบนพื้นผิวโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้พืชชั้นต่ำ เช่น แพลงก์ตอนและสาหร่าย เกิดการกลายพันธุ์ ส่งผลกระทบต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งพืชทะเลคือแหล่งผลิตอ๊อกซิเจนหลักของโลก เช่นเดียวกับภัยอันตรายต่างๆ จะเกิดขึ้นกับระบบการทำงานของร่างกายทั้งมนุษย์และสัตว์ด้วย
นักวิทยาศาสตร์ ยังพบว่า ช่องโหว่ในชั้นโอโซนส่งผลรบกวนต่อสภาพอากาศโดยรวมของโลก เช่น ไฟป่า, ฤดูกาลแปนผัน หรือ พายุที่รุนแรง ในปี 1987 ประเทศต่างๆทั่วโลกจึงได้ทำข้อตกลงร่วมกันภายใต้ Montreal Protocol เพื่อยกเลิกการใช้ CFC โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1989 โดยคาดว่าชั้นโอโซนจะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ภายในปี 2060
อย่างไรก็ตาม สารเคมีตัวใหม่ HCFC ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้เพื่อทดแทน CFC แม้จะมีอันตรายน้อยกว่า แต่ยังคงเป็นตัวทำลายโอโซนชั้นดี นอกจากนี้ ยังมีสารทำความเย็นที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในอนาคตอย่าง HFC ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน แต่เป็นก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (climate change)
ผลการเฝ้าดูและศึกษาล่าสุดของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature พบว่า ชั้นโอโซนที่เคยได้รับความเสียหาย เริ่มหนาขึ้น ทำให้กระแสลมกรดซีกโลกใต้ (Southern Jet Stream) พัดกลับคืนสู่ทิศทางที่ควรจะเป็น จนหลายภูมิภาคในซีกโลกใต้ จะไม่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศรุนแรงบ่อยครั้งเหมือนเดิม และออสเตรเลียจะไม่ต้องเผชิญกับภัยแล้งที่รุนแรงมากเท่ากับที่ผ่านมา
ดร. อันทารา บาเนอร์จี ผู้นำทีมวิจัยจากองค์การบริหารงานด้านมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือโนอา (NOAA) บอกว่าก่อนช่วงปี ค.ศ. 2000 กระแสลมในซีกโลกใต้ ซึ่งเป็นลมกระแสหลักสายหนึ่งของระบบไหลเวียนในบรรยากาศโลก ได้เริ่มเบี่ยงทิศทางลงมายังด้านทิศใต้มากขึ้น โดยมีความเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยที่ราว 1 องศาละติจูดในทุก 10 ปี ทำให้หลายพื้นที่ในซีกโลกใต้ต้องพบกับสภาพภูมิอากาศแปรปรวน แต่ข่าวดีนี้อาจยังไม่ดีพอ หากเรายังไม่ลดการปล่อย “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” ซึ่งจะไปบั่นทอนการฟื้นฟูชั้นโอโซนให้ช้าลง
เราเห็นฟื้นตัวของชั้นโอโซนเร็วขึ้น จากการที่เราลด การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างทันทีทันใด จากการเดินทาง ทั้งทางบกและทางอากาศ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 ซึ่งในสภาวะปกติ เราไม่สามารถทำได้ จึงเหมือนว่า COVID-19 กำลังช่วยให้โลกเริ่มหยุด การทำลายตัวเองจากภาวะโลกร้อน ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change)
โฆษณา