8 เม.ย. 2020 เวลา 05:37
สำนักวิเคราะห์ต่างประเทศอย่าง FGE (Facts Global Energy) ได้ติดตามข่าวพลังงานในบ้านเราแล้วเอามานำเสนอ ซึ่งถือว่าเก็บรายละเอียดดีทีเดียว
ขอยกนำมาเล่า และเพิ่มบางส่วนเข้าไป...
โดยสรุปแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ PDP ไว้ว่า แผน2018 vs แผน 2018rev.1 นั้น มีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติคงเดิม แม้ว่าจะมีโครงการพลังงานทดแทนมากมาย แต่ก็ทำให้สัดส่วนเพิ่มขึ้นเพียง 1% ขณะที่ถ่านหินที่ดูจะเป็นผู้ร้ายหน่อยๆ สัดส่วนลดลง 1%
สัดส่วนเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าเปรียบเทียบ PDP2018 rev.1 ล่าสุด
เชื้อเพลิงหลักที่หนีไม่พ้นก๊าซธรรมชาติ : ซึ่งก็ต้องพูดถึง “การหา” เชื้อเพลิงว่ามาจากที่ไหนบ้าง ซึ่งคงพอทราบกันมาบ้างว่า ไทยเรา ผลิตก๊าซฯ ได้เองบ้าง จากในอ่าวไทย ทั้งส่วนพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซียด้วย
แต่ก็ยังไม่พอต้องนำเข้าจาก พม่า ทางฝั่งตะวันตกและ นำเข้าในรูปแบบ LNG
การจัดหาก๊าซในประเทศ หลังจากมีการประกาศเปิดประมูลให้สิทธิผู้ชนะ สำหรับพื้นที่หมดสัมปทานในอ่าวไทยของแหล่ง เอราวัณ และ บงกช
ในเงื่อนไขของผู้ชนะประมูล จะต้องผลิตก๊าซให้ได้อย่างน้อยที่ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งทำให้สัดส่วนของการจัดหาก๊าซในประเทศตามแผนก๊าซ 2018 ใหม่นั้น อยู่ที่ 28% นำเข้า LNG 68%
เปรียบเทียบแผนจัดหาก๊าซ
ซึ่งในส่วนของก๊าซฯ
เป็นที่จับตามองของเหล่าบรรดานักลงทุนหน้าใหม่ รวมถึงการพยายามรักษาแชมป์ในการนำเข้าและบริหารก๊าซอย่างบริษัท PTT ด้วยปริมาณความต้องการก๊าซของประเทศที่ยังอยู่ในรับสูง การที่รายใหม่อยากขอเข้ามาอยู่ในตลาดซื้อ-ขายก๊าซ รวมทั้งการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่าง LNG Terminal ซึ่งตอนนี้มีเพียง PTTLNG มาบตาพุดที่พร้อมใช้งาน ขนาด 11.5 ล้านตันต่อปี
ส่วนที่กำลังสร้างและคืบหน้าไปกว่า 30% แล้วอย่าง PTTLNG หนองแฟบ และส่วนที่กำลังรอตั้งไข่อย่าง LNG มาบตาพุดเฟส 3 กับ FSRU กฟผ. (เรือลอยน้ำที่มีหน่วยแปลงสถานะ LNG จากของเหลวเป็นก๊าซส่งเข้าท่อ) ซึ่งนั่นจะทำให้บ้านเราสามารถรองรับ LNG นำเข้าได้มากสูงถึงปีละ 24 ล้านตัน!
แต่แผนก๊าซ 2018 ได้นำแผนโครงการ FSRU ฝั่งพม่าออก ที่เดิมรัฐมอบให้ ปตท. ศึกษา เพื่อเป็นโครงสร้างรองรับก๊าซจากฝั่งตะวันตก กรณีที่แหล่งในพม่าหมดลง
เพิ่มใส่ในแผนด้าน FSRU ในภาคใต้ ทั้งจังหวัดสุราษฏร์ธานีและอำเภอจะนะ
เพื่อรองรับการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงทดแทนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ
การจัดการด้านจัดหาก๊าซธรรมชาติยังคงมีความซับซ้อนในระบบ ทำให้การเพิ่มผู้เล่นในตลาดยังคงเป็นไปด้วยความยาก ทั้งในเรื่องข้อจำกัดดีมานด์ ทั้งส่วนซับพลายด้านสัญญารับก๊าซในประเทศ ข้อจำกัดด้านราคา pool การจองและใช้ LNG Terminal และอื่นๆ
ซึ่งปัจจุบันนอกจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำมากแล้ว ราคา LNG จากต่างประเทศนั้นก็ตกลงมาอย่างมากเช่นกัน อยู่ที่ราคา 2.8-3.2 ดอลล่าร์ต่อล้านบีทียู($/mmbtu) จากเดิมเมื่อต้นปี 2563 ที่มีราคาราว 6 $/mmbtu
ซึ่งต่อให้รวมค่าเก็บแปลงสถานะเข้าท่อและค่าผ่านท่อ (ประมาณ 1-1.5$/mmbtu) ก็ยังถูกกว่าราคาก๊าซจากในอ่าวไทยที่ผลิตได้เสียอีก (ราคาก๊าซในอ่าวไทยอยู่ที่ประมาณ 5-6 $/mmbtu)
ถึงแม้ว่าตอนนี้ ประเทศผู้นำเข้าพลังงาน ทั้งน้ำมันดิบและ LNG จะเห็นโอกาสในการนำเข้าราคาที่ถูก แต่ด้วยวิกฤตไวรัสโควิด 19 ก็กดให้การใช้สะดุดลง (ซึ่งเรื่องนี้ต้องคุยกันอีกยาว)
อ้างอิงภาพ, ref.Pictures : FGE 01Apr2020
โฆษณา