9 เม.ย. 2020 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
ย้อนวันวานกับรถรางไทย
รถรางกรุงเทพเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีพุทธศักราช 2439 ปีแรกได้มีการวางรางใช้รถม้าลากศาลหลักเมืองไปยังถนนเจริญกรุงกระทั่งถึงอู่บางกอกด๊อก พอกิจการในปีที่ 2 นั้นลากไปกระทั่งถึงถนนตกซึ่งไม่ได้เป็นที่นิยมกิจการทำอยู่จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2435 จึงได้เซ้งกิจการจากชาวเดนมาร์กรถรางจึงเปลี่ยนเป็นใช้รถไฟฟ้าผลักแทนม้าลากเริ่มใช้รถรางไฟฟ้า ปีพุทธศักราช 2439 ได้ให้บริการสายหลักเมืองถนนตกต่อมาบริษัทรถไฟสยามจึงซื้อกิจการรางไปดำเนินเองและขยายออกไปยังอีกหลายเส้นทางมีทั้งวิ่งระยะไกลและระยะใกล้เส้นทางในการเดินสายของรถรางคันแรกจะออกรับผู้โดยสารประมาณ 5:30 นและรถรางรางาสุดท้ายมีระยะเวลาให้บริการ 23:30 นโดยรถรางมี 2 สีได้แก่สายสีเหลืองและสายสีแดงต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเปลี่ยนเป็นรถรางคันสีเหลือง
สายของรถรางจะเริ่มจากสายบางซื่อ>บางกระบือ>โรงเรียนราชินีบน>สามแยกเขียวไข่กาไปบรรจบกับถนนสามเสน>สี่แยกเกียกกาย>กรมช่างแสงทหารบก>สะพานแดงเตาปูนจนถึงสถานีรถไฟบางซื่อ
สายสามเสนเขียวไข่กา>บางกระบือ>(ท่าเรือแดงแม่น้ำมอเตอร์บูท)>ถนนสามเสนฝั่งตะวันตก>บางลำพูค>คลองหลอดถนนราชินีหลังกระทรวงกลาโหม>สะพานช้างโรงสี>ถนนพาหุรัดสะพานหัน>ถนนมหาชัย>ถนนเยาวราช>หัวลำโพงพระราม 4 >สะพานเหลืองสามย่านศาลาแดง>ปลายทางคือถนนวิทยุตัดกับสาทร
ติดตามเรื่องราวของรถรางต่อในตอนที่2
โฆษณา