Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SaraUpdate
•
ติดตาม
10 เม.ย. 2020 เวลา 14:35 • ความคิดเห็น
"พลาสม่า" ความหวังใหม่ของผู้ป่วย Covid-19
พลาสม่าถือเป็นอาวุธลับที่ช่วยเหลือผู้ป่วยและช่วยในการสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยCovid-19
ล่าสุด.. นักวิจัยหลายๆแห่ง รวมถึงประเทศไทยกำลังเริ่มทดลองวิธีการถ่ายพลาสมาจากเลือดของผู้ป่วย Covid-19 ที่หายขาดดีแล้ว
วิธีการนี้เรียกว่า เทคนิคการบำบัดด้วยพลาสม่า โดยใช้พลาสม่าจากผู้ป่วยที่หายจาก Covid-19 ซึ่งมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าในขณะนี้ แพทย์จะไม่ทราบแน่ชัดว่าส่วนผสมใดในเลือดของผู้ป่วยที่ฟื้นตัวแล้วที่มีส่วนช่วย
การใช้พลาสม่าในการรักษา จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร
ในปี พ.ศ. 2434 มีการใช้พลาสม่าเพื่อรักษา
"โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว" โดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน Emil von Behring ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาชีวการแพทย์
มีบันทึกการรักษาด้วยวิธีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ในปี 2461-2462 แม้ว่านักวิจัยจะไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามันมีประโยชน์อย่างไรในช่วงวิกฤตสุขภาพโลกหนนั้น
ในอดีตการเก็บพลาสมาจำนวนมากจากผู้ป่วยที่หมดเชื้อแล้ว ทำได้ยากลำยากมาก
ทำให้แพทย์ไม่สามารถนำมาส่งเสริมประสิทธิภาพของการรักษาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการขาดแคลนการถ่ายเลือดจากอาสาสมัคร
แต่ในปัจจุบัน การประยุกต์ใช้ภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟได้เปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าด้านเวชศาสตร์โมเลกุลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างมาก
ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุลักษณะและเพิ่มขนาดของการผลิตได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นองค์ประกอบในการปกป้องร่างกายของผู้ติดเชื้อ
📷 anadolu agency
พลาสม่าช่วยในการตั้งรับของ"ระบบภูมิคุ้มกัน"
ระบบภูมิคุ้มกันของคนที่มี Covid-19 เมื่อฟื้นตัวจากโรค หมายความว่าร่างกายค้นพบวิธีที่จะต่อสู้และเอาชนะ Covid-19
แอนติบอดีของร่างกายที่ต่อต้านและเอาชนะไวรัส เป็นปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่ง
แอนติบอดี้เหล่านี้เป็นโปรตีนที่ถูกหลั่งโดยเซลล์ภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าลิมโฟไซต์ (B) หรือเซลล์ B เมื่อพวกกมันพบกับผู้บุกรุก ในกรณีนี้หมายถึงเชื้อCovid-19
แอนติบอดีจะรับรู้และผูกกับโปรตีนบนพื้นผิวของอนุภาคไวรัส และระบบภูมิคุ้มกันจะออกแบบแอนติบอดีจำเพาะที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ
ตัวอย่างเช่น เชื้อไวรัสจะถูกปกคลุมไปด้วยโปรตีนหนามที่ใช้เป็นกุญแจในการเปิดประตูสู่เซลล์เพื่อการติดเชื้อ
โดยการกำหนดเป้าหมายโปรตีนเหล่านี้แอนติบอดี จะช่วยยับยั้งไวรัสที่จะเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์เรียกแอนติบอดีชนิดนี้ว่า "Nab" มันจะทำหน้าที่ปิดกั้นการทำงานของไวรัสก่อนที่ไวรัสจะหาทางเข้าสู่เซลล์
เป้าหมายหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญวัคซีนคือการหาวิธีส่งเสริมการผลิตแอนติบอดีที่เฉพาะเจาะจง เมื่อติดเชื้อเป็นครั้งแรก
เซลล์ B จะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต Nab พวกมันจะสามารถจดจำรูปร่างของผู้บุกรุกซึ่งคือไวรัสได้ และเมื่อค้นพบผู้บุกรุกอีกครั้ง
เซลล์ B ดำเนินการทันทีโดยการปล่อย NAb ที่แข็งแกร่งจำนวนมากอย่างรวดเร็วทำให้ร่างกายไม่สามารถป่วยเป็นครั้งที่สองได้
ในวัคซีนที่จะผลิตขึ้นมาในอนาคต จะใช้กลไกนี้ในการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์
จากนั้นอาศัย "ความทรงจำ" ของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อโรคหากสัมผัสมันเข้า
ภูมิคุ้มกันแบบ"พาสซีฟ" เป็นกระบวนการของการใช้แอนติบอดีเพื่อต่อต้านไวรัสจากบุคคลหนึ่งเพื่อปกป้องหรือรักษาบุคคลอื่น
ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันดีของกระบวนการนี้ในธรรมชาติ ก็คือแอนติบอดีในร่างกายที่ถูกส่งผ่านจากแม่สู่ลูกในระหว่างการให้นมค่ะ
...
อันนี้คงทำให้พอนึกภาพออกนะคะ
ผู้ป่วย Covid-19 บริจาคพลาสมาในมณฑลซานตงประเทศจีน รูปถ่าย: AFP
ตัวอย่างการรักษาด้วยวิธีการใช้พลาสม่า
ตัวอย่างจากไวรัสอีโบลา
นอกเหนือจากหน้าที่ในการปิดกั้นเชื้อโรคแล้วแอนติบอดี้ยังมีประโยชน์ในการรักษาการติดเชื้อไวรัส
สิ่งที่ยากของวิธีการนี้คือ การควบคุมประสิทธิภาพของแอนติบอดี เนื่องจากการแยกแอนติบอดีให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพในการรักษา ต้องใช้เป็นจำนวนมาก
แต่..
วิทยาการที่ก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่ลงลึดถึงระดับระดับโมเลกุล นักวิจัยจึงสามารถขยายขนาดการแยกแอนติบอดีได้
ถ้าจำกันได้ในช่วงปี 2557-2558 มีการแพร่ระบาดของ "ไวรัสอีโบลา" ในแอฟริกาตะวันตก ต่อเนื่องกันนานกว่าหนึ่งปี มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 11,000 คน ผู้ป่วย 40% เสียชีวิตและไม่ได้รับการรักษาหรือวัคซีน
ในช่วงนั้น มียาที่พัฒนาจึ้นมาเรียกว่ายา ZMapp ซึ่งเป็นส่วนผสมของ 3 NAb ที่สังเคราะห์ขึ้น
และให้ผลลัพธ์เบื้องต้นที่ดีในการปรับปรุงสภาพของผู้ติดเชื้อไวรัส EBOV ที่ทำให้เกิดอีโบลา
เมื่ออีโบลาเกิดขึ้นอีกครั้ง ที่ DRC คองโก แพทย์ได้ทำการทดสอบแอนติบอดีที่ต่างกันสามชนิดในเดือนพฤศจิกายน 2561
เก้าเดือนต่อมา พวกเขาเสร็จสิ้นการทดสอบและใช้แอนติบอดีผสมในการรักษาโรค แม้ว่า ZMapp จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ผลการทดสอบช่วยระบุการรักษาด้วยแอนติบอดีอีกสองตัวที่ช่วยระงับอาการในผู้ป่วยอีโบลา
กลับมาที่ Covid-19
ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 เมษายน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในเซินเจิ้นประเทศจีน ได้แสดงความก้าวหน้าเรื่องการใช้พลาสม่าในการรักษา
โดยใช้พลาสมาที่มีแอนติบอดีจากผู้ป่วยที่ฟื้นตัวจากการติดเชื้อ Covid-19 ช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
...
** (เพจ)
จริงๆเรื่องนี้มีบทวิจัยที่ละเอียด เพจยอมรับว่า ไม่สันทัดเรื่องรายละเอียดข้อมูลทางการแพทย์ จึงขอเรียนรับใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ไว้นะคะ
📌 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาในช่วงปลายเดือนมีนาคมองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุญาตให้ใช้พลาสมาเพื่อรักษาผู้ป่วยวิกฤติในประเทศ ตามคำร้องขอของแพทย์
เพจย้ำว่า ยังเป็นการอนุญาตแบบเฉพาะราย ไม่ได้ใช้กันในวงกว้าง
โรงพยาบาลเมาท์ไซนายในนิวยอร์ก ได้ทำงานร่วมกับ FDA และโรงพยาบาลอื่น ๆ อีกหลายแห่ง เพื่อเริ่มการทดลองทางคลินิกว่า การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันแบบแฝงนี้ เป็นไปได้หรือไม่
การบริจาคหนึ่งครั้งสามารถสร้างพลาสมาได้เกือบสี่ยูนิตและอาจช่วยได้มากถึงสี่คน อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบว่าเป็นการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับ COVID-19 แค่ไหน?
วิธีการคือ เมื่อบริจาคพลาสม่า เลือดของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้วจะถูกดึงและส่งผ่านไปยังเครื่องพิเศษเพื่อสกัดพลาสท่าที่มึลักษณะเป็นซีรัมสีเหลือง
จากนั้นผู้บริจาคก็จะได้เซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดกลับมาในกระบวนการที่ใช้เวลานานกว่าการบริจาคเลือดเล็กน้อย
ซึ่งตามตามทฤษฎีแล้วผู้รับพลาสม่าจะสามารถแบ่งปันภูมิคุ้มกันของผู้บริจาคได้
ข้อเสียของวิธีการนี้คือ ปริมาณพลาสมาที่ถูกแยกจากผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการฟื้นฟู จะมีปริมาณไม่มากพอสำหรับการใช้ในวงกว้าง
บริษัท หลายแห่งจึงกำลังทำงานอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการใช้งานในวงกว้าง
การถ่ายพลาสม่า
ถือเป็นความลับหนึ่งในวิธีที่เร่งด่วนและได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อการรักษาผู้ติดเชื้อ Covid-19
...
จนกว่าโลกจะมีการคิดค้นวัคซีนสำเร็จ ซึ่งอาจใช้เวลาอย่างน้อย "ในอีก 1 ปีข้างหน้า"
📌 สำหรับประเทศไทย
ผู้ป่วยที่หายดีแล้ว สามารถแจ้งความประสงค์การบริจาคได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600-99 (วันและเวลาราชการ)
...
ได้เวลาช่วยชาตินะคะ รายละเอียดตามรูปค่ะ
📷 สภากาชาดไทย
แหล่งข้อมูลและการศึกษาเพิ่มเติม
https://www.pnas.org/content/early/2020/04/02/2004168117
https://www.aljazeera.com/news/2020/04/covid-19-conducts-trials-plasma-transfusions-200406160835761.html
https://www.technologyreview.com/2020/04/08/998700/blood-plasma-taken-from-covid-19-survivors-might-help-patients-fight-it-off/
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Emil_von_Behring
https://www.fda.gov/vaccines-blood-biologics/investigational-new-drug-ind-or-device-exemption-ide-process-cber/recommendations-investigational-covid-19-convalescent-plasma
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
12 บันทึก
109
25
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รวมบทความ Covid-19
12
109
25
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย