10 เม.ย. 2020 เวลา 15:33 • สุขภาพ
เปิดตัวฉลามหัวฆ้อน P-180 แห่งกองทัพอากาศไทยสู้ COVID19 : Piaggio P.180 Avanti II Evo
The Analyzyt ขอนำเรื่องอากาศยานมาต่อเนื่อง เป็นเครื่องบินอีกรุ่นที่น่าสนใจในสมรรถนะในการสนับสนุนช่วยเหลือในสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID19 โดยกองทัพอากาศ ได้เปิดตัวจัดเครื่องบินตรวจการณ์และลำเลียงแบบที่ ๒๐ (บ.ตล.๒๐) หรือ P-180 สนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ในการบินรับ-ส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งโพรงจมูกของบุคคลกลุ่มเสี่ยงในตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อนำมาตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ณ ห้องปฏิบัติการในกรุงเทพมหานคร
ภารกิจนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก พื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มพบผู้ป่วย COVID-19 สูงขึ้นเรื่อยๆ และทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงของตำบลป่าตอง ทางสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้เร่งค้นหาผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์จากบริษัทเอกชน ในการเก็บสารคัดหลั่งโพรงจมูกเพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ COVID-19 ได้วันละประมาณ ๕๐๐ คน หลังจากนั้นต้องนำตัวอย่างสารคัดหลั่งดังกล่าว ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการในกรุงเทพมหานคร โดยจะทราบผลการตรวจในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในขณะนี้ที่ทำให้การคัดกรองเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ที่จะหยุดการแพร่ระบาดของโรค
จึงต้องเป็นหน้าที่อากาศยานที่เหมาะกับภารกิจนี้ที่สุดเพราะลำไม่ใหญ่มากนัก คล่องตัว
มาทำความรู้จักกับเครื่องบินที่มีหน้าตาเหมือนฉลามหัวค้อน ปลาดุกอุย หรือบางคนก็มองเป็นหมึกตัวอ้วน ๆ ยัดใส้หมู นั่นคือเจ้า Piaggio P.180 Avanti II Evo ซึ่งผลิตโดย Piaggio Aero Industries (Piaggio Aero) ประเทศอิตาลี เครื่องบินลำนี้ กองทัพอากาศ มีเพียง 1 ลำ ประจำการ ณ ฝูงบิน 604 กองบิน 6 ฐานทัพอากาศดอนเมือง กองทัพอากาศ
โดยจัดซื้อมาประจำการ เมื่อปี พ.ศ.2557 ในช่วงรอยต่อสมัยก่อน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ยังเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ และเกษียณ์อายุราชการไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยมี พล.อ.อ. สุทธิพันธุ์ กฤษณคุปต์ เป็นตัวแทนกองทัพอากาศไทยลงนามกับบริษัท Piaggio Aero Industries เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557
ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดซื้ออากาศยานลำนี้ เพื่อภารกิจการลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ/ธุรการ แนวๆ เครื่องบินทำหน้าที่สอดแนมกับแจมสัญญานข้าศึก มีอุปกรณ์ดักฟังสัญญานวิทยุข้าศึก และเพื่อทดแทนเครื่องบินลาดตระเวนของกองทัพอากาศ รุ่นเดิม ที่ใช้งานมานาน เช่น Arava (บ.ตล.7) และ Learjet 35A (บ.ตล.12) เป็นต้น
สำหรับสมรถนะของเครื่องบิน แบบ บ.ตล.20 นี้ เป็นเครื่องบินแบบ สองเครื่องยนต์ (Twin Engine) ใช้เครื่องยนต์ของ Pratt & Whitney Canada PT6A-66B turboprop, ความเร็งสูงสุด 402 นอต (740 ก.ม./ชั่วโมง) เพดานบินสุงสุด 41,000 ฟุต พิสัยบินไกล 2,800 ก.ม. (ผู้โดยสาร 4 คน)
ทำการทดลองบินครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2529(ค.ศ.1986) ผลิตออกมาแล้วประมาณ 236 เครื่อง ราคาประมาณ US$7.695 million คิดเป็นเงินไทยประมาณ 250 ล้านบาท (update วันที่ 9 เม.ย.63)
สำหรับสมรรถนะเครื่องนี้ถือว่าแรงจริง ๆ
General characteristics
• Crew: one or two pilots
• Capacity: up to nine passengers
• Cabin dimensions: 1.75 m (5 ft 9 in) high, 1.85 m (6 ft 1 in) wide, 4.45 m (14 ft 7 in) long
• Payload: 907 kg (2,000 lb)
• Length: 14.41 m (47 ft 3½ in)
• Wingspan: 14.03 m (46 ft 0½ in)
• Height: 3.97 m (13 ft 0¾ in)
• Wing area: 16 m² (172.2 ft²)
• Foreplane area: 2.19 m²[12] (23.59 ft²)
• Horizontal stabilizer area: 3.83 m² (41.27 ft²)
• Empty weight: 3,400 kg (7,500 lb)
• Useful load: 1,860 kg (4,100 lb)
• Max. takeoff weight: 5,239 kg (11,550 lb)
• Powerplant: 2 × Pratt & Whitney Canada PT6A-66 turboprop, 634 kW (850 shp) each
Performance
• Maximum speed: 737 km/h (398 kn, 458 mph)
• Cruise speed: 732 km/h (395 kn, 455 mph) cruise at 30,000 ft (9,144 m), 660 km/h (356 kn, 410 mph) economy cruise at 39,000 ft (11,887 m)
• Stall speed: 172 km/h (93 kn, 107 mph)
• Range: 2,795 km (1,509 NM, 1,737 mi) at 11,900 m (39,042 ft) IFR
• Service ceiling: 12,500 m (41,010 ft)
• Rate of climb: 15 m/s (2,953 ft/min)
• Wing loading: 327 kg/m² (67.1 lb/ft²)
• Power/mass: 0.24 kW/kg (6.79 lb/hp
• Fuel economy: 0.84 NM/Lbs @FL410 and 316 KTAS)
โฆษณา