Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มรดกโพ้นทะเล
•
ติดตาม
11 เม.ย. 2020 เวลา 13:30 • ประวัติศาสตร์
เมืองสงขลายุคแรกตั้ง
เมืองสงขลาหัวเขาแดง หรือเมืองซิงกอรา (Singora) ตั้งอยู่บนพื้นที่ของ อ. สิงหนคร ในปัจจุบัน สามารถใช้บริการแพขนานยนต์ข้ามทะเลสาบสงขลาไปได้
แพขนานยนต์ข้ามทะเลสาบสงขลา สามารถนำรถขึ้นแพข้ามฝากไปยังหัวเขาแดงได้ด้วยเวลาไม่นาน
เมืองซิงกอรา(Singora) เกิดขึ้นหลังจากการเสื่อมถอยของเมืองสะทิงพระ ก่อตั้งขึ้นโดยท่านดาโต๊ะ โมกอลล์ ชาวมุสสลิมที่ลี้ภัยจากเกาะชวา มาขึ้นท่าที่หัวเขาแดง โดยช่วงเวลาของการตั้งเมืองซิงกอรา อยู่ในราวรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยา และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็นข้าหลวงใหญ่ ปกครองเมืองสงขลา ที่หัวเขาแดง ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา
ชื่อของ ซิงกอรา หรือ สิงขรนคร สันนิษฐานว่ามีที่มาจากชัยภูมิที่ตั้งของเมืองที่เป็นภูเขา
เมืองซิงกอรา เจริญรุ่งเรืองจนกลายเป็นเมืองท่าสำคัญของภูมิภาค มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดขึ้น เมืองท่าแห่งนี้เต็มไปด้วย พ่อค้าจากนานาประเทศ
ระหว่างข้ามแพ แล้วจินตนาการเรือจำนวนมากมาย ในทะเลสาบสีครามนี้ บนฝั่งก็เต็มชปด้วยผู้คน เดินสวนกันไปมาแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า นึกภาพนี้แล้ว เมืองท่านี้คงจะครึกครื้นแน่เชียว
สุลต่านสุลัยมาน ชาห์ เจ้าเมืองซิงกอรา ผู้สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และปราการความมั่นคงอันแข็งแกร่งให้กับเมืองซิงกอรา
สุลต่านสุลัยมาน ชาห์ ขึ้นครองเมืองสงขลาต่อจากบิดา ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ต่อมาเมื่อเจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ท่านสุลัยมาน เห็นว่าไม่เป็นไปตามกฏมณเฑียรบาลของการสืบทอดราชบัลลังค์ จึงประกาศแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระจากกรุงศรีอยุธยา และสถาปนาตัวท่านเป็นสุลต่านแห่งเมืองสงขลา
ท่านได้สร้างป้อมปราการที่แข็งแรงและป้อมปืนอีกจำนวนกว่า 20 ป้อม จนทำให้เมืองซิงกอราเป็นเมืองที่มีความเเข็งแกร่งมาก ยากต่อการโจมตี
ปากน้ำเมืองสงขลา รอยต่อระหว่างทะเลสาบสงขลา และทะเลอ่าวไทย (ภาพนี้ถ่ายจากป้อมปืนหมายเลข8 บนเขาแดง อ.สิงหนคร) ฝั่งตรงข้ามนั้นคือบริเวณสวนสองทะเลทาง อ. เมืองสงขลา
เมืองซิงกอร่า ถูกโจมตีจากกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายครั้งแต่ไม่สามารถเอาชนะความแข็งแกร่งของซิงกอร่าได้
ภาพบนป้อมหมายเลข 8 ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของทะเลทั้งสองได้
แบบจำลองสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่หัวเขาแดง (บน) และภาพคูเมืองซิงกอรา (ล่าง)
ต่อมาเมื่อสิ้นท่านสุลต่านสุลัยมาน ชาห์
สุลต่านมุสตาฟา บุตรชาย ได้ขึ้นสืบอำนาจครองเมืองสงขลา ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ป้อมหมายเลข 9 ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นราบ
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี่เอง ที่เป็นจุดสิ้นสุดของแผ่นดินซิงกอรา
ซิงกอรา ได้ทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา ผนวกกับยุทธวิธีของทัพอยุธยาในครั้งนั้น ทำให้สามารถผ่านปราการอันหนาแน่นเข้าสู่เมืองได้ในที่สุด เป็นอันจบสิ้นความรุ่งเรืองของ นครซิงกอรา
เมืองซิงกอราได้กลับไปขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาดังเดิม
ภาพชุมชนหัวเขาแดงในปัจจุบัน
ด้านบุตรชายทั้งสามคน ของท่านสุลต่านสุลัยมาน ได้แยกย้ายกันไปรับราชการแผ่นดินให้กับกรุงศรีอยุธยาต่อไป
ท่านมุสตาฟา ต่อมาคือพระยาศรีวิชัยสงคราม
ท่านฮุสเซน ได้เป็นพระยาจักรี เจ้าเมืองพัทลุง
และท่านฮัสซัีน ได้เป็น พระยาราชบังสัน ในตำแหน่ง แม่ทัพเรือ
ภาพโบราณสถาน อันเป็นหลักฐานที่แสดงออกถึงความแข็งแกร่งและยิ่งใหญ่่ของเมืองซิงกอรา
จากประวัติศาสตร์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานี้ อาจนับได้ว่า เป็นยุคสมัยแรกของเมืองสงขลา ก่อนจะย้ายเมืองไปยังอีกฝากฝั่งของภูเขาลูกเดียวกัน เรียกกันว่า เมืองสงขลาแหลมสน
ตอนต่อไปเราจะไปย้อนเวลา ชมมรดกของเมืองสงขลาแห่งที่สอง... สงขลาแหลมสน..
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย