11 เม.ย. 2020 เวลา 18:03 • ประวัติศาสตร์
"มันเป็นโชคชะตาที่ครอบครัวของเราต้องพบเจอ โปรดยอมรับมันและดูแลลูก ๆ ของเรา ผมจะอยู่เคียงข้างคุณตลอดไป"
.
พลเอก ทาดามิจิ คูริบายาชิ เขียนจดหมายสั่งเสียภรรยาระหว่างเตรียมรับการบุกจากกองทัพสหรัฐบนเกาะอิโวจิมา 5 กันยายน 1944
.
พลเอก ทาดามิจิ คูริบายาชิ เติบโตในตระกูลครอบครัวซามูไรเก่าของญี่ปุ่น ทำให้ได้รับการศึกษาอย่างดี เขามีความเข้าใจสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเคยใช้ชีวิตเป็นผู้ช่วยฑูตทหารของญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกาและเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกามองเห็นพลังด้านอุตสหกรรม แรงงาน ธุรกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐที่ญี่ปุ่นไม่สามารถเทียบได้ เขารู้ว่าตัวเองต้องตายบนเกาะอิโวจิมาจึงเขียนจดหมายสั่งเสียภรรยา
.
พลเอก ทาดามิจิ คูริบายาชิเป็นนายทหารญี่ปุ่นที่มีหัวคิดก้าวหน้ามีความเข้าใจการรบในสงครามสมัย การทำสงครามนอกรูปแบบ ซึ่งแตกต่างจากนายทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในกองทัพญี่ปุ่นที่มักมีความคิดหัวโบราณ เช่น การรบแบบวิ่งเข้าใส่บันไซ การรบด้วยเรือประจัญบาน ซึ่งเป็นสิ่งล้าสมัยและสิ้นเปลืองทรัพยากรสงคราม
.
ด้วยการรบนอกรูปแบบเน้นตั้งรับยืดเวลาทำให้ทหารสหรัฐใช้เวลาเกือบ 2 เดือนกว่าจะตีเกาะเล็ก ๆ อย่างอิโวจิมาได้ ในช่วงท้ายของการรบพลเอก ทาดามิจิ คูริบายาชิพร้อมนายทหารคนสนิท 2 นาย ออกจากอุโมงไปยังสถานที่แห่งหนึ่งบริเวณภูเขาซูริบายาชิ พร้อมกับกระทำอัตนิวิบากกรมคว้านท้องและตัดศรีษะตัวเองตามธรรมเนียมซามูไรโดยนายทหารคนสนิททั้ง 2 นาย หลังจากการรบจบลงกองทัพสหรัฐได้รับชัยชนะบนเกาะอิโวชิมาแต่ทหารอเมริกาไม่สามารถหาศพของพลเอก ทาดามิจิ คูริบายาชิเจอจนกระทั่งปัจจุบัน
.
สงครามเป็นการแสดงด้านมืดของมนุษย์ที่โหดร้ายมากที่สุด ในมุมหนึ่งสงครามอาจไม่เหมือนสิ่งที่เราพบเห็นในภาพยนตร์ที่มีผู้ร้ายกับฝ่ายพระเอก สงครามมันมีแต่ความสูญเสียและทุก ๆ ฝ่ายเสียหาย สิ่งที่ควรเรียนรู้จากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ไม่ใช่ความเกลียดชังชนชาติใดชนชาติหนึ่งแต่ควรเป็นการเรียนรู้ถึงความโหดร้ายนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามขึ้นอีกครั้งไม่ว่าดินแดนประเทศไหนก็ตาม
.
เรียบเรียงโดย THE HISTORY NOW
.
ยุทธการที่อิโวจิมา (Battle of Iwo Jima) https://thehistorynow.com/battle-of-iwo-jima/
.
กดติดตาม THE HISTORY NOW รวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจทั้งด้านประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม สงคราม ประเพณี บุคคลสำคัญ เทคโนโลยี วันนี้ในอดีต เพื่อขับเคลื่อนสังคมแห่งแบ่งปันข้อมูลและการเรียนรู้ในประเทศไทย
.
กดติดตามผ่าน Website | https://www.thehistorynow.com/
กดติดตาม Like Fanpage | https://www.facebook.com/thehistorynow
กดติดตาม Follow blockdit | https://www.blockdit.com/thehistorynow
กดติดตาม Follow Twitter | www.twitter.com/TheHistoryNowth
กดติดตาม Follow Instagram | www.instagram.com/thehistorynow
โฆษณา