16 เม.ย. 2020 เวลา 05:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
ความสัมพันธ์ของห้างสรรพสินค้าใหม่กับผู้คนและบริบทของเมือง
Kaufhaus des Westens (KaDeWe) ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ในกรุงเบอร์ลินและใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปกับการรีโนเวทโดย OMA กับแนวคิดการหาทางเลือกใหม่ให้กับการค้าปลีกที่ล้าสมัยในยุคดิจิตอล
ห้างสรรพสินค้าในอดีตเป็นหนึ่งในเสาหลักของการค้าปลีกสมัยใหม่ ทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะสำหรับงานฝีมือขั้นสูง การแลกเปลี่ยนทางสังคมและการทดลองที่ท้าทายในการบริการ
นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1907 KaDeWe เป็นหนึ่งในห้างสรรพสินค้าชั้นนำของยุโรป วิวัฒนาการของมันสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเยอรมนี ตั้งแต่ต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 20 จนถึงการทำลายล้างสงครามโลกครั้งที่สอง และการเกิดใหม่ในปี 1950 เมื่อมันกลายเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูหลังสงครามของประเทศและความสำเร็จทางเศรษฐกิจ
การปรับเปลี่ยนปลายศตวรรษที่ 20 เป็นการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั่วโลกและความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติระบบดิจิตอล ทำให้ปัจจุบัน KaDeWe กลายเป็นรูปแบบของห้างสรรพสินค้าที่ล้าสมัย
จึงเกิดเป็นแนวคิดในการหาทางเลือกใหม่ให้แก่รูปแบบการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้า ที่กำหนดความสัมพันธ์ของห้างสรรพสินค้าใหม่ ทั้งกับลูกค้า สภาพแวดล้อมทางกายภาพและเมือง
การออกแบบนั้นแบ่งห้างสรรพสินค้าเป็น 4 ส่วนย่อย แต่ละอาคารที่มีคุณสมบัติทางสถาปัตยกรรมและเชิงพาณิชย์ต่างกัน มีการตอบสนองกลุ่มผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน และทำหน้าที่เป็นห้างสรรพสินค้าที่มีความอิสระต่อกัน กลายเป็นห้างสรรพสินค้าสี่แห่งภายใต้หลังคาเดียว คล้ายกับย่านเล็กๆ ของเมืองที่อยู่ภายใต้พื้นที่เดียวกัน
ทั้ง 4 ส่วนจะมีทางเข้าจากถนนเป็นของตัวเอง และมีช่องว่างตรงกลางที่ทำหน้าที่เป็นโถงขนาดใหญ่และเป็นช่อง circulation ที่แจกจ่ายคนไปในแต่ละชั้นในตัวที่จะมีความแตกต่างกันในการออกแบบที่นำเสนอประสบการณ์เชิงพื้นที่ไม่เหมือนกัน
ช่องว่างที่ทะลุทั้ง 9 ชั้นของอาคารมีขนาดที่ไม่เท่ากัน และมีความซับซ้อน ช่วยให้พื้นที่ของทุกชั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการวางผังที่เหมือนกันของพื้นที่ขายในแต่ละชั้น
ช่องว่างตรงกลางที่ต่างกันยังทำให้การกำหนดขอบเขตของพื้นที่ ระบบสัญจรภายใน การเปลี่ยนผ่านระหว่างชั้น และความสัมพันธ์ระหว่างร้านค้ากับแบรนด์อื่นๆ ต่างกันอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นสร้างพื้นที่อเนกประสงค์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย
ห้องอาหารบนดาดฟ้าภายใต้หลังคาโค้งที่มีอยู่ถูกแทนที่โดยปริมาตรของกระจกที่ขนาดกระทัดรัด ที่ช่วยขยายขอบเขตของพื้นที่ออกไป เชื่อมต่อโดยตรงกับช่องว่างภายในผ่านช่อง circulation จากทางลาดบันไดเลื่อนขั้นสุดท้าย ทำให้ผู้มาเยี่ยมชมได้เห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของกรุงเบอร์ลิน
แนวทางการรีโนเวทห้างสรรพสินค้าเก่าแก่นี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ปรับตัวเข้ากับยุคสมัย ประกอบกับการตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปแบบของการค้าปลีกที่ถูกเข้ามาแทนที่โดยระบบดิจิตอลที่ใกล้เข้ามาทุกที แต่สุดท้ายแล้วประสบการณ์เชิงพื้นที่ของสถาปัตยกรรมยังเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบที่ช่วยเพิ่มคุณค่าและแนวคิดใหม่กับห้างสรรพสินค้าเก่าอย่าง Kaufhaus des Westens ได้อย่างเหมาะสมทั้งในเชิงพาณิชย์ บริบทของเมือง และวัฒนธรรม
Because design does matter.
#designmatters
โฆษณา