Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
13 เม.ย. 2020 เวลา 05:28 • การเมือง
ประชาธิปไตยคืออะไร?
เริ่มกันที่ชื่อ ประชาธิปไตย หรือ Democracy มาจากภาษากรีซ แปลตรงตัวได้ว่าการปกครองโดยมวลชน หรือเรียกเล่น ก็คือการปกครองโดยผู้ถูกปกครอง แปลอีกรอบเป็นครั้งที่สามก็คือระบอบที่ประชาชนปกครองตัวเองนี่แหละ ยุคแรกๆ ของประชาธิปไตยเมื่อกว่าสองพันปีก่อนเป็นแบบ“ประชาธิปไตยทางตรง” เริ่มที่นครรัฐเอเธนส์ หรือ ประมาณแถว ๆ ประเทศกรีซในปัจจุบัน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
“ทางตรง" ในที่นี้หมายความว่าไม่ต้องให้ใครมาเป็นตัวแทนเรา ประชาชนทุกคนไปประชุมสภาได้เองหมด ไปโหวตกฎหมายเองเลย เสียงของเราเป็นเสียงของเราเอง หืมไม่ต้องทำมาหากินอย่างอื่นแล้ว ทั้งประเทศทุกคนมีอาชีพเป็นนักการเมืองหมดเลย แต่จะจำกัดเฉพาะผู้ชายที่มีที่ดินเป็นของตัวเอง มีเงินเท่านั้น จึงจะสามารถมีสิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนน
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่าหากเป็นการนำประชาธิปไตยมาใช้ในระบอบที่มีคนเป็นสิบล้านหรือร้อยล้าน ก็จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าการ “เลือกตั้ง” เพื่อเลือกคนไปทำงานอาชีพที่เรียกว่า“ผู้แทน” มีหน้าที่ไปออกเสียงในที่ประชุมแทนเราจะสะดวกเรียกว่าอาชีพนักการเมืองก็ไม่ว่ากัน
หลังสงครามโลกครั้งที่สองประชาธิปไตยก็ฮิตระเบิดระเบ้อไปทั่วโลก แต่ละประเทศก็ดีไซน์ระบบเป็นของตัวเองโดยลอกตามอังกฤษบ้าง ตามฝรั่งเศสบ้าง เชื่อไหมว่าปัจจุบันบนโลกใบนี้ มีเพียงแค่ 5 ประเทศเท่านั้น ที่กล้าพูดว่าตนเองไม่ใช่ประชาธิปไตย นั่นก็คือ ซาอุดิอาราเบีย โอมาน ยูเออี บรูไน และ วาติกัน นอกนั้นเค้าเคลมว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตยหมดเลย ไม่ว่าในความเป็นจริงจะทำตัวอย่างไรก็ตาม
2
เคยได้ยินเหมือนกัน ที่คนเขาพูดกันว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่ว่าทำตามเสียงส่วนใหญ่? ก็จริงเหมือนกันนะ การเลือกตั้งไม่ได้เป็นทุกอย่างของประชาธิปไตย แต่ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญและขาดไม่ได้ เหมือนคนเรา เกิดมาเป็นคนก็ต้องกินอาหาร ไม่กินก็ตาย สรุปว่าการปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของคำว่าประชาธิปไตย แต่ก็เป็นครึ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งที่ต้องมีเหมือนกัน สำคัญพอ ๆ กับการปกครองของเสียงส่วนใหญ่ นั่นก็คือ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเสียงส่วนน้อย หมายความว่า ทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ไม่ใช่ว่าเสียงส่วนใหญ่ลงคะแนนว่าให้ลากเสียงส่วนน้อยไปรมแก๊สได้ แล้วเรียกสิ่งนั้นว่าประชาธิปไตย ไม่ใช่! แบบนั้นเค้าเรียกว่าม็อบ หรือการปกครองโดยฝูงชน
ความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายยังรวมถึงการปกป้องสิทธิที่จะคิด จะพูด จะแสดงออกของทุกฝ่ายไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายชนะหรือฝ่ายแพ้โดยไม่เกี่ยงว่าคน ๆ นั้นจะเป็นเพศอะไร อายุเท่าไหร่ ผิวสีอะไร จะจน จะรวย จะโง่ จะฉลาด จบสูงหรือไม่ได้เรียนหนังสือ ทุกคนต้องได้รับการปกป้องความคิดความเชื่ออย่างเท่าเทียมกัน และต้องสามารถที่จะพูดสิ่งที่เชื่อที่คิดออกมาได้โดยที่ไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะถูกลากไปทำอะไร
ประชาธิปไตยที่แข็งแรง ก็สามารถรับประกันความเห็นของทุกคน ไม่มีการบังคับหรือบีบให้คนส่วนน้อยต้องหายไปหรือต้องคิดตามคนส่วนใหญ่ การจะทำแบบนั้นได้ก็ต้องมีรัฐธรรมนูญที่รับประกันว่าเราคิดได้พูดได้ ไม่ตาย หรือถูกจับ หรือถูกคุกคาม อันนี้เป็นอันดับแรกที่ต้องมี กฎกติกา
และต่อมาก็คือการรับประกันว่าอำนาจจะคงอยู่กับคนส่วนใหญ่ ก็ต้องผ่านการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ระหว่างอำนาจ 3 ฝ่าย สำคัญมากที่ต้องไม่ให้ 3 อำนาจนี่ไปตกอยู่กับคนคนเดียวหรือคนกลุ่มเดียว
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
อำนาจ 3 อย่างที่ว่าประกอบไปด้วยอำนาจของคนออกกฎหมาย อำนาจของคนทำหน้าที่บริหารและบังคับใช้กฎหมาย และอำนาจตุลาการหรือคนเป็นกรรมการนั่นเอง
1. คนออกกฎหมายก็คือผู้แทนของเราหรือ ส.ส. ที่ประชาชนต้องเป็นคนเลือก มาอยู่ในสภา ฝ่ายที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ก็ออกกฎหมายตามที่คนเขาเลือกเข้ามา มีฝ่ายค้านคอยตบตี คอยแฉ ไม่ให้กฎหมายผ่านง่ายๆ โดยไม่มีการตรวจสอบ
2. คนบริหารและใช้กฎหมาย ก็คือ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี สุดแท้แต่ประเทศไหนจะเรียกยังไง แต่ก็คือคนที่อยู่ในทำเนียบเป็นผู้บริหารสูงสุด ได้รับการเลือกมาจากประชาชน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ประชาชนโหวตเลือกมาโดยตรง หรือ เลือกจากหัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงสนับสนุนสูงสุด อันนี้ก็แล้วแต่การออกแบบ
3. กรรมการหรือตุลาการ ก็คือ ศาล โดยเฉพาะผู้พิพากษานั้นถ้าจะให้ดีก็ควรมีกระบวนการคัดเลือกที่เชื่อมโยงกับประชาชน ไม่ควรให้ศาลเลือกกันเอง มีหน้าที่รักษากฎหมายตามรัฐธรรมนูญให้ประชาชน กฎหมายที่ว่าต้องใช้อย่างถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นใครใหญ่โตมาจากไหนก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายทั้งหมด ไม่ใช่ว่าเลือกใช้กฎหมายบางอย่างกับคนแค่บางคน แบบนั้นเรียกว่าลิ่วล้อมาเฟีย ไม่ใช่ศาล
สุดท้ายแล้วทุกฝ่ายจำต้องแคร์ประชาชนมากที่สุด เพราะทุกฝ่ายมีสิทธิ์ตกงานได้ถ้า สมัยหน้าประชาชนไม่เลือกเข้ามาอีก
สุดท้ายนี้ก็พอจะสรุปได้คร่าวๆ ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้เฟอร์เฟ็ก มันทำให้เวิร์กจริงได้ยาก ยังมีจุดด้อยและความพังผุเลอะเทอะแตกต่างกันไปแล้วแต่การออกแบบและนิสัยประจำชาติของคนในประเทศนั้น ๆ แต่ดัชชนีความเป็นประชาธิปไตย 2018 ที่จัดอันดับโดย The Economist บอกว่า จาก 167 ประเทศทั่วโลก มีเพียงแค่ 20 ประเทศเท่านั้นที่ได้คะแนนมากพอจะนับเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยเต็มใบ ขนาดอเมริกา ยังได้แค่ที่ 25
วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีในสมัยสงครามโลกของอังกฤษ เคยพูดไว้ว่า ประชาธิปไตยถือเป็นระบอบการปกครองที่แย่สุด แต่แย่ในข้อยกเว้นที่ว่าแย่น้อยกว่าระบอบอื่นที่มีอยู่ แปลแบบง่ายๆ ก็จะได้ประมาณว่า “ถึงจะไม่ได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่มีอย่างอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว”
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ประชาธิปไตยคืออะไร?
4 บันทึก
6
1
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์ สงคราม และการปกครอง
4
6
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย