14 เม.ย. 2020 เวลา 00:51 • สุขภาพ
หมอขอเล่าขอสัมภาษณ์ : บทสัมภาษณ์เเพทย์ชาวไทย ที่ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศ อังกฤษ ถึง สถานการณ์การระบาดของ covid-19 ที่ประเทศอังกฤษ ณ ปัจจุบัน
https://news.sky.com/story/coronavirus-big-rise-in-uk-covid-19-cases-up-by-676-to-2-626-11959591
บทความนี้ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ นพ.เจตน์ รัตนจีนะ (หมอเจตน์) ซึ่งเป็นรุ่นพี่หมอที่ผมรู้จัก พี่เจตน์ เป็นอาจารย์เเพทย์ ประจำ อยู่ที่ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมรพ.จุฬาลงกรณ์ เเละ ณ ปัจจุบัน กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ ประเทศอังกฤษ
หมอขอเล่า: สวัสดีครับพี่เจตน์ ขอบคุณพี่มากนะครับที่ได้สละเวลามาให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้ ก่อนอื่นขอให้พี่เเนะนำตัวหน่อยครับผม
หมอเจตน์ : สวัสดีครับ ผม นพ.เจตน์ รัตนจีนะ อาจารย์ประจำอยู่ที่ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม รพ.จุฬาลงกรณ์
ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอกด้าน Occupational and Environmental Epidemiology ที่ รพ. Royal Brompton, National Heart and Lung Institute มหาวิทยาลัย Imperial College London สหราชอาณาจักร และตอนนี้ยังอยู่ในลอนดอน
2
หมอขอเล่า : ณ ปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดของ covid-19 ที่ประเทศอังกฤษเป็นอย่างไร รุนเเรงเเค่ไหน เเละกระทบวิถีชีวิตของพลเมืองชาวอังกฤษ อย่างไรบ้างครับ
หมอเจตน์ : สถานการณ์ การระบาดของเชื้อ covid-19 ที่ประเทศอังกฤษ เรึ่มต้นตั้งเเต่ ช่วงปลายเดือน มกราคมที่พบผู้ติดเชื้อ คนเเรก ต่อมาช่วงปลายเดือน กุมภาพันธ์ ก็พบการเเพร่จากคนในประเทศ อังกฤษ เอง (local transmission) เเละ 5 มีนาคม ก็พบผู้ป่วยชาวอังกฤษ เสียชีวิตเป็นคนเเรก
ซึ่งต่อมา สถานการณ์การระบาดในประเทศก็พัฒนา อย่างรวดเร็ว วันนี้(วันที่สัมภาษณ์วันที่ 12/04/63) ประเทศอังกฤษมีผู้ติดเชื้อ สะสม 78,991 คน เสียชีวิต 9,875 คน รัฐบาลอังกฤษระดมการตรวจหาเชื้อเกือบ 15,000 การตรวจต่อวัน
ประเทศ อังกฤษมีการ lockdown ในช่วงสัปดาห์ที่สามของ เดือนมีนาคม ปิดห้าง ปิด โรงละคร ปิดร้านเสื้อผ้า สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆของอังกฤษ ก็เงียบเหงาทันตา
หลัง lockdown ผู้คนยัง อนุญาตให้ซื้อของ อุปโภคบริโภคได้ , รับบริการทางการเเพทย์ได้ เเละยังสามารถ ไปออกกำลังกายโดยที่ไม่เป็นการรวมกลุ่มกัน นักศึกษาปิดเรียนหมด เป็นการเรียน ออนไลน์ ร้อยเปอร์เซ็นต์
การที่จะไปซื้อของ ตาม supermarket สามารถทำได้เเต่ก็ไม่สะดวกเหมือนเดิม เพราะ ตัวร้านจำกัดจำนวนคนเข้าในเเต่ละครั้ง เเละต้องทำการ ต่อคิวเว้นระยะห่างตลอดเวลา(เป็นการ social distancing)
https://www.itv.com/news/2020-03-26/coronavirus-what-are-supermarkets-doing-to-enforce-social-distancing/
ซึ่งมาตรการทั้งหมดก็กระทบต่อ วิถีชีวิตของผู้คนชาวอังกฤษอย่างมาก เพราะ ชาวอังกฤษชอบสังสรรค์กัน ในฤดูใบไม้ผลิ การแข่งขัน กีฬาที่ชาวอังกฤษชื่นชอบก็ถูกยกเลิก เช่น ฟุตบอลและเทนนิส Wimbledon ปีนี้งดเป็นครั้งแรกนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้การ ปิดห้างร้านต่างๆก็ทำให้ กระทบต่อเเรงงานจำนวนมากที่จะต้องถูกเลิกจ้าง เเละอาจจะทำให้เกิดปัญหา เศรษฐกิจในอนาคต
หมอขอเล่า : ระบบสาธารณสุขที่ประเทศอังกฤษ มีข้อจำกัดตรงไหนในการจัดการโรคระบาดในครั้งนี้ เหตุใดถึง มีการระบาดที่รุนเเรง เเละมีเปอร์เซ็นต์ผู้เสีย ชีวิตที่สูง ???
พี่เจตน์ : ก่อนอื่นพี่ขอ อธิบายระบบสาธารณสุขของ ประเทศอังกฤษ คร่าวๆก่อน ประเทศอังกฤษก็ใช้ระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานของรัฐ (ถ้าเปรียบเทียบของไทยก็คือ หลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ) เเละมีหน่วยงานที่คอยควบคุมการจัดการการรักษา ต่างๆ คือ National Health Service หรือ NHS
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Criticism_of_the_National_Health_Service_(England)
ปกติเเล้ว ที่ประเทศอังกฤษเวลาเจ็บป่วยทั่วๆไป ที่ไม่ใช่ภาวะเร่งด่วน ไม่สามารถที่จะพบเเพทย์ได้ทันที เหมือนประเทศไทยนะครับ จะต้องโทรไปนัดกับ GP clinic (คลินิคหมอทั่วไป) เเละได้นัดจึงค่อยไปตรวจ เเละทำการรักษา หรือ ส่งต่อ เเพทย์เฉพาะทางอื่นๆต่อไป
ซึ่งช่วงมีการระบาด หมอใน GP clinic ก็จะน้อยลงไปอีก เพราะ ต้องถูกดึงไปช่วยรักษา คนไข้covid-19 จึงทำให้ ประชาชนชาวอังกฤษ พบหมอได้ยากขึ้นอีก
โดยที่คนไข้ ที่อาการไม่เยอะจะได้รับการเเนะนำให้ดูอาการที่บ้านตัวเองก่อน 7 วัน
ส่วนในทางด้านสังคมชีวิตประจำวัน ของชาวอังกฤษ ก็ค่อนข้างมีลักษณะ ของการทักทายที่ใกล้ชิดกว่า ชาวเอเชีย เช่นจะมีการทักทาย โดยการ จับมือ โอบกอดกันเป็นเรื่องปกติก่อนการระบาด นอกจากนี้ ความคิดของชาวตะวันตก มักจะมองผู้คนที่ใส่หน้ากากอนามัย ว่าเป็นคนป่วย เเละ คนป่วยควรที่จะพักผ่อนอยู่บ้านไม่ควรออกมาข้างนอก ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เหมือนคนเอเชีย ทำให้ก่อนการระบาดชาวอังกฤษ ไม่มีคนใส่หน้ากากอนามัยกันเเละเป็นจุดหนึ่งที่เพิ่มการระบาดได้
นอกจากนี้ ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุ เเละผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวนมากซึ่งทำให้มีอัตราการเสียชีวิต
ที่สูง
เเละสุดท้าย พี่คิดว่าความตระหนักถึง ความร้ายเเรงของโรคระบาดในชาว อังกฤษค่อนข้างน้อยในช่วงเเรก เพราะ คนอังกฤษมั่นใจในศักยภาพทางการเเพทย์ของตัวเองมาก เเละ โรคระบาดอื่นๆ อังกฤษก็ควบคุมได้ เอาอยู่ โดยชาวอังกฤษ ส่วนใหญ่เพิ่งมาเริ่มตระหนักถึง ความน่ากลัวของ การระบาดก็ช่วง ที่ WHO ประกาศให้ covid-19 เป็น Pandemic ซึ่งก็เกิดการระบาดในประเทศอังกฤษไปเเล้ว
หมอขอเล่า : รัฐบาลที่ประเทศอังกฤษมีมาตรการในการรับมือกับ ปัญหาโรคระบาดนี้อย่างไร ??
หมอเจตน์ : ในส่วนของมาตรการเกี่ยวกับการ ควบคุมโรคของประเทศอังกฤษ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ กันอย่างมากบาง คอมเม้นท์ ถึงกับบอกว่ารัฐบาล ประเทศอังกฤษปล่อยให้ประชาชนตายกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
โดยพี่จะขอเล่าให้ฟังถึงเเนวคิดของการควบคุมโรคของที่นี่ ในตอนเเรก
วันที่ 16 มีนาคม นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
Boris Johnson ได้เเถลงการณ์ ร่วมกับที่ปรึกษาทาง สาธารณสุขของรัฐบาล Sir Patrick Vallance ถึงมาตรการในการควบคุมการระบาด
https://www.bbc.com/news/uk-51901818
ซึ่ง ณ ตอนนั้นเนื้อหาใจความก็คือ การที่จะ lockdown ทันทีเป็นเรื่องที่ จะมีผลดีในระยะสั้นจริง !! เเต่อังกฤษไม่สามารถปิด ประเทศ ปิดเมือง ไปตลอด
รัฐบาลอังกฤษจึงมองเกมส์ ยาวว่าช่วง มีนาคม เมษายน เเละพฤษภาคม จะไม่ค่อยมีผู้ป่วย โรคอื่นๆ อย่างเช่น ไข้หวัดใหญ่ซึ่งเป็น โรคประจำฤดูกาลมากนัก ดังนั้น เเต่ถ้าเป็น ช่วงสิงหาคม จนถึง ธันวาคม ก็จะมีการระบาดของ โรคประจำฤดูกาลอยู่เเล้ว เเละช่วงนั้น ผู้ป่วยจะมีอัตราการครองเตียงที่สูง
ดังนั้น ถ้า อังกฤษ เลือกที่จะ lockdown ทันที ถึงเเม้จะควบคุมการระบาดได้ในช่วงนี้(มีนา-พฤษภาคม) เเต่พอเปิด เมืองโรคก็มีโอกาสระบาดซำ้ซึ่ง ถ้า covid-19 มีการระบาดซำ้ในช่วง ที่มีโรค ระบาดตามฤดูกาลอยู่เเล้ว (เดือน สิงหา -ธันวา )ทุกอย่างจะย่ำเเย่ไปอีก
ซึ่ง ณ เเถลงตอนนั้น อังกฤษจึง ยังไม่เลือกที่จะ lockdownเเละมองว่าอาจจะมี ประชาชนบางส่วนที่มีการติดเชื้อ เเละประชาชนกลุ่มนี้จะมี ภูมิคุ้มกัน เป็นตัวช่วยที่จะควบคุมการระบาดในช่าง สิงหา-ธันวาคม ได้
ซึ่งหลังเเถลงการณ์ รัฐบาลอังกฤษก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ซึ่งก็เป็นความเข้าใจผิดในหลายประเด็นนะครับ
เเต่อย่างไรก็ดี หลังจากวันที่ 16 มีนาคม เพียงเเค่สัปดาห์เดียวจำนวนผู้ติดเชื้อในอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีบุคคลสำคัญในอังกฤษ เริ่มติดเชื้อ อาทิ เจ้าฟ้าชายชาร์ล จนทางรัฐบาลก็ได้รับ เเรงกดดันจากหลายๆทางจนต้องออกมาตรการ lockdown ในที่สุด
ส่วนมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลอังกฤษได้ออกมาเพื่อช่วยเหลือ ประชาชน อาทิเช่น
ถ่ายทอดสด Press conference ที่ Downing Street (ที่ทำการรัฐบาล) เวลา 17.00น.ทุกวัน
จัดตั้ง โรงพยาบาลสนามที่ NHS Nightingale Hospital โดยใช้เวลา 9 วัน
https://www.bbc.com/news/health-52125059
ส่วนมาตรการเยียวยาอื่นๆทาง เศรษฐกิจอื่นๆของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ก็จะมีอาทิเช่น อังกฤษจะจ่ายจ่ายเงินเดือนให้เเก่ผู้ที่ตกงานในช่วงนี้ 80 เปอร์เซ็นต์ เเละจะช่วยออกค่าเช่าบ้านหรือที่พักอาศัยอื่นๆเเก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ซึ่งมาตรการทางเศรษฐกิจ ออกมาตั้งเเต่ช่วงสัปดาห์เเรกๆของการระบาด
หมอขอเล่า : ในมุมมองของพี่ คิด ว่า covid-19 จะไปจบที่จุดไหนจะมียา,วัคซีน หรือ จะค่อยๆลดลงไปตามธรรมชาติ
หมอเจตน์ : คงจะบอกได้ยากว่าโมเดลไหนดีที่สุดในการควบคุมการระบาด เพราะ เป็นโรคระบาดใหม่ ซึ่งความรู้ขณะนี้ การที่มนุษยชาติทั่วโลกจะกลับมาใช้ชีวิต ตามปกติได้นั้นมนุษย์ทั่วโลกต้องมีภูมิคุ้มกันจาก โรคนี้ ถึงประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากร (ตามหลัก herd immunity)
ซึ่งการที่จะประชาชน จะมีภูมิคุ้มกันโรค ได้นั้นก็อาจจะมาจาก หายจากการติดเชื้อ หรือ จากวัคซีน
อย่างไรก็ดีทางอังกฤษก็มีความคืบหน้าเรื่อง จะทดลองวัคซีนในมนุษย์ นำโดยทีมจาก มหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งก็กำลังหาอาสาสมัครในทำ clinical trail อยู่ ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาอะไร วัคซีนนี้น่าจะออกมาสำเร็จภายใน 1 ปี
https://oxfordbrc.nihr.ac.uk/oxford-covid-19-vaccine-programme-opens-for-clinical-trial-recruitment/
หมอขอเล่า : พี่คิดว่าการระบาดของ covid-19 จะเปลี่ยนระบบสาธารณสุขของโลกนี้ไปมากเเค่ไหน อย่างไร ???
หมอเจตน์ : พี่ขอเเบ่งการเปลี่ยนเเปลงเป็นสองระดับนะครับ
คือ ระดับภาพรวม เเละ ตัวบุคคล
ในระดับภาพรวมในทางสาธารณสุข โลกจะมีการร่วมมือกันมากขึ้น เเละ จะเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อาทิเช่น เรื่องการใส่หน้ากากอนามัย , การพัฒนายาเเละวัคซีน รวมถึงเเนวทาง
การดูเเลเเละรักษาผู้ป่วย
ซึ่งในเรื่องการคิดค้นวัคซีน เเละการค้นหาวิธีการรักษาต่างๆก็เป็นเรื่องที่ ถ้ามีการเเชร์ข้อมูลทางการเเพทย์ต่างๆร่วมกัน การคิดค้นจะรวดเร็วขึ้นเเละมีประสิทธิภาพขึ้น
ส่วนในด้านบุคคล พี่เชื่อว่าหลังจากจบการระบาด ผู้คนก็จะตื่นตัวมากขึ้นในเรื่อง การดูเเลสุขภาพเเละสุขอนามัย เเละ หลายๆการปฎิบัติตัวที่เปลี่ยนเเปลงในช่วงการระบาด ก็อาจจะเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวไปตลอด อาทิเช่น ผู้คนเเถวที่พักพี่ ในกรุงลอนดอนจากเดิมไม่มีใครใส่หน้ากากอนามัยเลย ตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นใส่หน้ากากอนามัยกันมากขึ้นพอสมควร
หมอขอเล่า : สุดท้ายขอให้พี่เจตน์ ฝากอะไรถึงผู้อ่านบทความนี้หน่อยครับ
หมอเจตน์ : ส่วนตัวคิดว่า การระบาดครั้งนี้ยังคงมีการระบาดไปอีกพักใหญ่เเละคงไม่จบง่ายๆ เเม้ว่าหลายๆ ประเทศจะควบคุมการระบาดได้เเล้ว รวมถึง ประเทศไทยก็ดูสถานการณ์ดีขึ้น เเต่ยังมีหลายๆประเทศในโลก ยังมีการระบาดอยู่ เราก็ยังวางใจไม่ได้ มีโอกาสเกิดการระบาดซำ้รอบสองได้เสมอ อย่าให้เป็นลักษณะ '' ชนะศึก เเต่สุดท้ายเเพ้สงคราม''
ซึ่งการที่จะชนะสงครามไวรัส ในครั้งนี้ ทุกคนก็คือ ทหารที่ร่วมศึกนี้ ทุกคนต้องช่วยกัน ปฎิบัติตัว ตาม social distance กันอย่างเคร่งครัด โดยที่วันที่เราชนะ ''สงครามไวรัสในครั้งนี้''
คือ เมื่อเราควบคุมการระบาดได้ทั้งโลก ไม่ใช่เเค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ขอฝากไว้นะครับ อย่าเพิ่งประมาทกับสถานการณ์นะครับ
จบไปเเล้วกับอีกบทสัมภาษณ์ที่เต็มไปด้วย คุณภาพเเละความรู้ จาก ผู้ที่มีความรู้ทางการเเพทย์ เเละ อยู่ในสถานการณ์จริงที่ ประเทศ อังกฤษนะครับ
เเละอีกอย่างนึงที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ พี่ เจตน์ คือ เรื่องเรายังไม่ควรประมาทนะครับ เเม้ว่าประเทศไทยเเนวโน้ม สถานการณ์จะดีขึ้น เพราะ ถ้าเราประมาทไม่ระวังตัวเมื่อไร ก็จะมีโอกาสที่ไวรัสชนิดนี้จะระบาดซำ้ได้ การปฎิบัติตัวตาม หลัก social distance ก็เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่ทุกคนควรปฎิบัติตามนะครับ !!!!
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870797
โฆษณา