Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Ergosphere
•
ติดตาม
21 เม.ย. 2020 เวลา 11:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Meme : มีม ยีนวัฒนธรรมอมตะสะเทือนโลก
ในวิชาชีววิทยา (ที่หลายคนอาจหลับกัน) เรารู้กันว่ายีนเป็นหน่วยย่อยของพันธุกรรม อันเป็นดังพิมพ์เขียวของชีวิต
แต่ทว่า หลายคนคงไม่รู้ว่า วัฒนธรรมเองนั้น ตั้งแต่ศาสนา ภาษา แนวคิด ความเชื่อ ยันไปถึงอนิเมะ การ์ตูน นิยาย หรือความรู้เอง ก็มี “ยีน” ของมัน
และยีนนั้น มีชื่อเรียกว่า “มีม” (ไม่ใช่มีมแบบ Nyan Cat นะ! นั้นเรียก Internet Meme! แต่ว่ามันก็อาจเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของมีมเช่นกัน)
มีม (Meme) เป็นคำที่ถูกคิดขึ้นโดย Richard Dawkins ในค.ศ. 1976 ในหนังสือ The Selfish Gene ของเขา โดยมีมนั้นเป็นคำนิยามของตัวจำลองรูปแบบตัวเอง (Replicator) ทางวัฒนธรรม เป็นหน่วยย่อยแห่งวัฒนธรรมเหมือนที่ยีนเป็นหน่วยย่อยแห่งพันธุกรรม
และเช่นกันกับยีน (ซึ่งก็เป็น Replicator อีกแบบหนึ่ง) ที่สามารถจำลองตัวเองและส่งจากพ่อแม่สู่ลูกหลานได้ผ่านการสืบพันธุ์ มีมเองก็สามารถจำลองตัวเองและส่งผ่านจากคนสู่คนได้ผ่านการสื่อสาร สั่งสอน และเล่าสู่กันฟัง
แต่ขณะที่ยีนพึ่งพาการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งช้าทั้งในการส่งต่อ และการแก้ไขข้อมูล มีมกลับสามารถสามารถส่งต่อไปยังคนอื่นได้ด้วยความเร็วสูง (ผมขาว vs “มีมแมว” อะไรจะแพร่ไปทั้งโลกไวกว่ากัน) แถมยังแก้ไขได้เร็วและค่อนข้างแม่นยำกว่ายีนที่ต้องพึ่งพาทั้งการกลายพันธุ์และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (ระหว่างสีตากับอนิเมะแนวต่างโลก อะไรใช้เวลาในการแก้เร็วกว่ากัน?)
ริชาร์ด ดอร์กินเชื่อว่า ทั้งยีนและมีม ต่างก็พยายามเพิ่มโอกาสการอยู่รอดของมันโดยการเพิ่มโอกาสที่มันจะถูกส่งต่อ กรณีของยีนก็คือการเพิ่มโอกาสที่สิ่งมีชีวิตจะมีโอกาสผสมพันธุ์และการที่ในแง่รวมแล้ว ยีนของมันจะถูกส่งไป แม้จะผ่านญาติก็ตาม (นี่เป็นที่มาของการเสียสละของพ่อแม่ หรือการเกี่ยวพาราสี) และบางครั้ง ยีนก็เพิ่มโอกาสนี้โดยจัดการกับยีนคู่แข่ง (ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น “เห็นไอ้ตัวนี้ ฆ่ามันทิ้งเลย” เป็นต้น)
แต่สำหรับมีม การเพิ่มโอกาสรอดของมันก็คือการเพิ่มโอกาสที่มนุษย์จะเผยแพร่มัน ทุ่มเวลาและทรัพยากรในการคิดและส่งทอดมันไปยังคนอื่นๆ หรือบางครั้งก็ด้วยการกำจัดบุคคล/มีมที่เป็นอันตรายต่อมีมนั้น ๆ
อาจฟังดูหดหู่ที่มีมและยีนเหมือนว่าจะเป็นตัวกำหนดตัวตนของเราทั้งกายและความคิด แต่ว่า…
...ริชาร์ด ดอร์กินก็ได้เสนอไว้ว่า เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญา มีจิตสำนึกที่สามารถ รับรู้ ทรยศและปฎิเสธต่อพลังอำนาจของยีนและมีมได้
และด้วยความสามารถเดียวกันนี้ของพวกเรานั้น ทำให้เราสามารถสร้าง “มีม” (และในไม่ช้า ยีน) ด้วยอำนาจของเราเองได้
และต่างจากร่างกายเรา ชื่อเสียง หรือรูปแบบยีนในตัวคุณ มีมจะคงอยู่นานแสนนานหลังจากท่านตายไปแล้ว ตรามที่ยังมีคนจำได้
“เหมือนอย่างที่ จี. ซี. วิลเลียมส์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า โสเครตีสอาจจะไม่หลงเหลือยีนอยู่ในโลกปัจจุบันนี้เลยแม้แต่ยีนเดียวหรือ 2 ยีน แต่ใครละจะสนใจ? กลุ่มซับซ้อนของมีมของโสเครตีส ของลีโอนาร์โด โคเปอร์นิคัส และมาร์โกนีจะยังคงส่งอิทธิพลต่อโลกอีกนานแสนนาน” - ริชาร์ด ดอร์กิน ใน หนังสือ The Selfish Gene
อ้างอิงจาก: The Selfish Gene ยีนเห็นแก่ตัว (Richard Dawkins เขียน แปลโดยสนพ มติชน)
เรียบเรียงโดย : bbsaver
#STORY
1 บันทึก
3
1
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย