13 เม.ย. 2020 เวลา 09:58 • การศึกษา
Designing for the future 5 (LLTd V)
การอบรบปฎิบัติการ
ระหว่างวันที่ 6-9 มิถุนายน 2562
ณ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ไม่รู้ว่า มีใครเคยได้ยินโครงการนี้ไหม?
โครงการนี้ จัดมาเป็นครั้งที่ 5 แล้ว
แสดงให้เห็นว่า มันเป็นโครงการที่ไม่ธรรมดาแน่นอน…
จากความรู้สึกของตนเอง ซึ่งเป็นรุ่นที่ 5 นี้ ขอบอกเลยว่า “ต้องเข้าร่วมให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต”
เราต้องบอกก่อนว่า มันไม่ใช่โครงการเปิดที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ มีเงื่อนไขการสมัคร
โครงการนี้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้รับการคัดเลือกจากใบสมัคร ที่มีคำถามตอบประมาณ 4-5 ข้อ ซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและประเด็นสังคม ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของค่ายจะคัดเลือกผู้สมัครประมาณ 25-30 คนเท่านั้น
มันเป็นโครงการประมาณไหนนะ วิชาการ สนุกสนาน แบบไหน?
โครงการ Designing for the future 5 นักออกแบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม สำหรับเยาวชน นักกิจกรรมและผู้สนใจระดับต้น
ใช้กระบวนการเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์เป็นกระบวนการที่ประยุกต์ มาจากทฤษฎีการศึกษาของ เปาโล แฟร์ พัฒนามาเป็นกระบวนการที่มุ่งความเข้าใจ เจตคติ และทักษะของผู้เข้าร่วม
ร่วมกับแนวคิดและทฤษฎีของจอห์น พอล เลคเดอเรคในการสร้างสรรค์จินตนภาพเพื่อลดเหตุปัจจัยที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง
เมื่อผนวกกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและแนวทางสันติวิธี รวมทั้งกระบวนการต่างๆ จนเกิดการผสมผสานความรู้ และทักษะในด้านต่างๆ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ
โดยมีความเชื่อว่า “ทุกคนสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้”
มารู้ถึงที่มาและความสำคัญของโครงการนี้กัน!
แนวโน้มของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st century skills) เน้นทักษะชีวต (Life skills) ที่ต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป็นการเรียนรู้โดยการปฎิบัติ (Learning by doing)
ซึ่งเน้นทักษะ 4C ได้แก่
1.ทักษะในการสื่อสาร (Communication)
2.ทักษะแห่งความร่วมมือ (Collaboration)
3.ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
4.การคิดวิเคราะห์และเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา (Critical thinking)
ด้วยแนวโน้มดังกล่าวนี้ จึงเป็นที่มาของ การปรับกระบวนการถ่ายทอดความรู้ สู่การเป็นกระบวนกร (Training of Trainer) เพื่อนำไปสู่ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Tranformative Learning) ร่วมกับการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้และเอื้อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ทำหน้าที่เป็น กระบวนกร (Facilitator)
ซึ่งมีความสำคัญที่จะให้กำลังใจและกระตุ้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านประสบการณ์และมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มิใช่การเรียนรู้ที่เป็น “ฝ่ายรับ” (Passive) เหมือนที่ผ่านมา
มาเข้าสู่เนื้อหาวิชาการกันเลย
กระบวนการกลุ่ม
เป็นกระบวนการใช้เพื่อสร้างวิธีการสื่อสารในกลุ่มที่ประกอบด้วยผู้คนที่มีจุดยืนและความต้องการที่หลากหลาย
กระบวนการที่นิยมใช้กันในหลายวงการ มีดังนี้
การอบรม (Training)
การปรึกษา (Counseling)
การประชุม (Meeting/Conferemce)
การประชุมเชิงปฎิบัติการ (Workshop)
จิตบำบัด (Psychotherapy)
การเรียนการสอน (Teaching)
องศ์ประกอบที่สำคัญของกระบวการกลุ่ม นั่นคือ
1.กระบวนกร (Facilitator)
หมายถึง บุคคลที่วางตัวเป็นตัวกลางของเนื้อหา ใช้กระบวนการอย่างมีประสิทธิผลในการสนับสนุนให้กลุ่มสามารถตัดสินใจอย่างได้ผลและบรรลุภารกิจของกลุ่มเดียวกันให้มีความเกื้อกูล มีบรรยากาศแห่งความร่วมมือ และความเคารพที่เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
กระบวนกร มีคำที่ใช้เรียกหลากหลาย เช่น ผู้ดำเนินการการกลุ่ม/วิทยาการกระบวนการ/ คุณอำนวย/ ผู้อำนวยการประชุม เป็นต้น
2.ขั้นตอนการจัดกระบวนการกลุ่ม
มี 4 ขั้นตอน
1.ขั้นเตรียมการ (Preparation Stage)
การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่ม เช่น การพูดคุย การทำแบบสอบถาม การสังเกต
ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้เข้าร่วมที่เราจำเป็นต้องรู้ มีดังนี้
•ประเด็น/เรื่องที่กลุ่มเราต้องการหาทางออก การคาดหวังต่อการทำงานร่วมกันในครั้งนี้
•ระยะเวลา
•ผู้เข้าร่วมเป็นใคร เพศ ศาสนา ความเชื่อ และภูมิหลัง
•ความสัมพันธ์
•อำนาจและทรัพยากร
2.ขั้นออกแบบ (Design Stage)
การจัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยและพร้อมสำหรับการทำงานให้กับกลุ่ม
มี 2 แบบ ดังนี้
1.พื้นที่ทางกายภาพ (Physical Space)
กายภาพของพื้นที่มีผลต่อความรู้สึกของผู้เข้าร่วมกระบวนการกลุ่ม เช่น
1.วงกลม
2.โรงหนัง
3.กลุ่มย่อย
2.พื้นที่ทางจิตวิทยา (Psychological Space)
หัวใจของกระบวนการกลุ่ม คือ การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ หรือ อ่างของกลุ่ม (Group container)
สามารถเข้าใจง่ายๆ โดยมองจาก ทฤษฎีไข่ดาว ของ คุณคาเรน ริดดด์ (Karen Ridd)
ตามรูปภาพด้านล่างนี้
3. ขั้นดำเนินการ (Deliver and Debrief Stage)
•สร้างความคุ้นเคย
•สร้างอ่างให้กับกลุ่ม (group Coutainer) การรู้จักชื่อ การถามที่มาของสมาชิกด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง
•ข้อตกลงร่วม (Ground Rules)
•การดูแลพลวัติกลุ่ม
•อำนาจกับการทำงานกลุ่ม
•อำนาจกับก่รทำงานกลุ่ม
สตาร์ฮอว์ค แบ่งอำนาจไว้ 3 ประเภท
1.อำนาจเหนือ (Power over)
2.อำนาจร่วม (Power sharing)
3.อำนาจภายใน (Empower)
4.ขั้นสรุปบทเรียน (Discovery of New Learning Stage and Summary)การสรุปบทเรียนจะช่วยให้สมาชิกในกลุ่มสามารถติดตามสายธารของการพูดคุยแลกเปลี่ยนตั้งแต่ต้นจนถึงจุดสุดท้ายของการสรุปบทเรียนและการตัดสินใจ
ตัวอย่างวิธีการสรุปบทเรียน
•การติดฟลิบชาร์ต
•คำแนะนำ
•การอถิปราย
•ข้อตกลง
•ความคิด
•ผลโหวต
ประโยชน์ของการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
การบันทึกข้อมูลไว้ตลอดการทำงานของกลุ่ม จะช่วยให้กลุ่มสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล ซึ่งการใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจนั้น จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่ม ดังนี้
•หลุดจากความคิดเดิมๆ ที่ตนรู้สึกปลอดภัย
•ป้องกันไม่ให้กระโดดเข้าสู่การตัดสินใจที่เป็นที่นิยม โดยไม่พิจารณาทางเลือกอื่น
•ไม่คิดกระจัดกระจายหลากหลายจนเกินไป
•ไม่ถูกบีบด้วยแรงกดดันหรือเวลาที่จะต้องเลือกตัดสินใจบางอย่างที่ไม่เหมาะสม
•ไม่ต้องใช้เวลาถกเถียงกับทางเลือกหรือทางออกที่แตกต่างหลากหลายจนเกินไป
ทักษะการจัดกระบวนการกลุ่ม
“การทำหน้าที่กระบวนกรที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะในการดำเนินการประชุม การสื่อสารและการรับมือกับสถานการณ์เฉพาหน้าต่างๆที่ไม่คาดคิด”
ทักษะพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นต่อการเป็นกระบวนกร มีดังนี้
1.การฟังอย่างตั้งใจ (Active listening)
การฟังอย่างใส่ใจไม่ใช่เพียงแค่ฟังประเด็นหรือคำพูดของผู้เข้าร่วมเท่านัั้น แต่ยังหมายถึงการฟังในระดับลึกที่สามารถรับรู้ถึงแรงจูงใขจและอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย
กระบวนกรที่ดี ต้องมีการพัฒนาทักษะการฟัง 3 ระดับ
1.การฟังตนเอง (เสียงความคิด การตัดสิน การประเมิณภายใน)
2.การฟังในระดับความหมาย (ประเด็น เนื้อความ)
3.การฟังในระดับลึก (เจตนา อารมณ์ความรู้สึก ญาณทัศนะ)
เทคนิคที่ช่วยให้เราฟังในระดับที่ลึกยิ่งขึ้น ได้แก่
•การอยู่กับปัจจุบันขณะ
มีสมาธิกับบทสนทนา รู้สึกตัว รับรู้ถึงความรู้สึกทางกาย เช่น การหายใจ ความร้อน-ความเย็น ฟังแบบสบายๆโดยไม่ตัดสินไว้ก่อน ส่งผ่านความเป็นมิตรและความกรุราไปยังผู้พูดผ่านภาษากาย
•อยู่กับความเงียบได้
ทำให้บทสนทนาช้าลง เพื่อให้มีพื้นที่ของการคิดใคร่ครวญ “ลองหยุดนิ่งๆ กันสักครู่เพื่อให้เราได้คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้…”
•ทำงานกับเสียงภายใน
•ใช้เทคนิคและทักษะการฟังอย่างตั้งใจ
2.การตั้งคำถาม (Asking question)
คำถามที่ดีจะเป็นตัวเร่งปฎิกิริยาในการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ของกลุ่ม คำถามจะช่วยกระตุ้นความคิด ความอยากรู้อยากเห็น และความปราถนาจะเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
บ่อยครั้งที่เรารีบร้อนด่วนหาข้อสรุปจากความคิดที่ยังไม่ชัดเจนหรือความคิดที่ยังเป็นนามธรรม การใช้เทคนิคต่างๆของการฟังอย่างตั้งใจ เช่น การตั้งคำถาม การทวนความ การสรุปประเด็น การสะท้อน และอื่นๆ จะช่วยให้เกิดการตรวจสอบสมมุติฐานของกลุ่ม ทำให้ความคิดเรามีความชัดเจนขึ้น และทำให้เราเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น
รูปแบบการใช้คำถาม (Questioning Format)
เพื่อกระบวนการอบรมและการจัดการความขัดแย้ง รูปแบบคำถามต่อไปนี้อ้างอิงจาก หลักสูตรการอบรมของ Facilitator Network Singapore (FNS) (2008)
1.ถามข้อเท็จจริง (Fact-finding question)
เพื่อรวบรวมและประเมินข้อมูลที่ตรวจสอบได้ เช่น ใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน ใช้เพื่อรวบรวมเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน
“การอบรมนี้ใช้เวลากี่วัน มีใครเข้าร่วมบ้าง”
“ชุมชนนี้ประกอบอาชีพอะไรเป็นหลัก”
“คุณจัดการความเครียดของตนเองอย่างไร”
2. ถามความรู้สึกและความคิดเห็น (Feeling/Opinion-findings Question)
ถามเชิงภววิสัยเพื่อหาความคิดเห็น ความรู้สึก คุณค่าและความเชื่อของผู้เข้าร่วม การถามเช่นนี้จะช่วยให้เราเข้าใจทัศนคติ และมักมีคำว่า คิอ หรือ รู้สึกอย่างไรอยู่ในคำถามนี้ด้วย การถามเช่นนี้จะช่วยให้เห็นพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกัน เช่น
“คุณรู้สึกอย่างไรกับการอบรมในครั้งนี้”
“คุณคิดว่าคุณค่าที่คุณให้ความสำคัญมากที่สุดในการทำงานร่วมกันคืออะไร”
3. ถามให้อธิบายเพิ่ม (Tell-me-more Question)
จะช่วยให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากเรื่องที่ผู้เข้าร่วมพูดถึง การถามให่อธิบายเพิ่มจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้พูดให้ข้อมูลมากขึ้น เช่น
“ช่วยเล่าให้ฟังอีกหน่อยสิคะ”
“ช่วยขยายความคำว่าสามัคคีหน่อยได้ไหมคะ”
“ช่วยเจาะจงให้ชัดขึ้นได้ไหมคะ”
4. ถามให้เห็นถึงสิ่งที่ดีที่สุด/แย่ที่สุด (Best/Least Questions)
ช่วยให้เราเข้าใจโอกาสที่จะเป็นไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้เห็นทางเลือกอื่นๆ โอกาสในการคลี่คลายปัญหา เช่น
“ข้อดีของการปรับโครงสร้างองศ์กรครั้งนี้มีอะไรบ้าง”
“คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างที่คิดว่าดีที่สุดจากการอบรมครั้งนี้”
“ถ้าได้ปฎิบัติตามนโยบายใหม่ จะเกิดผลดีอะไรบ้างต่อชีวิตของคุณ”
5. ถามมุมมองของฝ่ายที่สาม (Third-party Question)
ช่วยให้รู้ความคิดโดยอ้อม ใช้ในกรณีคุยประเด็นที่อ่อนไหว เช่น
“บางคนบอกว่า การอบรมครั้งนี้ค่อนข้างใช้เวลานาน ฟังแล้วคุณคิดอย่างไร”
6. ถามเวทย์มนตร์ (Magic wand Question)
ช่วยให้เราค้นพบความต้องการที่แท้จริงผ่านพลังแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพราะคำถามแบบนี้จะช่วยปลดปล่อยพันธการและการคิดติดกรอบของผู้เข้าร่วมไปได้ชั่วคราว เช่น
“หากคุณมีเงินและเวลาอย่างเต็มที่ คุณต้องการจะปรับปรุงหลักสูตรนี้อย่างไรบ้าง”
“หากคุณเป็นนายกรัฐมนตรี คุณจะทำอย่างไรกับปัญหาชายแดนภาคใต้”
นี่เป็นสรุปความรู้ส่วนหนึ่งที่ได้จากการอบรมเชิงปฎิบัติ 3 วัน 4 คืน ซึ่งยังมีความรู้และประสบการ์ณจากการปฎิบัติจริง ลงมือทำจริง ซึ่งเราคิดว่า ถ้าโรงเรียนในประเทศไทยนำการสอนแบบนี้มาปรับเปลี่ยนบ้างๆ เด็กไทยจะต้องเก่งขึ้น ได้มีมุมมองใหม่ๆแน่นอน
ขอคอนเฟิร์มจากใจว่า เป็นค่ายที่ดีมากๆ
ได้ทั้งความรู้ ได้มิตรภาพ ได้ความสนุก ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วย : )
#Designingforthefuture5
#LLTDV
โฆษณา