13 เม.ย. 2020 เวลา 13:57 • ประวัติศาสตร์
ตามรอยมรดกเมืองสงขลา วันนี้คือเมืิงสงขลาบ่อยาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสงขลาในปัจจุบัน
หลังจากสงขลาแหลมสน ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร อีกทั้งประชากรบางส่วนได้อพยพข้ามทะเลสาบไปตั้งรกราก ที่บริเวณฝั่งบ่อยางกันมากพอสมควรแล้ว
ปีพ. ศ. 2379 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) ไปตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลบ่อยาง
พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง)
พระยาวิเชียรคีรีได้รับพระราชทานเงินเพื่อใช้ใยสร้างป้อมปราการ และกำแพงเมืองเพื่อป้องกันเมืองสงขลา มีประตูเมืองแต่ละทิศรวมแล้ว 10 ประตู และป้อมปืน 8 ป้อม
ภาพแผนผังกำแพงและป้อมปราการเมืองสงขลา (ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)
หากได้ไปเยือนเมืองสงขลาบ่อยาง จะได้ร่องรอยอดีตจากกำแพงเมืองเก่า ที่ยังคงเหลืออยู่เพียงส่วนสุดท้าย บริเวณหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
กำแพงเมืองเก่าที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน
เมืองสงขลาบ่อยางประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้วไทย จีน มุสลิม อินเดีย เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมมาโดยตลอดจวบจนปัจจุบัน
ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต และลักษณะบ้านเมืองในอดีตได้ชัดพอสมควร สามารถมองเห็นประตูเมืองและอาคารบ้านเรือนได้ชัด (ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ฝังเสาหลักเมืองสงขลา จึงพระราชทานเสาหลักเมืองซึ่งทำจากไม้ชัยพฤกษ์ให้กับ พระยาวิเชียรคีรี(เถียนเส้ง) และได้จัดให้มีการประกอบพิธีลงเสาหลักเมือง ในวันศุกร์ ที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2385 โดยภายหลังได้กำหนดให้วันที่ 10 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสงขลา
ศาลหลักเมืองสงขลา
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาในปัจจุบัน
ในกาลต่อมามีการสร้างศาลลักษณะแบบจีนคร่อมหลักเมืองไว้เป็นจำนวน 3 หลัง ซึ่งกลายเป็นสถานที่รวมความเชื่อของชาวไทยและจีนไ้ว้ด้วยกัน คืิอ พระหลักเมือง เสื้อเมืองตามคติไทย และเจ้าพ่อหลักเมือง(เสี่ย หอง เอี๋ย: ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) ตามคติจีน
ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล ปี 2439 เมืองสงขลาได้กลายเป็นที่ทำการมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งประกอบไปด้วย เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง เมืองมลายู7หัวเมือง มีพระยาวิเชียรคีรี (ชม) เป็นผู้ว่าราชการเมืองสงขลา และจัดว่าเป็นเจ้าเมืองสงขลาคนสุดท้ายที่มาจาก ตระกูล ณ สงขลา
เมืองสงขลาในอดีต
เมืองสงขลาขณะนั้นประกอบด้วย 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกลางเมือง อำเภอปลาท่า อำเภอฝ่ายเหนืือ อำเภอจะนะ และ อำเภอเทพา
เมืองสงขลาในอดีต
เมืองสงขลาบ่อยางพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพต่างๆมากมาย ทั่งประมง ค้าขาย การเกษตร รับราชการ และอื่นๆ
เมืองสงขลาในอดีต
เมืองสงขลาในอดีต
สงขลาบ่อยาง มีการตัดถนนเป็นสายต่างๆ มีสามสายหลักคือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนเก้าห้อง(ภายหลังเปลี่ยนเป็น ถนนนางงาม)
นอกจากนั้นยังมีการตั้งชื่อถนนย่อยๆเส้นต่างๆ เป็นชื่อหัวเมืองมลายูและหัวเมืองที่เคยอยู่ในการบริหารการปกครองกับเมืองสงขลา เช่น ถนนปัตตานี ถนนจะนะ ถนนรามัญ ถนนยะหริ่ง เป็นต้น
อาคารบ้านเรือนสงขลาในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน เมืองสงขลาบ่อยาง เป็นหนึ่งสถานที่สำคัญของจังหวัดสงขลา ถนนนางงามถือเป็นจุดเช็คอินที่นักท่องเที่ยวจะไม่พลาดเมื่อมาเยือนสขลา
ถนนนางงาม ประกอบไปด้วยร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะหากเป็นนักท่องเที่ยวสายของกิน ชอบลิ้มลองอาหารพื้นถิ่น
ถนนสายนี้ มีของกินหลากหลายรูปแบบให้ลิ่มลอง ทั้งอาหารพื้นเมือง ก๋วยเตี๋ยวขึ้นชื่อ อย่างก๋วยเตี๋ยวหางหมู หรือจะเป็นไอศครีม ก็มีหลายร้าน ของฝากต่างๆก็มีบนถนนเส้นนี้
หรือจะเป็นสายชื่นชมวัฒนธรรมและเสพศิลปะสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ทั้งอาคารบ้านเรือน วัด ศาบเจ้า มัสยิดเก่าแก่ ก็อยู่ในบริเวณใกล้ๆกัน นอกจากนี้ยังมี Street Art ให้ได้ตามถ่ายภาพกันเป็นภารกิจหลักของนักท่องเที่ยว
อาคารเก่าจุดเชคอินหลัก ของการถ่ายภาพ Street Art
มรดกทางสถาปัตยกรรม วิถีชีวิต และศิลปะ ที่อยู่บนแผ่นดินบ่อยาง เป็นที่ยอมรับและได้รับความสนใจจากชาวไทยและต่างประเทศ
ในแต่ละปี มีนักท่องเที่ยวจาก มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย หรือยุโรปมาเที่ยวสงขลาเป็นจำนวนมากมาย
บริเวณถนนหนองจิกซึ่งเป็นย่านเก่าแก่ในบริเวณเมืองเก่า
ท่าเทียบเรือ อยู่ไม่ไกลนักจากถนนนางงาม
วิถีชีวิตยามเย็นในปัจจุบันของชาวสงขลา
มรดกล้ำค่าที่ยังคงเหลืออยู่ให้เห็นนี้ เป็นภาพสะท้อนเรื่องราวความรุ่งเรืองในอดีต และส่งต่อผ่านกาลเวลาให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ และชื่นชม
การพัฒนาของเมืองในปัจจุบัน เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่หลายๆเมืองในประเทศไทยรวมทั้งสงขลา ได้หันกลับมามองคุณค่าของอดีต และเก็บรักษาเอาไว้ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งศึกษาเรียนรู้ที่สำคัญให้คนรุ่นใหม่
ได้ข่าวคราวมาว่าสงขลาก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่กำลังจะเสนอมรดกเหล่านี้เข้าสู่มรดกโลก ก็คงจะขอเป็นกำลังใจให้สำหรับเรื่องนี้
อย่างไรก็ตามการพัฒนาไปสุ่ระดับใดก็ตาม ต้องไม่นำไปสู่กลุ่มทุนภายนอก ชุมชนควรจะมีส่วนร่วมให้มากที่สุดและได้ประโยชน์สูงสุด....
เรื่องราวประวัติศาสตร์ฉบับย่อของสงขลาทั้งสามยุคสมัย ได้นำเสนอครบไปแล้ว หวังว่าทุกท่านคงจะได้ชื่นชมมรดกล้ำค่าของเมืองแห่งนี้กันแลเว หากมีโอกาสในภายหน้าอยากให้ได้ไปรับชมด้วยตากันครับ..
โฆษณา