14 เม.ย. 2020 เวลา 08:07 • ธุรกิจ
เซลส์ขายรถ... เอาตัวอย่างไรให้รอดหลัง Covid-19...?
อุตสาหกรรมยานยนต์ในเมืองไทย เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ทำให้ระเทศขับเคลือน ถึงแม้นว่ารถยนต์ถูกจัดให้เป็นสินค้าประเภทสิ้นเปลืองก็ตาม แต่ก็มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) สูงถึงร้อยละ 5.8%
เพราะด้วยความใหญ่ของอุตสาหกรรมจึงทำให้ มีผู้คนมากหน้าหลายตาได้เข้าและออกกับแวดวงนักขายในอุตสาหกรรมนี้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
Cr. turnto23.com
ในแวดวงนักขายรถจริงๆ แล้วนั้นมีมานานมากแล้ว แต่ถ้าจะให้กล่าวถึงช่วงยุคทองของอาชีพนี้ หลายๆ คนน่าจะคิดถึงช่วง ปี พ.ศ. 2554 - ปี 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีนโยบายคืนภาษีรถคันแรกนั่นเอง สำหรับช่วงยุคนั้นถือได้ว่าอาชีพเซลส์ขายรถ เป็นอาชีพที่กอบโกยผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ xxx,xxx บาท ต่อเดือน จึงทำให้หลายๆคนตั้งตัวได้กับอาชีพนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว
แต่ในปัจจุบันความต้องการของตลาด พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า รวมไปถึงสถานการณ์ระบาดของ Covid-19 มีความเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้อาชีพเซลส์ขายรถต้องปรับตัวตามไม่ต่างจากอาชีพค้าขาย หรือผู้ทำธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ
ดังนั้นในบทความนี้ผมกล่าวถึงวิธีการที่เซลส์ขายรถจะต้องเอาตัวรอดหลังจากสถานการณ์ Covid-19 ครับ
Cr. kindpng.com
1. พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
การสั่งซื้อของผ่านระบบออนไลน์ หรือผ่านแอพต่างๆ ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ปกติในปัจจุบัน แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่ไวรัส Covid-19 กำลังระบาด จึงทำให้หลายๆ คนจำเป็นต้องกักตัวอยู่กับบ้าน ไม่ออกเดินทางโดยไม่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงต้องกินต้องใช้อยู่ จึงเลยทำให้เกิดพฤติกรรมการช็อปออนไลน์โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นเป็น 118% บวกกับระยะเวลาการที่กักตัวที่เป็นเวลานาน ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้เองจะกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรม "ความเคยชิน" แล้วจะส่งผลต่อการซื้อในสินค้าประเภทอื่นๆ ต่อไปด้วย
ดังนั้นการปรับตัวของเซลส์ขายรถในข้อนี้คือ การเตรียมปรับเลือกช่องทาง Platform ออนไลน์ ให้มีความเข้าถึงลูกค้ามากยิ่งขึ้น และลดวิธีการออกบูท ออกโชว์รถ หรือออกแจกแผ่นพับใบปลิวโฆษณา เพราะเนื่องจากการพบปะพูดคุยของคนตามนอกสถานที่จะยังคงมีความน้อยลงอยู่
ให้ทำการเน้นโฟกัสกับฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีการเข้าถึง Internet พร้อมกับปรับวิธีการทำงาน เครื่องมือต่างๆ หรือผู้ที่เป็นพันธมิตร ให้ความสอดคล้องกันกับสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น การใช้แอพพลิเคชั่นเข้าช่วยระบบการซื้อรถ ไปจนถึงขั้นตอนการจัดสินเชื่อ และการบริการหลังการขาย เป็นต้น
Cr. cpajournal.com
2. การวางแผนการเงินที่มีความรัดกุมขึ้นของลูกค้า
จากสถานการณ์ Covid-19 ระบาด ทำให้ผู้บริโภคที่มีฐานะระดับล่าง จนถึงกลาง จะมีการวางแผนเรื่องของการเงิน และมีความเป็นห่วงความมั่นคงชีวิตมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้การพฤติกรรมการซื้อรถยนต์มีการชะลอตัว ส่งผลต่อเนื่องทำให้เซลส์ขายรถหลายๆ คน ที่เหนื่อยกับการหาลูกค้าด้วยสภาพเศรษฐกิจที่แย่อยู่แล้วต้องเหนื่อยหนักเพิ่มขึ้นไปอีก
ด้วยการคิดเรื่องของเงินที่มากขึ่นนี้เอง เซลส์ขายรถจะต้องปรับเรื่องของการนำเสนอขาย รวมถึงปรับโปรโมชั่นแคมเปญต่างๆ ให้ลูกค้าได้รับความรู้สึกมีความปลอดภัยทางการเงิน เช่น การใช้งบการขายเข้าช่วยการจ่ายค่างวด Beginning ของลูกค้า หรือจะเป็นการใช้แคมเปญใช้ก่อนผ่อนทีหลังของธนาคารที่เข้าร่วมกับแบรนด์ ในการนำเสนอให้ลูกค้า เป็นต้น... ไม่ใช่การขายด้วยการแจกส่วนลด ดอกเบี้ย ของแถม ไปเสียอย่างเดียว เพราะการทำแบบนี้มันไม่ได้ทำให้ปิดการขายได้เสมอไป
นอกเหนือจากการนำเสนอขายที่ตรงความต้องการของลูกค้าแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่นักขายควรทำ คือ "การทำ Branding" เพราะสิ่งนี้จะเป็นที่สร้างฐานลูกค้าในระยะยาว มากกว่าการเสียงบประมาณ ยิง Ad บน Facebook ด้วยโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม...
ขอบพระคุณทุกท่านมากๆ ที่อ่านกันจนถึงตรงนี้ ยังไงแล้วโอกาสหน้าผมจะนำเอาหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับตลากรถยนต์ รวมถึงข้อมูลใหม่ๆ มาเขียนเป็นอีกหัวข้อให้ทุกๆ ท่าน ได้อ่านกันนะครับ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์
บทความ "อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต" : eeco.or.th
บทความ "อัพเดท ‘พฤติกรรมคนไทย’ เปลี่ยนไปจากผลกระทบ COVID-19 กับแนวทางปรับตัว ‘7 กลุ่มธุรกิจใหญ่’ ของไทย" : marketingoops.com
โฆษณา