15 เม.ย. 2020 เวลา 01:15
“วันพระยาวัน” 15 เมษายน วันที่สามของประเพณีปี๋ใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศกหรือวันเปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่
“ตานขันข้าว”
วันนี้เช้าตรู่จะมีการทำบุญทางศาสนาและอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ เรียกว่า “ทานขันข้าว” (อ่านเสียงล้านนา “ตานขันข้าว”) พระภิกษุสามเณรเองก็ต้องตื่นแต่เช้ามากๆ เช่นเดียวกัน เพราะชาวบ้านมักนิยมมาทำบุญทานขันข้าวมากกว่าวันพระและวันศีลปกติปกติ การทานขันข้าวนี้ไม่จำกัดว่าจะต้องทานเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น ให้แก่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ หรือ บางพื้นที่มีการนับถือผีปู่ย่า ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนในพื้นที่นับถือ ก็จะนำขันข้าวนี้ไปถวายด้วยเพื่อสุมาคารวะ ปกปักษ์รักษา
อยู่ดีมีสุข เสร็จแล้วจะนำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย และถวายช่อตุงปีใหม่
การดำหัว
การรดน้ำดำหัวจะเริ่มหลังจากเสร็จพิธีวัด เพื่อขอขมา บิดามารดา ญาติพี่น้อง ผู้มีอาวุโส ผู้มีบุญคุณ หรือผู้ที่มีความเคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษหรือภาษาล้านนาเรียกว่า "ไปสุมา คราวะ" เนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้ล่วงล้ำด้วยกาย วาจา ใจ ก็ไปขอขมา และขอพรปีใหม่ สิ่งที่นำไปดำหัว ได้แก่น้ำส้มป่อย ดอกไม้ น้ำอบ ธูปเมือง และของที่จะเอาไปดำหัว เช่น เสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า เป็นต้น มีขนมอาหารที่ทำในช่วงปีใหม่ เช่น แกงฮังเล แหนม ห่อนึ่ง ขนมเทียน ข้าวแตน ผลไม้ เป็นต้น และที่ขาดไม่ได้คือ "ปัจจัย" ใส่ในซองแล้วแต่ความสมควร ซึงไม่เหมือนตรุษจีนที่ผู้หลักผู้ใหญ่แจก "อั่งเปา" แก่ลูกหลานวันนี้ถือว่าเป็นวันรวมญาติของครอบครัว ปกติต้องไปกันทุกคน หลังจากดำหัวก็จะมีการรับประทานอาหารร่วมกัน
และช่วงบ่ายจะมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ตามศรัทธาวัดต่างๆ
กิจกรรมวันนี้มีทั้งวันครับใช้เวลาตั้งแต่เช้า สาย
(เจริญ มาลาโรจน์, สัมภาษณ์, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒)
(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๕๑, หน้า ๒๙)
โฆษณา