15 เม.ย. 2020 เวลา 05:30 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ มนุษย์นีแอนเดอธัล (Homo Neanderthalensis)
สายพันธุ์มนุษย์โบราณกลุ่มสุดท้ายที่เป็นญาติใกล้ชิดกับมนุษย์เรามากที่สุด และการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์นี้ที่ยังคงเป็นปริศนารอให้โลกนี้มาไขให้กระจ่าง
มนุษย์นีแอนเดอธัลเป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์ อาศัยอยู่เมื่อประมาณ 110,000 – 35,000 ปีมาแล้ว จากการขุดค้นทางตะวันตกของทวีปยุโรป ปรากฎว่ามนุษย์พวกนี้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในส่วนนี้ของโลก เมื่อราว 75,000 ปี
คืออยู่ในระหว่างยุคน้ำแข็งที่สามและที่สี่ ณ ที่แห่งอื่น ๆ ของโลก ได้พบโครงของมนุษย์พวกนี้เหมือนกัน แต่มีจำนวนน้อยกว่าทางตะวันตกของทวีปยุโรปมาก
1
เมื่อเดือนมีนาคมปีคริสต์ศักราช 1994 กลุ่มนักสำรวจกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปสำรวจถ้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งทางเหนือของสเปนได้ใช้ไฟฉายส่องไปยังเวิ้งเล็กๆที่อยู่ด้านข้างของถ้ำและสังเกตเห็นกระดูกขากรรไกรล่างสองชิ้นของมนุษย์โผล่ขึ้นมาจากดินปนทราย
ถ้ำแห่งนั้นชื่อ เอลซีดรอน ตั้งอยู่ในป่าบนเขาสูงอันห่างไกลในแคว้นอัสตูเรียส นักสำรวจสงสัยว่ากระดูกที่พบอาจหลงเหลือมาจาก ยุคสงครามกลางเมืองสเปนในช่วงปลายทศวรรษ 1930
เมื่อพลพรรคฝ่ายสาธารณรัฐใช้ถ้ำแห่งนี้เป็นที่ซ่อนตัวจากทหารของนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก พวกเขาจึงรีบแจ้งทางการ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนของตำรวจเข้ามาตรวจสอบ พวกเขากลับพบว่ากระดูกเหล่านั้นไม่เพียงมาจากโศกนาฏกรรมที่ใหญ่กว่า แต่ยังมีอายุเก่าแก่กว่ามากอีกด้วย
3
ภายในเวลาไม่กี่วัน เจ้าหน้าที่ขุดพบกระดูกประมาณ 140 ชิ้น และผู้พิพากษาท้องถิ่นก็สั่งให้ส่งหลักฐานเหล่านั้นไปยังสถาบันนิติพยาธิวิทยาในกรุงมาดริด เมื่อนักวิทยาศาสตร์ที่นั่นตรวจวิเคราะห์เสร็จสิ้น (ใช้เวลาไปร่วมหกปี) การค้นพบครั้งนั้นก็ได้กลายเป็นคดีค้างปิดไม่ลงที่เก่าแก่ที่สุดของสเปน เพราะกระดูกจากเอลซีดรอนไม่ได้เป็นของทหารพลพรรคฝ่ายสาธารณรัฐ
1
แต่เป็นฟอสซิลของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthal) กลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่และอาจจบชีวิตลงอย่างโหดร้ายเมื่อราว 43,000 ปีก่อน เบาะแสจากสถานที่เกิดเหตุชี้ว่าพวก เขาอยู่ท่ามกลางทางแพร่งที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์
1
และเวลาเกิดเหตุก็สอดรับกับช่วงแห่งความลึกลับดำมืดที่สุดช่วงหนึ่งในวิวัฒนาการมนุษย์พอดิบพอดี มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลหรือญาติใกล้ชิดกับเราที่สุดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ครอบครองยูเรเชียเป็นเวลาเกือบ 200,000 ปี ในช่วงเวลานั้น
พวกเขาเที่ยวยื่นจมูกที่แหลมใหญ่เป็นเอกลักษณ์ไปทั่วทุกซอกทุกมุมของยุโรปและไกลออกไป มุ่งหน้าลงใต้สู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากช่องแคบยิบรอลตาร์ไปจนถึงกรีซ และอิรัก ขึ้นเหนือไปถึงรัสเซีย ทางตะวันตกก็ไปจนถึงอังกฤษ ส่วนทางตะวันออกก็ไปจนเกือบถึงมองโกเลีย นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่า แม้ในยุคที่นีแอนเดอร์ทัลรุ่งเรืองที่สุดในยุโรปตะวันตกพวกเขาก็น่าจะมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 15,000 คน
1
กระนั้นญาติใกล้ชิดของเรากลับสามารถเอาตัวรอดแม้เมื่ออากาศ อันเหน็บหนาวได้เปลี่ยนถิ่นอาศัยส่วนใหญ่ของพวกเขาให้มีสภาพไม่ต่างจากทางเหนือของสแกนดิเนเวียในปัจจุบัน นั่นคือเขตทุนดาอันแห้งแล้งและหนาวเย็น เส้นขอบฟ้าเลือนรางมีต้นไม้ชี้ๆไม่กี่ต้น และมีไลเคนพอให้กวางเรน- เดียร์ได้และเล็มอย่างสุขใจ
ครั้นพอถึงช่วงเวลาที่โศกนาฏกรรมในถ้ำเอลซีดรอนเกิดขึ้น มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลกลับตกอยู่ในสภาพดิ้นรนหนีตาย และดูเหมือนจะไปจนมุมในไอบีเรีย พื้นที่เล็กๆในยุโรปตอนกลาง และชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ เนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้ายลง และต่อมายังถูกจำกัดวงให้แคบเข้าจากการรุกคืบสู่ตะวันตกของมนุษย์ที่มีลักษณะทางกายวิภาคคล้ายมนุษย์สมัยใหม่ ซึ่งเดินทางจากแอฟริกาสู่ตะวันออกกลางและไกลออกไป ภายในอีกราวๆ 15,000 ปีนับจากนั้น
มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลก็ปลาสนาการไปตลอดกาล ทิ้งกระดูกจำนวนหนึ่งกับคำถามมากมายไว้เบื้องหลัง
พวกเขาเป็นมนุษย์ที่รู้จักเอาตัวรอดชาญฉลาดและมุ่งมั่นเหมือนเรา หรือเป็นมนุษย์ที่งุ่มง่าม เงอะงะและไม่สามารถปรับตัวได้จนต้องปิดประตูตายกันแน่เกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลานั้น หรือประมาณ 45,000 ถึง 30,000 ปีที่แล้ว เมื่อมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลต้องแบ่งปันดินแดนยูเรเชียที่พวกเขาครอบครองอยู่แก่มนุษย์สมัยใหม่ที่อพยพมาจากแอฟริกา แล้วทำไมมนุษย์เผ่าพันธุ์หนึ่งถึงอยู่รอด ขณะที่อีกเผ่าพันธุ์กลับสาบสูญไป
เช้าวันหนึ่งของเดือนกันยายนปีคริตส์ศักราช 2007 ผมยืนอยู่ที่ปากทางเข้าถ้ำเอลซีดรอนกับอันโตนีโอ โรซัส จากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติในกรุงมาดริดซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการสำรวจทางมานุษยบรรพกาลวิทยากล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมามีการขุดพบชิ้นส่วนกระดูกราว 1,500 ชิ้นจากบริเวณที่เรียกว่า กาเลเรียเดลโอซารีโอ หรือ ”อุโมงค์แห่งกระดูก” ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่พบกระดูกปริศนาเมื่อปี 1994 โดยเป็นกระดูกจากร่างของมนุษย์ นีแอนเดอร์ทัลอย่างน้อยเก้าคน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ใหญ่ห้าคน วัยรุ่นสองคนเด็กอายุราวแปดขวบหนึ่งคน และเด็กวัยหัดเดินอายุสามขวบอีกหนึ่งคน
2
โรซัสหยิบเศษกะโหลกและชิ้นส่วนจากกระดูกแขนยาวๆที่เพิ่งขุดพบขึ้นมา กระดูกทั้งสองชิ้นมีขอบหยักๆ ”กระดูกพวกนี้ถูกตัดเสียงดังกรอบๆด้วยฝีมือมนุษย์” โรซัสกล่าว
โรซัสบอกโดยเลียนเสียงตัดของเครื่องมือหิน ”นั่นแปลว่า คนที่ลงมือต้องการสมองและไขกระดูกจากกระดูกแขน” นอกจากเศษกระดูกแตกๆเหล่านี้แล้วรอยตัดของเครื่องมือหินบนกระดูกยังชี้ชัดว่าพวกเขาถูกฆ่ากินเนื้อแต่ใครเป็นคนกิน และกินด้วยเหตุผลอะไรจะเป็นเพราะความหิวโหยหรือเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมกันแน่
แต่ไม่ว่าอย่างไร ชะตากรรมต่อจากนั้นก็ทำให้ซากเหล่านี้เป็นอมตะได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะไม่นานหลังจากมนุษย์ทั้งเก้าคนเสียชีวิต อาจจะภายในไม่กี่วันจู่ๆพื้นดินใต้ร่างของพวกเขาก็พังทลาย ยังไม่ทันที่ไฮยีนาและสัตว์กินซากอื่นๆจะเข้ามาจัดการ
โครงกระดูก หินและดิน ร่วงลงสู่โพรงถ้ำหินปูนลึกลงไป 20 เมตรเบื้องล่าง ณ ที่ซึ่งมีดินโคลนและทรายเป็นเกราะป้องกัน และอุณหภูมิคงที่ของถ้ำช่วยรักษาสภาพ อีกทั้งมีกระดูกซึ่ง กลายเป็นหินทำหน้าที่คล้ายกล่องเก็บอัญมณีล้ำค่า อันได้แก่ โมเลกุลรหัสพันธุกรรมของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลให้อยู่รอดปลอดภัย รอเวลาอันยาวนานในอนาคตที่จะถูกสกัดออกมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้เราค้นหาเบาะแสว่ามนุษย์เหล่านี้ใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร
และเพราะเหตุใดพวกเขาจึงสาบสูญไป เบาะแสแรกที่ชี้ว่า มนุษย์เผ่าพันธุ์เดียวกับเราไม่ใช่มนุษย์กลุ่มแรกที่อาศัยอยู่ในยุโรปปรากฏขึ้นเมื่อ 150 ปีก่อน ย้อนหลังไปในเดือนสิงหาคม ปีคริตส์ศักราช 1856 ระหว่างที่คนงานกำลังขนหินปูนออกจากถ้ำในหุบเขานีแอนเดอร์ (Neander Alley) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองดึสเซลดอร์ฟของเยอรมนีไปทางตะวันออกราว 13 กิโลเมตร พวกเขาบังเอิญขุดพบชิ้นส่วนกะโหลกส่วนบนที่มีสันคิ้วโค้งนูนออกมา และกระดูกแขนท่อนโตๆจำนวนหนึ่ง นับตั้งแต่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก
มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลก็ตกเป็นจำเลยของอคติทางวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกว่า พวกเขาเป็นมนุษย์ถ้ำที่ไม่ฉลาดและป่าเถื่อน ขนาดและรูปร่างของกระดูกบ่งบอกลักษณะทางกายภาพที่เตี้ยล่ำเป็นมะขามข้อเดียว (เพศชายสูงเฉลี่ย 160 เซนติเมตร หนัก 84 กิโลกรัม) มีกล้ามเนื้อกำยำล่ำสัน และซี่โครง ผายกว้าง ซึ่งน่าจะมีไว้รองรับปอดขนาดใหญ่
1
สตีเฟน อี.เชอร์ชิลล์ นักมานุษยบรรพกาลวิทยาจากมหาวิทยาลัยดุ๊กคำนวณว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลต้องการพลังงานไม่ต่ำกว่าวันละ 5,000 แคลอรี จึงจะสามารถรักษามวลร่างกายขนาดนี้ในสภาพอากาศอันหนาวเย็นได้
1
กระนั้นเบื้องหลัง สันคิ้วโหนกนูน กะโหลกทรงโค้งต่ำของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลกลับบรรจุสมองที่มีปริมาตรเฉลี่ยมากกว่าสมองของมนุษย์ปัจจุบันเล็กน้อยด้วยซ้ำ และถึงแม้ เครื่องมือและอาวุธของพวกเขาจะโบราณกว่าของมนุษย์สมัยใหม่ที่รุกเข้ามาแทนที่ในยุโรป แต่ก็ไม่ได้ซับซ้อนน้อยไปกว่าอาวุธของมนุษย์สมัยใหม่ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาและตะวันออกกลางในช่วงเวลาเดียวกันเลย
ประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนและยาวนานที่สุดเรื่องหนึ่งในวิวัฒนาการมนุษย์ คือความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลกับมนุษย์รุ่นหลังในยุโรปมนุษย์สมัยใหม่ที่เริ่มอพยพออกจากแอฟริกาเมื่อราว 60,000 ปีก่อนเข้ามาแทนที่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลอย่างสิ้นเชิง หรือมีการผสมข้ามเผ่าพันธุ์กันแน่
เมื่อปี 1997 สมมติฐานข้อหลังได้รับการปฏิเสธจากนักพันธุกรรมสวันเต แพแอโบซึ่งขณะนั้นประจำการอยู่ที่มหาวิทยาลัยมิวนิก โดยอาศัยหลักฐานจากกระดูกแขนมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล
แพแอโบและทีมงานสามารถสกัดดีเอ็นเอของ ไมโทคอนเดรีย (mitochondrial NA หรือเทียบได้กับภาคผนวกทางพันธุกรรมที่แนบท้ายข้อความหลักในแต่ละเซลล์) จากตัวอย่างอายุ 40,000 ปีออกมาได้พวกเขาถอดรหัสพันธุกรรมเหล่านั้นและพบว่า ดีเอ็นเอดังกล่าว แตกต่างจากของมนุษย์ในปัจจุบัน ถึงขนาดบ่งชี้ได้ว่าสาแหรกตระกูลของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลและมนุษย์สมัยใหม่แยกจากกันเนิ่นนานก่อนที่มนุษย์สมัยใหม่จะอพยพออกจากแอฟริกาเสียอีก
ดังนั้นมนุษย์ทั้งสองเผ่าพันธุ์จึงเป็นตัวแทนของสาแหรกตระกูลมนุษย์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่มีภูมิศาสตร์และวิวัฒนาการแยกขาดจากกันอย่างชัดเจน แม้การค้นพบทางพันธุกรรมที่น่าทึ่งของแพแอโบนี้ดูเหมือนจะยืนยันว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลเป็นเผ่าพันธุ์ ที่แตกต่างออกไป แต่ก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างใดๆในปริศนาลึกลับที่ว่า ทำไมพวกเขาจึงพบกับจุดจบ
1
และเพราะเหตุใดเผ่าพันธุ์ของเราจึงอยู่รอดความเป็นไปได้ที่ชัดเจนประการหนึ่งก็คือ มนุษย์สมัยใหม่ก็แค่ฉลาดกว่า สลับซับซ้อนมากกว่า และเป็น ”มนุษย์” มากกว่า กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เองที่นัก โบราณคดีออกมาระบุถึง ”การก้าวกระโดดครั้งใหญ่” ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 40,000 ปีก่อนในยุโรป
1
เมื่อการสร้างเครื่องมือหินอันแสนยากเย็นของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่เรียกว่า มูสตีเรียน ตามชื่อแหล่งขุดค้นเลอมูสตีเยร์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ถูกแทนที่ด้วยเครื่องมืออันหลากหลายที่ทำจากหินและกระดูก เครื่องประดับร่างกาย และร่องรอยของการแสดงออกทางสัญลักษณ์ อื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการปรากฏตัวของมนุษย์สมัยใหม่ นักวิทยาศาสตร์บางคนอย่างเช่น ริชาร์ด ไคลน์ นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ยังเชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอย่างใหญ่หลวงในสมองซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางภาษา ที่ช่วยให้มนุษย์สมัยใหม่ยุคแรกๆสามารถแผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมได้ขณะที่บรรพบุรุษคิ้วยื่นต้องเป็นฝ่ายจากไป
2
เครดิตโดย : แอดฟลุ๊ค
โฆษณา