16 เม.ย. 2020 เวลา 06:49
“วันปากปี” วันที่ 16 เมษายน จัดว่าเป็นวันสำคัญของประเพณีปี๋ใหม่เมือง ถือเป็นวันแรกของปี ชาวเหนือจะทำบุญ ส่งเคราะห์ และพิธีสืบชะตาบ้าน
บูชาต้าวตั้งสี่(ท้าวทั้งสี่)
และ บูชาต้าวตั้งสี่ (ท้าวทั้งสี่หรือพรมสี่หน้า) เพื่อความสิริมงคลในวันปากปี
จะมีการขึ้นต๊าวตังสี่หรือท้าวทั้งสี่ (เทพสี่องค์อันหมายถึงท้าวจตุโลกบาลซึ่งปกครองรักษาในทิศทั้งสี่) มีลักษณะเป็นเสามีไม้ขัดกันเป็นสี่มุม แต่ละมุมจะมีใบตองที่ใส่เครื่องบูชาทั้งสี่ด้านหรือเรียกว่า ควัก ในทางภาษาล้านนา รวมทั้งที่ด้านล่างบนพื้นดินก็จะมีอีกหนึ่งอันเพื่อบูชาพระแม่ธรณี เชื่อว่าจะเกิดสิริมงคต่อบ้าน การกระทำนี้จะทำกันเป็น "โหม้ง" หรือ"ข่วง"แปลว่า ลานบริเวณบ้านปกติชาวเหนือในชนบทนิยมปลูกบ้านในที่ดินผืนเดียวกัน มีบ้านเก๊า(บ้านใหญ่ที่พ่อกับแม่อาศัยอยู่) พอลูกมีครอบครัวก็นิยมให้ปลูกบ้านอยู่ในบริเวณเดียวกัน บ้านไหนมีพื้นที่มากลูกทุกคนก็จะได้รับส่วนแบ่งที่ดินที่จะปลูกบ้านของตัวเองและครอบครัว บ้านแต่ละหลังจะไม่มีรั้วกั้น อาจจะเป็นเพราะว่าสะดวกในการไปมาหาสู่กันพ่อแม่ พี่น้องได้ดูแลช่วยเหลือกันซึ่งกันและกัน ส่ง
ผลให้ครอบครัวก็มีความรัก ความอบอุุ่น (ปัจจุบันยังมีอยู่) ส่วนผู้ที่ทำพิธี
เรียกว่า "ป้ออาจ๋าน"หรือ"มัคคทายก"นั้นเอง
แกงหม่ะหนุน (แกงขนุน)
วันปากปี ชาวล้านนาความเชื่อเรื่องการเสริมชีวิตให้ก้าวหน้า จึงนิยมกิน “แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งหม่าหนุน” กันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปี
ในตอนเย็นของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว
สำหรับประเพณีสงกรานต์ทางด้านพิธีกรรมด้านศาสนาและประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อของแต่ละท่องถิ่น ก็จะสิ้นสุดใน“วันปากปี” วันที่ 16 เมษายน หลังจากวันนี้ บางจังหวัดก็จะมีงานสงกรานต์ มีขบวนแห่ของแต่ละชุมชนในจังหวัด มีการประกวดนางสงกรานต์ ฯลฯ
เนื่องจากปีนี้ประเทศไทยถูกโจมตีด้วยโรค Covid -19 เป็นเหตุให้ต้องยกเลิกประเพณีสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ นักท่องเที่ยวทั่วโลกและของเราเองรอเวลานี้อย่างใจจดใจจ่อ ก็หวังว่าเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ ถ้ามีเรื่องราวที่น่าสนใจผมก็จะนำเสนอมาเรื่อยๆ ท้ายที่สุดนี้ ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามมาตลอดครับ
โฆษณา