16 เม.ย. 2020 เวลา 07:49 • บันเทิง
นโปเลียนโบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศส11
ข้อผิดพลาดที่สุดของพระองค์ก็คือ การตัดสินใจยกทัพใหญ่บุกรัสเซียใน ค.ศ. 1812 โดยพระองค์ไม่บัญชาการให้ถอยทัพกลับเมื่อฤดูหนาวมาถึง นั่นเท่ากับว่าพากองทัพทั้งหมดไปสู่กับ
ดักแห่งความตาย ทหารฝรั่งเศสทั้งหนาวตาย ทั้งถูกทัพรัสเซียที่ชินกับสภาพอากาศบดขยี้ เมื่อถอนทัพถอยร่นกลับ ก็ยังถูกเยอรมันโจมตีตามรายทาง กองทัพใหญ่ของพระองค์ห้าแสนนาย กลับถึง
ฝรั่งเศสเพียงหมื่นเศษเท่านั้น เป็นความพินาศหายนะที่สุดครั้งหนึ่ง
นโปเลียนโบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศส
เพราะความย่อยยับของทัพใหญ่ ทำให้ฝรั่งเศสอ่อนแอทันตาเห็น กษัตริย์ของประเทศต่างๆ ในยุโรปที่เคยเป็นพันธมิตรจึงแปรพักตร์ร่วมกับอังกฤษถล่มฝรั่งเศส ในวันที่ 31 มี.ค. ค.ศ. 1814 กรุงปารีสก็ถูกทัพพันธมิตรยึดได้ ฝรั่งเศสพ่ายสงครามโดยสิ้นเชิง เหล่านายพลของฝรั่งเศสที่เจรจาสันติกับฝ่ายพันธมิตร ขอให้จักรพรรดินโปเลียนสละราชบัลลังก์
จักรพรรดินโปเลียนทรงคาดว่า ฝ่ายพันธมิตรจะต้องลงโทษพระองค์ในฐานะอาชญากรสงคราม จับพระองค์แห่ประจานต่อหน้าประชาชนฝรั่งเศส แล้วยังชะตากรรมของพระมเหสี และพระโอรสน้อยอีกเล่า อันเป็นสิ่งที่พระองค์รับไม่ได้ จึงตัดสินพระทัย เสวยยาพิษผสมฝิ่นเพื่อปลิดชีพพระองค์เอง
หากแทนที่จะสิ้นชีพสมหวัง พระองค์กลับทรมานด้วยความปวดร้าวร่างกายและอาเจียรอย่างรุนแรงทั้งคืน การอาเจียรทำให้พิษยาออกไป พระองค์มีบัญชาให้นายแพทย์อีวองแพทย์ประจำ
พระองค์ให้ยาพิษอีกขนาน เพราะพระองค์ไม่ต้องการมีชีวิตอีกแล้ว แต่เขาปฏิเสธ การแสดงความเด็ดเดี่ยวของพระองค์ ทำให้ผู้นำฝ่ายพันธมิตรอ่อนลง เคารพในความเป็นจอมกษัตริย์ จึงลงนามสนธิสัญญาฟองแต็งโบล (ชื่อสถานที่) ไม่มีการลงโทษ ไม่ถอดพระยศ
ความเป็นจักรพรรดิของจักรพรรดินโปเลียน ที่ 1 หากเนรเทศส่งตัวไปยังเกาะเอลบา เกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ ใกล้อิตาลี และที่นั่นคือแผ่นดินของพระองค์
การปกครองที่ฝรั่งเศส เตรียมการยกจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 พระโอรสน้อยที่มีพระชนมายุเพียงสามขวบของจักรพรรดินโปเลียนขึ้นมาครองบัลลังก์เป็นเพียง ''หุ่นเชิด'' ในการบริหาร
ประเทศ แต่เพียงสองสัปดาห์เท่านั้น พระเจ้าหลุยที่ 18 เชื้อสายราชวงศ์บูร์บงเดิม เข้ามาแย่งชิงราชบัลลังก์ ไม่มีใครต้องการฆ่าเด็กทารก ดังนั้นพระโอรสน้อยผู้อาภัพจะถูกเนรเทศปล่อยตัวส่งเกาะไกลโพ้นเช่นเดียวกับพระราชบิดา
เมื่อข่าวนี้มาถึงเกาะเอลเบ จักรพรรดินโปเลียนทนไม่ไหว ทรงเป็นห่วงพระโอรสน้อยมาก เป็นแรงขับดันให้พระองค์ลอบหนีจากเกาะเอลบา จากการช่วยเหลือของทหารที่จงรักภักดี มาขึ้นชายฝั่งทางตอนใต้ของฝรั่งเศส
พระองค์กลับมาเยี่ยงวีรบุรุษเช่นเดิม ทรงเสด็จมาอย่างเปิดเผย สองข้างทางจากชายฝั่งริเวียร่าสู่ลียง มีแต่ประชาชนโห่ร้องสรรเสริญ (เส้นทางนั้นภายหลังถูกตั้งชื่อว่า เส้นทางจักรพรรดินโปเลียน ที่ 1) เมื่อทหารในรัฐบาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ยกกำลังมาจับกุม จักรพรรดินโปเลียนทรงประกาศก้องว่า... '' ทหารแห่งกองทัพที่ 5 พวกเจ้าก็รู้จักข้าดีแล้วมิใช่หรือ ข้าคือกษัตริย์ของพวกเจ้า
ถ้าใครในหมู่พวกเจ้าคิดจะจับกุมกษัตริย์ของพวกเจ้า ข้าก็ยืนอยู่นี้แล้ว'' ปรากฏว่านายพลชิเชล ไน ผู้บัญชาการกองกำลัง ถึงกับคุกเข่าให้กับกษัตริย์ของเขา
ในข้อหาทรราชย์ หลังจากการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ครั้งที่สอง นโปเลียนเดินทางถึงกรุงปารีสอย่างง่ายดาย
ช่วงเวลา"คืนสู่อำนาจเป็นเวลาร้อยวัน" เริ่มต้นขึ้น แต่ความล้มเหลวก็เกิดขึ้นซ้ำรอย กองทัพของเขาพ่ายการรบกับอังกฤษและปรัสเซียที่สมรภูมิวอเตอร์ลู ในเบลเยียม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 จอมพลกรูชีไม่สามารถต้านทานกองทัพร่วมระหว่างอังกฤษและปรัสเซียได้ เนื่องจากเป็นทัพหลวงที่ยกมา
นโปเลียนถูกลอบสังหารจริงหรือ?
นโปเลียนถูกขัง และถูกอังกฤษส่งตัวไปยังเกาะแซงต์เตเเลน ตามบัญชาการของ เซอร์ฮัดสัน โลว พร้อมกับนายทหารที่ยังจงรักภักดี
บางส่วน รวมถึงท่านเคาน์ลาส กาสด้วย นโปเลียนได้ใช้เวลาบนเกาะซังต์เตเลน อุทิศให้กับการเขียนบันทึกความทรงจำของพระองค์เอง
ให้คนรุ่นหลังได้อ่าน ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1821 พระองค์ได้ทรงเขียนพินัยกรรม และหมายเหตุพินัยกรรม
หลายฉบับด้วยพระองค์เอง รวมกว่าสี่สิบหน้าด้วยกัน คำพูดสุดท้ายของพระองค์ก่อนสิ้นใจได้แก่ "ฝรั่งเศส กองทัพ เเม่ทัพ โจเซฟีน"
หรือจากที่บันทึกไว้ใน "จดหมายเหตุเกาะแซงต์เตเเลน" คือ "...ศีรษะ...กองทัพ...พระเจ้าช่วย!"
ในปี ค.ศ. 1955 จดหมายเหตุของท่านเค้าท์หลุยส์ มาร์ชองด์ ข้ารับใช้ของนโปเลียนได้ถูกตีพิมพ์ เขาได้เขียนเล่าเหตุการณ์
ช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนนโปเลียนจะสวรรคต และหลายคนเชื่อว่าพระองค์ถูกลอบวางยาพิษด้วยสารหนู
ในปี ค.ศ. 2001 ปาสคาล คินท์ แห่งสถาบันกฎหมายเมืองสตราสบูร์กได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ด้วยการศึกษาหาระดับสารหนู
ในเส้นพระเกศา(ผม)ของนโปเลียนภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ซึ่งก็พบว่ามีสารหนูอยู่เกินกว่าระดับปกติ 7 ถึง 38 เท่า
การวิเคราะห์ของนิตยสาร วิทยาศาสตร์และชีวิต ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถพบสารหนูในระดับความเข้มข้นเท่ากันจากตัวอย่าง
ที่เก็บได้มาจากปี ค.ศ. 1805 ค.ศ. 1814 และ ค.ศ. 1821 ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึง ธรรมเนียมในสมัยนั้นที่นิยมสวมวิกผมพ่นทับด้วยแป้งผง ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจเชื่อในการวิเคราะห์ของนักวิจัยชาวสวิสที่บอกว่า นโปเลียนสวรรคตจากโรคมะเร็งในกระเพาะ แม้ว่าจักรพรรดิจะมีพระวรกายค่อนข้างเจ้าเนื้อก่อนสวรรคต (น้ำหนัก 75.5 ก.ก. ส่วนสูง 167 ซ.ม.) นักวิจัยยังได้สำรวจกางเกงที่นโปเลียนสวมใส่ในสมัยนั้น และสามารถระบุได้ว่าพระองค์มีน้ำหนักลดลงถึง 11 ก.ก. ภายในเวลา 5 เดือน
ก่อนการสวรรคต สมมติฐานดังกล่าวเคยถูกกล่าวว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากนโปเลียนมีพระวรกายใหญ่เกินกว่าที่จะเป็นคนป่วยด้วยโรคมะเร็ง
ปัจจุบันยังไม่มีเหตุผลที่สรุปได้ว่าพระองค์ถูกสังหารโดยคนสนิทหรือป่วยตายตามธรรมชาติกันแน่
ความปรารถนาสุดท้าย...เป็นจริง
ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ จักรพรรดินโปเลียนได้ตรัสกับบาทหลวงข้างแท่นบรรทมว่า ขอให้ฝังร่างของพระองค์ริมแม่น้ำแซน, กรุงปารีส แต่รัฐบาลอังกฤษในครั้งนั้นปฏิเสธ ให้ฝังที่สุสานวัลลีย์ออฟเดอะวิลโล บนเกาะเซนต์ เฮเลนา แม้กระทั่งป้ายหลุมศพก็ให้จารึกว่า นโปเลียน โบนาปาร์ต อันเป็นชื่อสามัญชน ไม่ให้ใช้ นโปเลียน ที่ 1 อันหมายถึงพระยศแห่งความเป็นกษัตริย์ แต่ข้าราชบริพารฝรั่งเศสที่อยู่ด้วยไม่ยินยอม จึงไม่มีป้าย
ผ่านมาสิบเก้าปี ค.ศ. 1840 ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิปเป้ที่ 1 ครองบัลลังก์ฝรั่งเศส รัฐบาลอังกฤษอนุญาตให้อัญเชิญพระศพของจักรพรรดินโปเลียนกลับแผ่นดินฝรั่งเศส
รัฐบาลฝรั่งเศส ลงเรือพิฆาต เบลเล-เปาลี ที่ทาสีดำสนิทเป็นกรณีพิเศษ ไปรับพระศพของกษัตริย์ยอดนักรบถึงเกาะเซนต์ เฮเลนา ในวันที่ 29 พ.ย. เรือเทียบท่าที่เลอ ฮาฟร์ เพื่อลำเลียงต่อด้วยเรือกลไฟนอร์มังดี เลาะไปตามแม่ปากแม่น้ำแซน มุ่งสู่กรุงปารีส
ในวันที่ 15 ธ.ค. คือวันประกอบพิธีอย่างเป็นทางการแห่งกลับคืนมาของจักรพรรดินโปเลียน ผู้ยิ่งใหญ่สู่มหานครปารีส มีขบวนแห่ยิ่งใหญ่อลังการ ลอดผ่านประตูชัยอาร์ค เดอ ทรีออมพ์, ชองป์เซลิเซ่ ผ่านจตุราปลาซ เดอ ลา คองคอร์ด ไปสู่วิหารแซงต์ เฌโรเมต์ อันเป็นที่สถิตชั่วคราว ด้วยว่ารัฐบาลฝรั่งเศสได้สร้างโดมสุสานให้กับจักรพรรดินโปเลียนตามพระประสงค์คือ กลางปารีสและมองเห็นแม่น้ำแซน
1
สถาปนิก หลุยส์ วิก็องติ ต้องการให้ใครก็ตามที่มาเยือนสุสานแห่งนี้ ต้องแสดงความเคารพต่อจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส จึงออกแบบได้อย่างแยบยล โดยให้พระแท่นศพ (สลักกลึงมาจากหินแกรนิตสีแดงก่ำมีลายดอกในตัวมหึมาแท่งเดียว ที่รัสเซียส่งมาเป็นของขวัญมอบให้กับฝรั่งเศส) อยู่ในเบ้าหลุมด้านล่างของโดม ขณะที่ผู้คนที่เข้าไปในสุสาน จะเป็นลักษณะบันไดเวียนด้านบน มีระเบียบรายรอบ อันทำให้ทุกคนที่ดูแท่นพระบรมศพจะต้องก้มหัวลงมาดู นั่นเท่ากับเป็นการแสดงการคารวะ ก้มหัว เคารพต่อจักรพรรดินโปเลียนนั่นเอง
1
ใน ค.ศ. 1861 โดมสุสานแองวาลีด สำเร็จเสร็จบริบูรณ์ พระศพของจักรพรรดิยอดนักรบของฝรั่งเศสก็ถูกอัญเชิญสถิตในที่ที่พระองค์ปรารถนาไปตลอดกาล
กระนั้นก็ยังมีเรื่องโรแมนติกเกิดขึ้นอีก เมื่อมีแท่นพระศพน้อย ตั้งเคียงข้างแท่นหินแกรนิตสีแดงก่ำในภายหลัง
นั่นก็คือ แท่นพระศพของพระโอรส พระเจ้านโปเลียนที่ 2 กษัตริย์แห่งอิตาลีผู้อาภัพ ตลอดพระชนม์ของพระองค์ตกอยู่ในฐานะตัวประกัน อยู่ที่กรุงเวียนนา, ออสเตรีย พระองค์อ่อนแอขี้โรคมาตลอด และสิ้นพระชนม์ในวัยเพียง 21 ปี (ค.ศ. 2375) พระองค์ไม่อาจจำหน้าพระราชบิดา เพราะพรากจากกันตั้งแต่พระองค์ยังทรงวัยเยาว์ พระบิดาก็มีแต่ความโหยหา ไม่เคยเจอพระองค์เช่นกัน
นับเป็นเวลาหลายทศวรรษ กว่าที่พ่อลูกได้เคียงข้างกันที่สุสานแองวาลีดแห่งนี้ เมื่อรัฐบาลออสเตรียส่งมอบสัญลักษณ์ร่างของลูกคืนสู่อ้อมอกพ่อ ที่รออยู่ในอ้อมอกแห่งมหานครปารีส อันเป็นที่รักยิ่งแล้ว
ตอนที่11นี้จึงเป็นบทจบอวสานนโปเลียนโบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศสเจเจ้หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้อรรถรสในการอ่านอย่างจุใจเพราะตอนนี้ยาวแบบจบจริงๆ
ชอบกดไลท์กดแชร์กดติดตามเพจเจเจ้มีสาระด้วยนะคะขอบคุณค่ะ
ที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org
Cr.บันทึกประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสหอสมุดแห่งชาติ
โฆษณา