Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Spaceth.co
•
ติดตาม
16 เม.ย. 2020 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เราได้อะไรจากการถ่ายภาพ Korolev Crater แอ่งหิมะบนดาวอังคาร?
การสำรวจดาวอังคารเป็นเรื่องที่ท้าทายมากของมนุษยชาติ ด้วยความคาดหวังที่ว่าดาวอังคารจะสามารถเป็นโลกอีกใบของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้หรือไม่ การส่งยาน Mars Express ออกไปถ่ายภาพดาวอังคารได้สำเร็จจึงเป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง และยิ่งกว่านั้นยังทำให้เราได้เข้าใกล้คำตอบของคำถามที่ว่า ดาวอังคารจะสามารถเป็นโลกอีกใบได้หรือไม่
3
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2018 ทาง ESA หรือองค์การอวกาศยุโรปได้เปิดเผยภาพถ่ายของหลุมอุกกาบาตที่ชื่อว่า Korolev ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ถ่ายโดยยาน Mars Express
ความพิเศษของภาพถ่ายนี้ไม่เหมือนกับภาพถ่ายหลุมอุกกาบาตปกติที่เราเห็นจากยานที่โคจรรอบดาวอังคารปกติ แต่มันคือภาพถ่ายแบบ Bird Eye View ของหลุมอุกกาบาต Korolev ซึ่งมันจะเปิดเผยบางสิ่งบางอย่างของหลุมอุกกาบาตนี้ด้วยมุมมองแบบ Bird Eye View
2
Korolev Crater ที่มา - https://spaceth.co/korolev-crater/
หลุมอุกกาบาต Korolev Crater นั้นเป็นหลุมอุกกาบาตที่อยู่บริเวณขั้วเหนือของดาวอังคาร ซึ่งหลุมอุกกาบาตนี้นับเป็นหลุมอุกกาบาตที่สวยงามและเต็มไปด้วยน้ำแข็งตั้งแต่ปี 1976 ชื่อของมันถูกตั้งตามชื่อจากหัวหน้าวิศวกรจรวดและการออกแบบชื่อ Sergei Korolev บิดาแห่งเทคโนโลยีอวกาศของสหภาพโซเวียต
Korolev ทำงานให้กับโครงการอวกาศหลายโครงการ หนึ่งในนั้นคือโครงการสปุตนิก (Sputnik Program) ซึ่งถือเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกในปี 1957 หลังจากนั้น 1 ปี เขาก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Vostok ที่ส่ง Yuri Gagarin ขึ้นไปบนอวกาศเป็นคนแรกของโลก หลังจากนั้นก็ทำงานให้กับโครงการสำรวจอวกาศมากมาย เช่น โครงการสำรวจดวงจันทร์ นอกจากนี้เขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาหลักของจรวด Soyuz ที่ใช้กันจนถึงทุกวันนี้
Korolev Crater คือหลุมอุกกาบาตขนาด 81.4 กิโลเมตร ตำแหน่งของมันอยู่บริเวณที่ราบต่ำทางตอนเหนือของดาวอังคาร แถวทะเลทราย Olympia Undae บนขั้วเหนือของดาวอังคาร Korolev Crater ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่หลุมอุกกาบาตของดาวอังคารที่ไม่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ แต่มันถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งแทน โดยน้ำแข็งของมันจะหนาราว ๆ 1.8 กิโลเมตร ตลอดปี
1
หลุม Korolev จากภาพถ่าย False Color แสดงระดับสูงต่ำของพื้นผิว ที่มา – ESA
ปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดน้ำแข็งในหลุมอุกกาบาตเรียกว่า “Cold Trap” โดยที่ตัวหลุมเองลึกมาก ๆ ประมาณ 2 กิโลเมตร จากปากหลุม ทำให้ส่วนที่ลึกที่สุดของ Korolev Crater ซึ่งมีน้ำแข็งอยู่แล้ว (เพราะไม่โดนแสงแดด) เกิดกระบวนการ “Natural Cold Trap” โดยอากาศที่เย็นจะไหลลงมาก่อตัวเป็นเหมือนชั้นอากาศเหนือผิวน้ำแข็ง และเนื่องจากอากาศเป็นตัวนำความร้อนที่ห่วยมากทำให้น้ำแข็งไม่สามารถร้อนขึ้น และละลายได้ Korolev Crater จึงคงสภาพน้ำแข็งไว้ได้ตลอดปี
1
ซึ่งภาพของ Korolev Crater นั้น ถูกถ่ายด้วยกล้อง HRSC (High Resolution Stereo Camera) ของยาน Mars Express ซึ่งมันจะค่อย ๆ ถ่ายไปทีละแถบแล้วนำมารวมกันเป็นภาพเดียว นอกจากนี้ยาน Mars Express ยังได้ถ่ายภาพของ Korolev Crater ไว้ในรูปแบบอื่นอีก เช่น รูปถ่ายแบบภูมิประเทศ (Topographic) เพื่อใช้วิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้เครื่องมือ The Colour and Stereo Surface Imaging System (CaSSIS) ของ ExoMars Trace Gas Orbiter (TGO) ที่เริ่มภารกิจบนดาวอังคารเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2018 มีจุดประสงค์เพื่อหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ก็ได้ถ่ายภาพมุมมองอีกมุมมองหนึ่งที่สวยงามของหลุมอุกกาบาต Korolev ซึ่งนี้ยังเป็นภาพแรกของยานอวกาศลำนี้ที่ถูกส่งกลับมายังโลกนับตั้งแต่มันได้ไปถึง
พื้นที่บริเวณหลุมอวกาศ Korolev Crater นั้นเป็นที่สนใจแก่นักสำรวจอวกาศจำนวนมากในการศึกษา ค้นคว้าหาสิ่งมีชีวิตหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร อีกนักดาราศาสตร์ทั้งยังให้ความสนใจกับน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นบริเวณปากหลุมอุกกาบาตอีกด้วย ซึ่งการถ่ายภาพครั้งนี้ก็อาจจะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อวงการดาราศาสตร์ในอนาคตต่อไปได้ไม่มากก็น้อย
11 บันทึก
92
11
9
11
92
11
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย