17 เม.ย. 2020 เวลา 08:30 • สุขภาพ
"แกงโฮะ"หรือ"คั่วโฮะ"อาหารสุดยอดที่ล้านนาชนโปรดปรานในช่วงสงกรานต์
แกงโฮะ หรือ คั่วโฮะ
ที่สุด เหมาะสม (เปิง)กับบรรยากาศ แล้วมีความต่อเนื่องกับอาหารที่นำมาทำบุญในเทศกาลสงกรานต์ (วันพญาวัน 15 เมษายน) “โฮะ” หมายถึง นำมารวมกัน แกงโฮะไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มทำกันเมื่อใด จากการสืบถามผู้หลัก ผู้ใหญ่ พระสงฆ์ น่าจะเกิดจากที่ญาติโยม ศรัทธาได้นำอาหารหลายอย่าง มาทำบุญพร้อมกันในช่วงเวลามีเทศกาล เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น เมื่อพระ สามเณร ฉันและลูกศิษย์ในวัดรับประทานไม่หมด อาหารเหล่านี้เมื่อเหลือแม่ครัวหรือโยมที่วัดก็จะนำมาทำเป็นแกงโฮะ คือ เอาอาหารหลายชนิดมาใส่กระทะผัดรวมกันให้แห้ง (ไม่นิยมใส่น้ำมันหมูหรือน้ำมันพืช)
อาหารที่นำมารวมทำแกงโฮะ
ในแกงโฮะจะประกอบด้วย แกงฮังเล(เป็นตัวหลัก) แกงอ่อม แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ฉู่ฉี่ เติม หน่อไม้ดอง (ล้างน้ำ 1 ครั้งก่อนนำไปผัด) ตะไคร้หั่น มะเขือพวง ใบมะกรูด ใบกระเพรา พริกขี้หนู พริกหนุ่มหั่น ใบโกศล เป็นต้น
แกงโฮะ ผัดเสร็จแล้ว
เมื่อผัดเสร็จแล้วนิยมใส่กระป๋องเพื่อให้พระและสามเณรเก็บไว้ฉัน เนื่องจากสมัยก่อนนั้นไม่มีตู้เย็น หรือกล่องเก็บอาหาร ในวัดแถวชนบท จึงนิยมเก็บอาหารแห้งไว้ในกระป๋องเป็นส่วนมาก
กระป๋องเก็บอาหาร
แกงโฮะที่เหลือนอกนั้นก็จ่ายแจกให้กับญาติโยม ตอนหลังก็เป็นที่รู้กันว่าพอมีงานเทศกาลต้องไปเอาแกงโฮะที่วัดมากินกัน ต่อมาก็พัฒนามาเป็นอาหารที่ทำสดๆขึ้นมารับประทานภายในบ้าน แล้วก็ทำขายโดยไม่ต้องรอถึงหน้าเทศกาลและหาซื้อได้ตามตลาดสดทั่วๆไป
การทำแกงโฮะเป็นภูมิปัญญาในการถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่ง สมุนไพรที่นำมาใส่มีสรรพคุณแก้ท้องเสีย ทำให้รับประทานได้อย่างเอร็ดอร่อยและปลอดภัย
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดแพร่
ISBN 974-419-271-
โฆษณา