17 เม.ย. 2020 เวลา 05:01 • ปรัชญา
THE FUTURE
EP.1 SUPPY CHAIN อนาคต ( 1 ห่วงโซ่อุปทาน )
THE FUTURE : EP.1 SPPLY CHAIN
หาก COVID-19 หมดสิ้นไป
แล้วคุณคิดว่าจะได้ "โลก" ที่เคยใช้ชีวิตในแบบเดิม... (ไม่ขอบรรยาย)
อดีตโลกแบ่งขั้วอำนาจ เป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน
ทั้งกรณี ในช่วงปี 1960-1980
หลังจากหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง สหภาพโซเวียตล้มสลาย
ทำให้ในช่วงในปี ค.ศ. 1991-2020 โลกมีขั้วอำนาจเดียวอย่างชัดเจน
นั้นคือ สหรัฐอเมริกา ที่ถือว่าเป็นผู้นำหนึ่งเดียว ที่จัดระเบียบโลก
อนาคตจะเป็นอย่างไร ?
ถ้าเชื้อไวรัส COVID-19 หมดไปจากโลกใบนี้
THE FUTURE : EP.1 SPPLY CHAIN
ณ ขณะนี้ ที่เราเป็น คือผลจากอดีต
ณ ขณะนี้ ที่เราเป็น จะเป็นผลของอนาคต
เราจึงต้องมาวิเคราะห์กันว่า โลกในปัจจุบันนี้
เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างไรบ้าง ?
เริ่มต้นด้วย ประเทศในยุโรป จะทำอย่างไร ?
เมื่อ EU (สหภาพยุโรป Eupopean Union) ไม่มีการร่วมมือร่วมใจกัน ฝ่าฟันวิกฤตการณ์ COVID-19
และมีตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ
THE FUTURE : EP.1 SPPLY CHAIN
ผู้ได้รับผลกระทบหนัก อย่างเช่น ประเทศอิตาลี
ที่ขาดแคลนทุกอย่าง ยังตื้นตันใจเมื่อ จีน ได้ส่งทั้งเวชภัณฑ์ และยังมีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์
มาให้หลังจากที่ EU ได้ให้หนึ่งสิ่ง นั่นคือ “การเมินเฉย” ต่ออิตาลี
คงไม่แปลกใจ ที่ได้รับรู้ข่าวว่า “อิตาลีแสดงความขอบคุณต่อ ประเทศจีน ด้วยกันเชิญธงแดง ที่มีดาวห้าดวง ของจีน ขึ้นแทนธง EU สีฟ้า”
กลับไปที่ลูกพี่ใหญ่ อย่างสหรัฐอเมริกา
ที่ต้องยกนิ้ว (นิ้วไหนก็แล้วแต่เลย) ให้กับท่านผู้นำ
อย่างประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ตัดสินใจผิดพลาด ทั้งที่น่าจะมีเวลาในการตัดสินใจ นานกว่าประเทศอื่นๆด้วยซ้ำ
โดยผิดพลาดไปเพียง 3 เรื่อง คือ
1 ผิดพลาดในเรื่องของการจัดการภายในประเทศ
2 ผิดพลาดในเรื่องของการจัดการระหว่างประเทศ
3 ผิดพลาดในการทำงานระดับองค์การระดับประเทศ
ยกตัวอย่าง สนใจแต่ไปติดต่อผูกขาดทางปัญญาหากคิดค้นวัคซีนใหม่ได้
โดยfocus ผลประโยชน์ส่วนตน จนลืมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ที่กล่าวมานั้น จึงเป็นสิ่งที่วิเคราะห์ได้ว่า COVID-19
เป็นตัวกระตุ้นที่เร่งทำให้โลกในอนาคตเห็นได้ชัดเจน
ว่าผู้นำในโลกนั้นจะแบ่งเป็นสองขั้ว
ที่เรียกว่า ห่วงโซ่อุปทาน หรือ SPPLY CHAIN
โดยมี 2 ห่วงโซ่ คือ
ห่วงโซ่อุปทานเอเชีย ที่พี่จีน ถือว่าเป็นผู้นำ
ห่วงโซ่อุปทานอเมริกา ที่พี่สหรัฐ ถือว่าเป็นผู้นำ
THE FUTURE : EP.1 SPPLY CHAIN
แค่เพียงรู้เท่านี้ก็คงไม่มีประโยชน์
เพราะว่า ถึงรู้แล้วก็ยังทำอะไรไม่ได้ เราจึงต้องเข้าใจประเทศของเราด้วยเช่นกัน
ว่าไทยนั้น มีความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐนาฬิกาอย่างไร ?
และมีความสัมพันธ์ระหว่างจีนอย่างไร ?
เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ ให้เราได้ผลประโยชน์
เกี่ยวกับว่าที่ผู้นำ ทั้งสองห่วงโซ่อุปทาน นี้
แต่อย่าลืมว่า ในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19
ทำให้เผยจุดอ่อนของไทยว่า เรามีการพึ่งพาจีน
มากเกินไป ทั้งการผลิต การส่งออก และการท่องเที่ยว
THE FUTURE : EP.1 SPPLY CHAIN
ประเทศไทยจึงควรพึ่งพาประเทศอื่นๆ ที่ฐานะเท่าเทียม เช่น ผลิตโรงงานหลักที่ไทย 70%
โดยนำ 30% ไปวางไว้ที่อื่นๆซึ่งอาจจะอยู่ในแถบอาเซียน หรือเอเชียใต้ อย่างประเทศอินเดีย
ประเทศอินเดียถือว่าเป็นพี่ใหญ่ในเอเชียใต้
หาเข้ากับอินเดียได้ก็ถือว่าได้เข้ากับโซนเอเชียใต้ได้เลย
ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียนั้น
ถือว่ามีความสัมพันธ์กันหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น เขตการค้าเสรีไทยอินเดีย อาเซียนอินเดีย
อนาคตยังมีอาเซียน+6 และที่สำคัญก็คือ
BIMSTEC (กรอบความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจระหว่าง 7 ประเทศ ในอ่าวเบงกอล ประกอบด้วย บังกลาเทศ อินเดีย เมียนม่า ศรีลังกา ไทย ภูฏาน และเนปาล) โดยประเทศไทย
ได้มีความสัมพันธ์ทางการค้า ในพื้นที่ อ่าวเบงกอล ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จึงถือว่าเรามีประสบการณ์ในพื้นที่เป็นอย่างมาก
อนาคตของไทยนั้น คงขึ้นอยู่กับ นโยบายการบริหาร ว่าจะเป็นเช่นไร ?
#อธิบายท้ายบทความ
Supply Chain หรือ ห่วงโซอุปทาน หมายถึง กระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดสินค้าขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) ตั้งแต่ก่อนและหลังการผลิตสินค้าจนไปถึงมือผู้บริโภค
นี่แค่เริ่มต้น ยังมีอีกหลากหลายเรื่องราว
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่สนใจ ขออภัยที่ทำให้เสียเวลาอ่าน
หากคิดว่าเนื้อหามีค่า แนะนำให้ติดตาม และแชร์ให้คนที่คุณรักได้รับรู้ด้วย
จากใจที่หวังดี จึงกล้าที่จะ #เอาหัวเป็นประกัน
สามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือติดตามบทความต่อไป ในทุกช่องทาง
ของ เอาหัวเป็นประกัน
Facebook : เอาหัวเป็นประกัน
Blockdit :
Instagram :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา