18 เม.ย. 2020 เวลา 01:11 • ประวัติศาสตร์
ปืนเรือรบที่มีพลังทำลายล้างสูง ต้องอาศัยการนำทางที่ถูกต้องเพื่อให้กระสุนมีโอกาสเข้าเป้าหมายมากที่สุด จึงเป็นที่มาของ"ระบบควบคุมการยิง"
1
การยิงของเรือมีสองแบบ
แบบแรกคือยิงโดยการควบคุมจากส่วนกลาง
แบบที่สองคือยิงโดยอิสระ ป้อมปืนแต่ละป้อมจะคำนวณวิถีกระสุนและปรับปืนเอง การยิงแบบนี้จะใช้ในกรณีที่หอควบคุมการยิงถูกทำลาย
ในที่นี้ผมจะพูดถึงแบบเเรกซึ่งเป็นระบบหลักของเรือ
แนวคิดระบบควบคุมการยิงจากส่วนกลางนั้นถูกริเริ่มโดยอังกฤษซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอันดับหนึ่งด้านกองทัพเรือในปี 1912 ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลางของการยิงเรียกว่าหอควบคุมการยิง โดยจะประกอบด้วยหอสังเกตการณ์และห้องควบคุมการยิง
หอสังเกตการณ์ จะตั้งอยู่บนจุดที่สูงที่สุดของเรือเพื่อให้มองเห็นได้ไกล ยิ่งหอมีความสูงมากเท่าใดก็ยิ่งได้เปรียบในการยิง กองทัพเรือญี่ปุ่นได้อาศัยหลักนี้ในการออกแบบเรือ เรือรบญี่ปุ่นจึงมีหอที่สูงมากจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
หน้าที่ของหอสังเกตการณ์คือวัดค่าต่างๆที่ใช้ในการคำนวณการยิงเช่น ระยะทาง ความเร็วเรือศัตรู ทิศทาง ความเร็วลม ทิศทางลม ฯลฯ หลังจากได้ค่าต่างๆแล้ว จะส่งข้อมูลมายังห้องควบคุมการยิง
เรือรบญี่ปุ่นมักมีหอสูงเพื่อให้ได้เปรียบในการมองเห็น
ห้องควบคุมการยิงจะตั้งอยู่ด้านล่าง เมื่อได้รับค่าต่างๆจากหอสังเกตการณ์แล้ว จะนำมาคำนวณหาวิถีกระสุนเพื่อใช้ในการปรับปืน ขั้นตอนการคำนวณนี้จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นยังเป็นคอมพิวเตอร์แบบอนาล็อก
ห้องควบคุมการยิง
คอมพิวเตอร์อนาล็อก Dreyer
หลังจากคำนวณเรียบร้อยแล้ว หอควบคุมการยิงจะปรับทิศทางและองศาปืนให้ โดยระบบจะเชื่อมโยงกับป้อมปืนทุกป้อม ทหารประจำแต่ละป้อมก็จะคอยหมุนปืนให้ตรงกับเข็มที่หอควบคุมการยิงแจ้งมา และปืนทุกกระบอกจะยิงพร้อมกันเพื่อให้มีโอกาสเข้าเป้ามากที่สุด
พอเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเรดาร์มาใช้ในเรือรบ ทำให้สามารถยิงได้แม้สภาพอากาศจะไม่เอื้ออำนวย และยังช่วยให้การวัดค่าต่างๆจากเรือศัตรูเป็นไปด้วยความรวดเร็วและแม่นยำขึ้นมาก ไม่ต้องคอยใช้เครื่องมือและตารางคำนวณแบบเก่า
1
เรดาร์บนเรือลาดตระเวน Prinz Eugen
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบควบคุมการยิงก็ได้พัฒนาไปไกล การใช้คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้ค่าทุกอย่างมีความแม่นยำสูงมาก ประกอบกับอาวุธแบบใหม่ๆทำให้รูปแบบและยุทธวิธีของเรือรบเปลี่ยนไป
โฆษณา