19 เม.ย. 2020 เวลา 02:30 • ประวัติศาสตร์
How To กักตัวอย่างไรให้โลกไม่ลืม โดย: ไอแซค นิวตัน
"Year Of Wonders" ขณะที่ลอนดอนถูกโจมตีด้วยโรคระบาดครั้งใหญ่ บัณฑิตหนุ่มคนหนึ่งใช้เวลาว่างคิดค้นอะไรบางอย่างที่จะเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล
- Year Of Wonders -
ไอแซค นิวตัน วัย 23 ปี เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยทรินิตี้ เมืองเคมบริดจ์ เมื่อครั้งโรคระบาดแพร่สะพัดสู่กรุงลอนดอนในปี 1665
"โรคระบาดครั้งใหญ่ในอังกฤษ" - (https://en.wikipedia.org/wiki/Great_Plague_of_London)
เกล คริสเตียนสัน ระบุไว้ในหนังสือ "ไอแซค นิวตัน" ของเขาว่า
"เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดภายในเมือง ผู้บริหารจึงสั่งปิดวิทยาลัยและส่งนักศึกษาทั้งหมดกลับบ้าน ไอแซคกลับไปอยู่ที่คฤหาสถ์ Woolsthorpe อันเป็นบ้านเกิดของเขา ที่นั่นอยู่ห่างจากเคมบริดจ์ราว 60 ไมล์ มีฟาร์มขนาดใหญ่และทุ่งหญ้ากว้างขวาง เงียบสงบ ห่างไกลผู้คน เหมาะสำหรับให้ไอแซคใช้เวลาว่างครุ่นคิดจินตนาการตามประสานักวิทยาศาสตร์"
และนี่คือต้นกำเนิดของ "Annus Mirabilis" หรือ ปีมหัศจรรย์ของเขานั่นเอง
"ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เกล คริสเตียนสัน ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียน่าสเตท ผู้เขียนหนังสืออัตตชีวประวัติ ไอแซค นิวตัน" - (https://www.historians.org/publications-and-directories/perspectives-on-history/october-2010/in-memoriam-gale-edward-christianson)
Then/Now "คฤหาสถ์ Woolsthorpe มณฑลลินคอร์นไชร์ ประเทศอังกฤษ บ้านเกิดของไอแซค นิวตัน"
- แคลคูลัส –
สิ่งแรกที่ไอแซคทำหลังจากกลับไปกักตัวที่บ้าน คือการครุ่นคิดแก้สมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้แก้ปัญหากลศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ที่ยังค้างคาตั้งแต่ตอนเรียนที่วิทยาลัย เนื่องจากสูตรคำนวณของนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส 2 คน ได้แก่ เรเน่ เดการ์ต และ ปิแอร์ เดอ แฟร์มา ยังมีข้อจำกัดหลายประการ
"เรเน่ เดการ์ต และ ปิแอร์ เดอ แฟร์มา" นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
ปลายปี 1666 ไอแซคแก้สมการดังกล่าวได้สำเร็จ สูตรคำนวณของเขายาวเป็นหน้ากระดาษ โดยไอแซคเรียกมันว่า Method of Fluxion and Fluent ซึ่งได้กลายเป็นรากฐานของวิชาแคลคูลัสในปัจจุบัน
https://en.wikipedia.org/wiki/Method_of_Fluxions
- แสง สี และปริซึม –
นอกจากคณิตศาสตร์แล้ว ไอแซคยังให้ความสนใจเรื่องการหักเหของแสงอีกด้วย เขาสังเกตเห็นว่าสเปกตรัมของสีที่ออกจากปริซึมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แม้ว่าแสงเข้าสู่ปริซึมเป็นวงกลมก็ตาม นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าสีเป็นคุณสมบัติที่แท้จริงของแสง
"ทำไมแสงที่ส่องผ่านเครื่องประดับ หรือแม้แต่แก้วน้ำ ถึงทำให้เกิดสีต่างๆได้มากมายกันนะ?"
ต่อมาระหว่างปี 1670 ถึง 1672 ที่นิวตันสอนวิชาทัศนศาสตร์ (Optics) เขาได้ศึกษาการหักเหของแสงและค้นพบว่าแสงสีขาวเมื่อผ่านปริซึมจะเกิดแถบสี 7 สี (สีรุ้ง) และสามารถรวมกลับเป็นแสงสีขาวด้วยเลนส์และปริซึมอันที่สอง
https://app.emaze.com/@AOIRTOLOO#1
เขายังพบว่าลำแสงสีต่างๆจะไม่เปลี่ยนคุณสมบัติไม่ว่าจะผ่านการหักเห, การกระเจิง หรือการส่งผ่าน แสงจะยังคงสีเดิมไว้
นั่นทำให้ไอแซคค้นพบว่า แท้จริงแล้วแสงอาทิตย์ที่เห็นเป็นสีขาวนั้น ประกอบจากแสงสีรุ้งอยู่ตั้งแรก เพียงถูกหักเหให้แยกออกจากกันโดยปริซึม เหมือนแถวทหารที่แรกเริ่มก็ตบเท้าเดินเข้ามาอย่างเป็นระเบียบ แต่พอเดินผ่านดงระเบิดก็เริ่มแตกแถวเบี่ยงไปกันคนละทาง และนำไปสู่การสร้างทฤษฎีสีที่บอกว่า
สีเป็นผลจากการที่วัตถุมีปฏิสัมพันธ์กับแสง (ที่มีสีอยู่แล้ว) ไม่ใช่วัตถุสร้างสีขึ้นมาเอง
คลิปการทดลองของนิวตัน:
- ทำไมแอ๊ปเปิ้ลจึงตกสู่พื้น? -
นี่คือสิ่งที่ทำให้นิวตันมีชื่อเสียงและกลายเป็นตำนานจนถึงปัจจุบัน ความจริงแล้วไอแซคไม่ได้ค้นพบแรงโน้มถ่วงตั้งแต่วันที่เห็นแอปเปิ้ลตกในสวน
แต่เขาใช้เวลาครุ่นคิดและคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นเวลานานทีเดียว ว่าทำไมแอปเปิ้ลที่ตกลงมา หรือแม้แต่วัตถุต่างๆบนโลก ถึงไม่ถูกโลกเหวี่ยงออกไปสู่อวกาศอันไกลโพ้นเสีย?
"แอ๊ปเปิ้ลมันตกพื้นได้ไง? ทำไมไม่โดนโลกเหวี่ยงไปนอกอวกาศล่ะ?" - (https://issacnewtonscience.weebly.com/the-apple-incident.html)
ไอแซคคิดว่า แรงปริศนาที่ดึงแอปเปิ้ลให้ตกลงสู่พื้น จะต้องเป็นแรงเดียวกับที่โลกดึงดูดดวงจันทร์เอาไว้แน่ และขณะเดียวกัน ดวงจันทร์ก็ต้องมีแรงเดียวกันที่จะดึงดูดโลกเอาไว้ด้วย (แม้ว่ามันจะมีขนาดเล็กกว่าโลกก็ตาม) ซึ่งนำมาสู่การคิดค้น กฎแห่งแรงโน้มถ่วงสากล นั่นเอง
"ทำไมลูกแอปเปิลถึงตกดิ่งลงสู่พื้น ทำไมไม่ออกไปด้านข้างหรือขึ้นข้างบน ทำไมมันถึงมุ่งสู่ใจกลางโลกเสมอ เหตุผลคือโลกดึงมันลงมา จะต้องมีแรงดึงในสสารและผลรวมของแรงดึงในสสารของโลกต้องอยู่ในแนวศูนย์กลางของโลก ถ้าสสารดึงสสาร มันจะต้องมีสัดส่วนตามปริมาณของมัน ดังนั้นลูกแอปเปิลดึงโลกและโลกก็ดึงลูกแอปเปิล" - https://bhpbl.wordpress.com/sir-isaac-newton/
ไอแซคไม่ได้เผยแพร่ทฤษฎีและสูตรการคำนวณของเขาออกสู่สาธารณะทันที แต่ได้ทำการคิดและพิสูจน์เป็นระยะเวลานาน ก่อนตัดสินใจตีพิมพ์ในหนังสือเรื่อง The principle ในปี 1687
https://natedsanders.com/Rare_First_Edition_of_Sir_Isaac_Newton_s___The_Mat-LOT45127.aspx
- อดทนรอจนวิกฤติผ่านพ้นไป -
ฤดูใบไม้ผลิปี 1667 ไอแซคกลับไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์พร้อมกับทฤษฎีต่างๆ ที่เขาได้ค้นพบระหว่างถูกกักตัวเพราะเกิดโรคระบาด เพียงแค่ 6 เดือนไอแซคก็ได้เป็นนักวิชาการ (Fellow) และอีก 2 ปีต่อมาก็ได้กลายเป็นศาสตราจารย์
"รูปปั้นของไอแซค นิวตัน ที่โบสถ์ในวิทยาลัยทรินิตี้" - (https://www.wikiwand.com/en/Isaac_Newton_in_popular_culture)
ไอแซคเสียชีวิตในปี 1727 ด้วยวัย 85 ปี จากผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติยากจะหาใครเทียม พิธีศพของเขาจึงถูกจัดอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่ากษัตริย์ ศพของเขาฝังอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
"ป้ายหลุมศพและอนุสรณ์สถานที่มหาวิหารเวสมินสเตอร์" - (https://www.findagrave.com/memorial/1277/isaac-newton/photo)
และคือนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ “เซอร์ไอแซก นิวตัน”
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%81_%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา