18 เม.ย. 2020 เวลา 13:30 • การศึกษา
ตัวเหี้ยอะไร ?
คำนี้ได้ยินบ่อยนะครับ !?
เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลยดีกว่าครับ ว่า ตัวเหี้ยอะไร ?
*เหี้ย เป็นชื่อของสัตว์ที่บ่อยครั้งเรามักจะใช้คำว่า ตัวเงินตัวทอง หรือ วรนุช แทนชื่อของมัน
เพราะฉะนั้น วันนี้ เราจะขอใช้คำว่า เหี้ย เพื่อให้ถูกต้องตามชื่อของมันนะครับ 😁😁😁
หลายครั้งหลายครา ที่เพื่อนๆของผมมันชอบถามว่า นั่นตัวเหี้ยอะไร ? หรือบางครั้งมันก็ชอบถามว่า เราเป็นเหี้ยอะไร ?
ใจผมก็แอบคิดนะว่า เหี้ยทุกตัวมันก็เหมือนๆกัน จะไปรู้ไหมละ ว่าเป็นเหี้ยอะไรดี ชนิดไหน สายพันธุ์ไหนดี 5555
😆😆😆😆😆
แต่วันนี้แหละครับ เราจะมาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลยครับว่า ประเทศไทยมีตัวเหี้ยอะไรบ้าง และตัวเหี้ยแต่ละชนิดนั้นต่างกันอย่างไร 😁😁
จริงๆแล้ว เหี้ยนั้น จัดอยู่ใน ตะกูลของสัตว์เลื้อยคลาน มีทั้งหมด 70 สายพันธุ์ พบในพื้นที่เขตร้อน อย่างแอฟริกา และเอเชีย โอชิเนีย
ที่โดดเด่นที่สุดของสายพันุ์คงเป็น มังกรโคโมโด แห่งกาลาปากอส ที่ใครๆหลายคนรู้จัก
สำหรับประเทศไทยเอง มีสัตว์เลื้อยคลานในวงของ Varanus(วา-รา-นัส) หรือ เหี้ย อยู่ทั้งหมด 2 สกุลย่อยๆ
ได้แก่ Empagusia และ Soterosaurus
ในศุกลของ Empagusia นั้นจะประกอบไปด้วยตุ๊ดตู่ เห่าช้าง ตะกวด และตะกวดเหลือง
🔸ตุ๊ดตู่ แน่นอนว่าจัดอยู่ในวงของเหี้ย ซึ่งลักษณะเด่นของมันคงจะเป็นสีส้ม หรือส้มแดงแต่เมื่อมันโตขึ้น สีก็จะเริ่มจางลง
บริเวณลำคอ มีขีดสีดำตั้งแต่คิ้วถึงคอ
ลำตัวมีรอยขวันสีเหลืองๆไปจนถึงปลายหาง
จัดว่าเป็นเหี้ยที่มีขนาดตัวเล็กที่สุดในประเทศไทย
🔸เห่าช้าง ถ้าบอกลักษณะก็คงจะคล้ายกันหมด แต่ว่า ลักษณะเด่นของ เห่าช้างนั้นก็คือ เกล็ดที่สั้น และตั้งขึ้นของมัน ทำให้ทั่วทั้งตัวของมันมีลักษณะเหมือนกับลูกขนุน
และบริเวณลำคอจะมีเกล็ดที่ใหญ่กว่าบริเวณอื่นเป็นพิเศษ ดูคล้ายกับเปลือกทุเรียนเลยละครับ
ด้วยลักษณะของเกล็ดมัน ทำให้เราสามารถแยกเห่าช้าง กับเหี้ยชนิดอื่นได้ไม่ยากนัก
🔸ตะกวด เจ้าตัวนี้คนส่วนใหญ่มักจะจำสลับสับสนกับเหี้ย
แต่จะมีข้อสังเกตที่แตกต่างกันอยู่ สอง สามจุด คือ ขนาดตัวที่เล็กกว่าเหี้ยมาก หน้าของตะกวดจะเล็กกว่า สีจะออกไปทางสีน้ำตาลดำ
ขณะที่เหี้ยนั้นจะออกไปทางสีเหลืองและผสมเป็นลวดลาย
🔸ตะกวดเหลือง มีลักษณะ คล้ายกับตะกวดทั่วๆไป แต่ว่า มีนิ้วเล็บที่สันและเป็นอุ้มมากกว่า และมักจะอยู่ตามพื้นที่แห้งแล้ง
ตรงข้ามกับเหี้ยที่จะอยู่ตามแหล่งน้ำ
ส่วน Soterosaurus นั้นจะประกอบไปด้วย เหี้ยลายดอก หรือมันก็คือ ตัวเหี้ยหรือตัวเงินตัวทองที่เรารู้จักกันดีและ เหี้ยดำ
🔸เหี้ยลายดอก หรือเหี้ยธรรมดาๆ ที่เรารู้จักกัน มีลำตัวแขนาดใหญ่ มีสีเขียวลายเหลือง ไปจนถึง สีเหลืองลายเหลือง
ซึ่งจุดเด่นของมันคือ วงกลม เป็นดอกๆ บริเวณลำตัว เราสามารถพบเหี้ยพวกนี้ได้ตามพื้นที่ชื้นแฉะและตามแหล่งน้ำ
🔸เหี้ยดำ มีลักษณะคล้ายเหี้ยลายดอก แต่มีสีผิวที่ดำสนิท ไม่มีลายดอก และมีขนาดเล็กกว่านิดหน่อย
เหี้ยดำนั้น เป็นเหี้ยสายพันธุ์ที่ค้นพบล่าสุดในประเทศไทย ซึ่งสามารถพบได้ตามเกาะต่างๆทางตะวันตกของไทย
โดยสรุปแล้ว ประเทศไทยของเรานั้น มีเหี้ย อยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 ชนิด คือเหี้ยลายดอก และเหี้ยดำ
นอกจากนั้น เหี้ย ยังมีญาติสกุลใกล้ๆในวงเดียวกันอีก 4 ชนิดคือ ตุ๊ดตู่ เห่าช้าง ตะกวด และตะกวดเหลือง
สุดท้ายนี้ถ้ามีใครถามว่า นั่นเหี้ยอะไร ตอนนี้ทุกๆคนคงตอบได้แล้วใช่ไหมครับว่ามันคือเหี้ยอะไร
😁😁😁😁
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเรื่องราวของเหี้ย ที่นำมาฝากกันในวันนี้
ทุกๆคนสามารถ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับวิทย์นิดนิด ได้ผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกันได้ที่ด้านล่าง นี้เลยครับ ⬇️⬇️⬇️
และมากไปกว่านั้น ยังสามารถ เป็นกำลังใจ และสนับสนุน วิทย์นิดนิด ได้ด้วยการ กดว้าว เพื่อบอกกับเราว่า อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆
Ref:
🔹https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2
🔹https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2
🔹https://m.facebook.com/notes/natthawut-saisema/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/603621516328334/
🔹https://m.facebook.com/Cites.padangbesar/posts/1006617496159432
🔹https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87
🔹https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%94
🔹https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
🔹https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
🔹http://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=256&c_id=
🌸วิทย์นิดนิดเรียบเรียง 18/04/2563

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา