18 เม.ย. 2020 เวลา 05:06 • ประวัติศาสตร์
นาลันทา มหาวิทยาลัย พุทธศาสนา แห่งแรกของโลก เมื่อพันกว่าปีก่อน
จากความรุ่งเรือง ถึงขีดสุด สู่ความพินาจ ย่อยยับ
พระ เสวียนจ้าง หรือ เหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) เดินทางไปถึง นาลันทา
มหาวิทยาลัยนาลันทา
พระเจ้าหรรษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่ง ของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1149-1191 ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของ มหาวิทยาลัยนาลันทา หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดีย ใน รัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. 1172-1187 ได้มาศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่าถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ 10,000 คน และมีอาจารย์ประมาณ 1,500 คน
ท่าน เดินอ้อมทวีป เลยทีเดียว แต่ก็ทำสำเร็จ
พระมหากษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน 200 หมู่โดยรอบให้ โดยทรงยกภาษีที่ เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้ง สิ้น วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ
ภาพจากมุมสูง แสดงให้เห็น อาณาบริเวณ โดยรอบ
แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจาก ต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และ มองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมาก และมีชื่อเสียงไปทั่ว โลก เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่าหอสมุดนี้ไหม้ อยู่เป็นเวลาหลายเดือน
รูปวาด แสดงให้เห็นถึง ความเสื่อมสลาย ของนาลันทา
ในระยะหลังๆ นาลันทาได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อน และหลงเพลิน ทางกามารมณ์ ซึ่งเมื่อพระ ที่ควรงดเว้นเรื่องกาม ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา กลับหันมาเสพกาม เสีย แล้ว ก็ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกาเริ่มเสื่อมศรัทธาจนส่งผลให้ไม่สนใจใยดีพระศาสนา
ลัทธิพราหมณ์เริ่มที่จะปรับตัวจนกลายมาเป็น ฮินดู การปรับตัวนั้นก็เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา จากลัทธิพราหมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายัญสัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว สร้างเรื่องให้พระพุทธเจ้าก็กลายเป็นอวตารหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและทำให้พุทธศาสนากลมกลืนกับศาสนาฮินดูมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา
ลวดลาย แกะสลัก ต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลือให้เห็น ความ รุ่งเรืองในอดีต
พระพุทธเจ้า องค์ดำ แห่ง นาลันทา
ทุกสรรพสิ่ง ล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว และ ดับไปในที่สุด
ในยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย นักโบราณคดีจำนวนมากได้มาสำรวจขุดค้นพุทธสถานต่างๆ ในอินเดียโดยอาศัยบันทึกของท่านเฮี่ยนจัง คนแรกที่มา สำรวจ คือ ท่าน ฮามินตัน (Lord Haminton) ใน พ.ศ. 2358 แต่ไม่พบ ได้พบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป 2 องค์เท่านั้น ซึ่งสถานที่พบอยู่ห่างจากมหา วิทยาลัยเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น
ขุสำรวจกองดิน ก็ได้พบกับ วิหาร นาลันทา อันใหญ่โต
ต่อมาในปี พ.ศ. 2403 นายพลคันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจและก็พบมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น ต่อมาจึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัยก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้ง หนึ่ง บริเวณปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ และตรงหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทาได้มีพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบใน มหาวิทยาลัยนาลันทา
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
โฆษณา