18 เม.ย. 2020 เวลา 05:21 • การศึกษา
สังคมไร้ลูกหลาน
การก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ กลายเป็นวาระวาระแห่งชาติ และหลายภาคส่วนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น แต่ยังคงมีอีกความท้าทายในมุมหนึ่งที่ยังไม่ได้รับความสนใจและความเข้าใจที่ถูกต้องมากนัก นั่นคือการก้าวเข้าสู่ “สังคมไร้ลูกหลาน”
โดย ผศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน, ศ.ดร.พัชราวลัย วงศ์บุญสิน | คอลัมน์บทความพิเศษ I กรุงเทพธุรกิจ
สังคมไร้ลูกหลาน I กราฟิกโดย ณัชชา พ่วงพี
ข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานฃองประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2561 พบว่า
1
โครงสร้างของครัวเรือนที่ “ไร้ลูกหลาน” ในปี 2561 นั้นมีสัดส่วนสูงถึง 37.4% ของครัวเรือนทั้งหมด (เพิ่มจาก 26.1% ในปี 2549) ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโต (growth rate) ที่สูงถึง 43.3%
โดยโครงสร้างของครัวเรือนที่ไร้ลูกหลาน ประกอบด้วยครอบครัว DINK (Double Income No Kids) หรือครอบครัวที่สามีและภรรยาไม่มีลูก
และครอบครัว SINK (Single Income No Kids) หรือครอบครัวที่ผู้ชายหรือผู้หญิงอยู่คนเดียวและไม่มีลูก(โสด)
ซึ่งระหว่างครอบครัว DINK กับครอบครัว SINK จะพบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่าน ครอบครัว SINK หรือ “คนโสด” มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สอดคล้องกับงานวิจัยของ เกื้อ (2549) และ Wongboonsin และคณะ (2014) ถ้าคิดเป็นจำนวนจะพบว่า ประชากรไทยปัจจุบันกว่า 21 ล้านครัวเรือน เป็นครัวเรือน “ไร้ลูกหลาน” ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ และที่น่าตกใจมากกว่านี้คือ ตัวเลขนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต
1
สังคมไร้ลูกหลานนั้น เกิดจากสังคมไทยมีแนวโน้มมีบุตรลดลงเป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดจากการลดลงของอัตราเจริญพันธุ์ (fertility rate) หรือจำนวนบุตรเฉลี่ยต่อผู้หญิงหนึ่งคน โดยในช่วงปี 2507-2508 (50 ปีที่แล้ว) อัตราเจริญพันธุ์ของไทยอยู่ที่ระดับ 6.3 คน แต่ในช่วงปี 2558-2563 อัตราฯ ดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 1.45 คน
สาเหตุหลักการลดลงของอัตราเจริญพันธุ์
มาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและค่านิยมทางสังคม อาทิ การมีงานทำของผู้หญิงที่มีจำนวนและอัตราที่สูงขึ้น อายุแรกสมรสของคู่สมรสที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การที่ผู้หญิงไทยมีบุตรคนแรกในวัยที่สูงกว่าในอดีต แนวโน้มของการเป็นโสดที่เพิ่มมากขึ้น และแนวโน้มการหย่าร้างที่เพิ่มสูงขึ้น
1
ด้วยผู้คนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการมีความพร้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของตนเองเป็นลำดับต้นในการบรรลุเป้าหมายของชีวิต เห็นได้จากแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมที่เน้นเลือกที่จะทำงานสร้างรายได้ก่อนแต่งงาน และเลือกที่จะมีบ้าน มีรถ เครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน ก่อนที่จะมีบุตร หรือเลือกที่จะเป็นโสดมากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิตด้วยตนเองและไม่ต้องมีภาระรับผิดชอบอีกชีวิตหนึ่ง
1
ผลกระทบของสังคมไร้ลูกหลาน
การตอบคำถามนี้ เราจะอ้างอิงงานวิจัยทั้งในประเทศ-ต่างประเทศ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
งานวิจัยในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐ และสหภาพยุโรป และอีกกลุ่มคือในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา อาทิ จีนและไทย จากงานวิจัยเหล่านี้ ชี้ว่า การไม่มีลูกหลานอาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้สูงอายุได้หลักๆ 2 ทาง
คือ 1.ทางการเงิน เนื่องจากผู้สูงอายุไม่มีลูกหลานมาช่วยเหลือปัญหาทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในวัยเกษียณ ซึ่งอาจมาจากเก็บเงินออมไม่เพียงพอ หรือเกิดจากปัญหาสุขภาพที่จำเป็นต้องใช้เงินในการรักษา
โฆษณา