✈️🚁 จริงๆแล้วใช่ว่าอากาศยานทุกลำจะสามารถติดตามผ่าน application ได้นะครับ เพราะว่าอากาศยานที่จะติดตามได้จะต้องมี เครื่อง ADS-B หรือ
Automatic dependent surveillance-broadcastโดย ADS-B ก็เป็น
อุปกรณ์ Avionic หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอากาศยานตัวหนึ่งที่ส่งคลื่นวิทยุไปยังสถานีภาคพื้น (Air to Ground) หรืออากาศยานลำอื่น (Air to Air) โดยมีหน้าที่ในการใช้ติดตามและบอกตำแหน่งของอากาศยานที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า เช่นเดียวกับ Transponder
🚀🛫หลักการทำงาน ของ ADS-B จะประกอบด้วย Aircraft avionic และ
ground infrastructure โดยเจ้า ADS-B ที่ติดตั้งบนเครื่องบินจะรับข้อมูลตำแหน่งตัวเองจากดาวเทียม(GNSS) แล้วจึงส่งตำแหน่งดังกล่าวไปยังสถานี
ภาคพื้นและอากาศยานลำอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โดยคลื่นวิทยุที่ใช้ในการส่ง
สัญญาณมีอยู่ด้วยกัน 2 คลื่นความถี่ คือ 978 หรือ 1090 MHz. โดยช่องคลื่นความถี่นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน หากมีเพียงวัตถุประสงค์หลักในการใช้
งานบอกตำแหน่งจะใช้คลื่น 1090 MHz. นะครับ เพราะราคาไม่สูงและ
สามารถติดตั้งกับ Transponder Mode A, C และS ได้หรือเรียกว่าExtended squitter (1090ES) ✈️ในส่วนคลื่นความถี่ 978 MHz. หรือที่รู้จักกันในชื่อ
Universal Access Transceiver(UAT) จะมีราคาแพงแต่สามารถรับข้อมูล
ต่างๆ เช่น Traffic information service-broadcast (TIS-B) และ Flight
information service-broadcast (FIS-B) พวกข้อมูลข่าวอากาศต่างๆ โดย
ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งมาจากสถานีภาคพื้น (ในไทยน่าจะกำลังพัฒนากันอยู่
ครับ)
👨🏻✈️🧑🏻✈️ในส่วนข้อมูลที่เราเห็นบน Application ก็เนื่องมาจากการ upload ข้อมูลของสถานีภาคพื้นต่อไปที่ severs ของผู้ให้บริการ หรือเจ้าของ App Flightradar24 และจากการที่การส่งข้อมูลต้องอาศัยสัญญาณวิทยุจาก
อากาศยาน ดังนั้น รัศมีในการส่งสัญญาณก็จะอยู่ที่ 150-250 miles จากสถานีภาคพื้น และยังมีลิมิตรหากบินในชั้นความสูงไม่มากพอหรือต่ำกว่า Radar coverages ซึ่งจะไม่สามารถรับสัญญาณได้ ในส่วนคุณสมบัติอื่นๆ ก็ลองไปค้นเพิ่มเติมกันได้นะครับ วันนี้ขอแค่พูดถึงการทำงานโดยทั่วไปก่อนครับ
ออ ลืมไปอีกนิดว่าที่อเมริกาเค้าบังคับให้อากาศยานทุกลำต้องติดตั้ง ADS-B อย่างน้อยที่คลื่นความถี่ 1090ES ตั้งแต่ 1 JAN 2020 เป็นต้นมาแล้วครับ
(หากต้องบินเข้า Airspace ที่เค้ากำหนด) บ้านเราต่อไปก็คงถูกบังคับเช่นกันครับ😴😴😴