Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สะกิดใจ ให้ใฝ่รู้
•
ติดตาม
19 เม.ย. 2020 เวลา 05:49 • ประวัติศาสตร์
Q. บาตรพระ มีความเป็นมาอย่างไร และ ทำอย่างไร A. พระพุทธองค์ ทรงบัญญัติไว้ว่าบาตรมี 2 ชนิดเท่านั้นคือบาตรดินเผาและบาตรเหล็ก รมดำ โดยมีขนาดตั้งแต่ 7-11 นิ้ว และ พระพุทธองค์ ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุใช้บาตร ที่ทำจากวัสดุ ที่มีค่าเช่น เงิน ทอง ทองเหลือง ทองแดง
บาตร ดินเผา ไม่ทราบที่มา
ในปัจจุบัน วัดส่วนใหญ่ อนุโลมให้ใช้บาตร ที่ทำจากสแตนเลส เนื่องจากทำความสะอาดง่าย และสะดวก ต่อการดูแล ส่วนฝาบาตรในสมัยก่อนนั้นทำจากไม้ ก็เปลี่ยนมาใช้ เป็นฝาสแตนเลสแทน แต่ในบางที่ในภาคอีสานยังใช้ฝาบาตรที่ทำจากไม้อยู่
บาตร ดินเผา เก่า ๆ
บาตร ทรงแบบนี้ เห็นมีแต่ ในไทย คงเป็นเพราะว่า คนไทย มีความ เมตตา มักใส่บาตร กันจำนวนมาก ทำให้ บาตรก้นตื้น รองรับไม่เพียงพอ
ในประเทศไทย มีชุมชน ที่ทำบาตร เรียกว่า ชุมชน บ้านบาตร เขต ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพ มีกระบวนการ ขึ้นบาตร ต่อเหล็ก ด้วยมือ แบบโบราณ เรียกว่า บาตรบุ มีราคาแพง เพราะต้องใช้ ช่างฝีมือ เฉพาะทาง
การตัด และ ต่อตะเข็บ แบบ โบราณ
เชื่อมบาตร ด้วยไฟแก๊ส และ ลวด
ช่างแต่ละคน กว่าจะทำได้ ชำนาญ ต้องใช้ความ อดทน ตั้งใจมาก
เชื่อมเสร็จ ก็ต้องมา ทุบ เคาะ ให้เป็นรูปทรง
การ รมดำ หรือ เผาบาตร เพื่อ ป้องกัน สนิม
สุดท้าย เขียนลาย และ เคลือบ ให้สวยงาม
เมื่อกล่าวถึง บาตร สิ่งที่ ขาดไม่ได้คือ ตืนบาตร หรือ ที่รองบาตร ก็มีการ สานด้วย ไม้ไผ่ หรือ หวาย ขึ้นรูป อย่างสวยงาม
การสาน ตีนบาตร
ตีนบาตร สวยงาม พร้อมใช้
และ สุดท้าย คือ สลกบาตร หรือ ผ้าหุ้มบาตร ส่วนนี้ แล้วแต่ ใครจะ ชอบ หรือ ถนัดแบบไหน ส่วนใหญ่ เป็นผ้า ตัดเย็บ แต่ที่ ใช้ ไหม ถัก ก็มีให้เห็น
แบบ ผ้า ตัดเย็บ ตามขนาดของบาตร
แบบ เชือกถัก ก็มี ทำตาม ขนาดของบาตร รวมถีง ที่หุ้มฝาบาตรด้วย
สุดท้าย ก็ ออกมา สำเร็จ สามารถ นำไป ถวายพระ หรือ นำไป บวชลูกหลานได้
ภาพแถม บาตร เก่า ๆ หาชมได้ยาก
สุดท้าย ท้ายที่สุด นำภาพ บาตร อีกประเภท ที่มิได้ใช้ บิณฑบาตร แต่ใช้ ทำน้ำมนต์ มักใช้วิธี หล่อขึ้นมา หรือไม่ก็ ใช้ ทองเหลือง เชื่อมเข้าด้วยกัน
บาตรน้ำมนต์ ลาย พลวงพ่อโต พรหมรังสี
บาตร น้ำมนต์ ทองเหลือง ลวดลายเก่า หาชมยาก
บาตร น้ำมนต์ แบบ ปีนักษัตร และ พระประจำวันเกิด
บาตรน้ำมนต์ เก่า มีพระพิมพ์ นาคปรก ประดับรอบ บาตร
โดยส่วนตัว ผมชอบ แบบนี้ ดูเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วย พุทธศิลป์ และลายไทย
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย