Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิยาม
•
ติดตาม
19 เม.ย. 2020 เวลา 07:08 • การศึกษา
จะทำอย่างไรหากความคิดถูกกลืนกินด้วยเทคโนโลยี?
สรุปหนังสือ Future Minds เจาะความคิดชีวิตยุคดิจะตอล
สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านเผื่อว่าสนใจอยากจะอ่าน และสำหรับคนที่อ่านแล้วก็จะเป็นการทบทวนไปด้วยเลยครับ เริ่มกันเลย
1 วัฒนธรรมหน้าจอ
ในยุคที่เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรามากขึ้นทำให้สิ่งต่าง ๆ เร็วขึ้น ทั้งอินเตอร์เน็ต การเดินทาง คนจึงชอบอะไรที่เร็ว ดังที่เราเห็นกันว่ามีการพัฒนาความเร็วกันอยู่ตลอดทั้ง รถยนต์ความเร็วสูง รถไฟฟ้าความเร็วสูง เครื่องบิน อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง คอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลได้เร็ว
ดังนั้นคนจึงชอบอะไรที่มันเร็วๆ และชอบทำอะไรพร้อมๆ กันหลายอย่างด้วย เช่นขับรถไปเล่นโทรศัพท์ไป กินข้าวไปเล่นโทรศัพท์ หรือต้มมาม่าไว้รอมาม่าสุกก็เล่มเกมรอ พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เราเป็นคนที่ใจร้อนขึ้น ผมเองก็คิดเหมือนกันเมื่อผมพยายามทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นเมื่อคอมช้า เน็ตช้า รถติด หรือต้องรออะไรนาน ๆ เทคโนโลยีกำลังทำให้สิ่งต่างๆ รวดเร็วขึ้นทำให้เราชอบความเร็วและไม่ชอบอะไรที่มันช้า พูดง่าย ๆก็คือถ้าเราเจออะไรที่ช้าเราจะใจร้อนได้ง่ายขึ้นนั่นเอง หนังสือเล่มนี้ได้พูดไว้ว่า
"วัฒนธรรมต้องได้เดียวนี้ รวมทั้งความสะดวกในการเข้าถึงทุกอย่างกำลังก่อให้เกิดความผิดพลาด สิ่งนี้ก่อให้เกิดภาวะความโง่บางส่วนตลอดเวลาและความโกลาหลของการทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ขณะที่การทำหลายอย่างพร้อมกันทำให้เราคิดได้เร็วขึ้น แต่คุณภาพของความคิดนั้น ๆ กลับเลวลง เราสามารถทำอะไรหลายอย่างพร้อม ๆ กันได้ แต่เรามักทำมันได้ไม่ดี"
เราจะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ถ้าเรามีเวลาคิดที่มากพอ ลองคิดในหลาย ๆด้าน ปล่อยให้สมองได้ไคร่ครวญสิ่งต่างๆ จากมุมมองที่ต่างไปจากเดิม ความรวเร็วเป็นสิ่งที่ดี ในหลาย ๆ ด้าน แต่การคิดเร็วก็ไม่ได้ดีเสมอไป ยิ่งเรามีเวลาคิดมากเรายิ่งตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น
"เราต้องขจัดความคิดที่ว่าข้อมูลทุกอย่างมีประโยชน์ และปรับตัวให้เข้ากับความจริงอันใหม่ที่ว่า สมาธิคือพลังและข้อมูลที่เชื่อถือได้ต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ "
2 ยุคดิจิตอลเปลี่ยนแปลงความคิดของเราได้อย่างไร
สมัยนี้ "การดึงดูดและรักษาคนเก่ง ๆ ให้อยู่กับองค์กรจะเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเศรษฐกิจรุ่งเรือง เพราะเมื่อไหร่ที่คนรุ่นดิจิตอลรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้รับการพัฒนาหรือก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในตำแหน่งหน้าที่ของบริษัท พวกเขาจะจากไปทันที"
"นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า การเปลี่ยนกิจกรรมไปมาตลอดเวลาเพื่อให้การทำงานหลายอย่างพร้อมกันสัมฤทธิ์ผล เป็นการทำงานของเซลล์สมองระดับสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้"
"เราไม่จำเป็นต้องมีสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ทันทีหรือสามารถตรวจสอบข้อมูลที่วิ่งได้อย่างรวดเร็ว เราต้องกาารสมองที่สามารถแยกแยะ โดยนัยนี้ วัยรุ่นหน้าจอสมัยนี้ได้เปรียบ แต่เรายังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขี้สงสัย ขี้เล่น มีจินตนาการ คิดลึกเพื่อเพื่อให้สามารถฝันไอเดียใหญ่ ๆ ขึ้นมาและแสดงออกมาให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างรวบรัด ชัดเจน และด้วยตัวอย่างที่น่าเชื่อถือ"
3 วัยก่อนวัยรุ่น
การเล่นแบบอิสระส่งเสริมความสงสัยไคร่รู้ จินตนาการและคิดหาสาเหตุผลอันแท้จริง ซึ่งเป็นลักษณะที่ทุกวันนี้บริษัทด้านนวัตกรรมต้องการมากที่สุด
การอ่านออนไลน์และการอ่านจากหนังสือมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คนที่อ่านออนไลน์ส่วนใหญ่มักเร่งรีบและต้องการดึงข้อมูลหรือ “คุณค่า” ออกมาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในทางตรงกันข้าม เมื่อออฟไลน์ จิตใจของเรามีแนวโน้มที่จะเย็นลง ดังนั้นจินตนาการของเราจึงชัดเจนมากขึ้น
การทำผิดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้นพบ ปัญญาเห็นแจ้งและประดิษฐกรรมใหม่ ๆ ที่จริง คุณมักเรียนรู้จากการทำผิดได้มากกว่าทำถูก
เราควรเลิกยัดเยียดข้อสรุปด่วนที่ได้จากเนื้อหากว้าง ๆ เข้าไปในหัวเด็ก และเติมไฟอ่อนๆ เข้าไปในจินตนาการของพวกเขาด้วยความเมตตาแทน
เป้าหมายของการศึกษา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของชีวิต) ควรเป็นการเติมและหล่อเลี้ยงความรู้สึกสงสัยใคร่รู้ของธรรมชาติของพวกเขา มันยังควรพัฒนาจิตใจมนุษย์ให้สูงขึ้นด้วย ดันนั้นประเด็นจึงไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาคิด แต่เป็นวิธีการที่พวกเขาเปลี่ยนวิธีคิดของคุณมากกว่า
เด็ก ๆ จำเป็นต้องมีความฝันซึ่งไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา ความเป็นไปได้หรือความเห็นที่แตกต่างเพราะถ้าไม่ทำแบบนี้ เราจะสร้างคนประเภทที่สามารถหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่รู้จักวิธีการตั้งคำถามที่ลึกซึ้งและมีความหมาย ความสงสัยใคร่รู้อยู่ตลอดเวลารวมทั้งการทุ่มเทอย่างมุ่งมั่นและให้เวลาอย่างเต็มที่ดูจะป็นหัวใจของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4ไอเดีย
-วิธีง่ายๆ สำหรับแก้สมองตื้อคือ หยุดคิดสักพัก
-การผ่อนคลายช่วยแก้ให้ความคิดหายติดขัดได้
-การศึกษาทำลายไอเดียใหม่ ๆ เพราะมันตีกรอบให้คน
วิธีในการบ่มเพาะไอเดีย
1 เชื่อมโยงความจำต่าง ๆเข้าด้วยกันในจิตสำนึกเพื่อสร้างไอเดียใหม่
2 หยุดพัก รอคอย ระงับการตัดสินใจและขจัดการต่อต้าน
3 มีอารมณ์ขัน และหยุดสมองมไม่ให้ติดอยู่กับนิสัยเดิมๆ
4 จงทำผิด การทำผิดจำทำให้เราได้พบกับสิ่งที่ต้องการอย่างโชคช่วย
5 ไปนอนหลับ
6 ฝันกลางวัน
7 ดนตรี
8 ฝึกคิดสิ่งใหม่
สร้างพื้นที่สำหรับการใช้ความคิด
1 ขจัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อนไม่ว่าจะเป็นสิ่งของในสถานที่หรือแม้แต่ความคิดที่ฟุ้งซ่านด้วย
2 เคลื่อนที่ เช่น เดิน วิ่ง หรือนั่งรถประจำทาง
3 อยู่ในห้องที่เห็นวิวได้ดี
4 สถานที่นอกบ้าน
5 พักสมอง นอนให้พอ
6 ปิดเครื่องมือสื่อสาร แล้วใช้กระดาษในการจดแทน
7 ออกไปกินข้าวนอกบ้านพร้อมเครื่องดื่มดีๆ ที่คุณชอบ
8 ลองคุยกับคนใหม่ๆ ที่คุณไม่เคยรู้จักดู
"80% ของไอเดียเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เป็นทางการ"
"อุบัติเหตุเป็นองค์ประกอบสำคัญของความคิดสดใหม่ บางครั้งคุณได้เรียนรู้จากการทำผิดมากกว่าการทำถูกมาก และไอเดียฉลาดๆ มักเกิดจากความผิดโง่ๆ"
5 การสร้างความคิดที่ลึกซึ้ง
"ศาสนาพุทธพูดถึงจิตใจของมนุษย์ว่าเปรียบเสมือนลิงหมายถึงความคิดมนุษย์กระโดดจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งตลอดเวลา และไม่เคยอยู่กับปัจจุบันอย่างเต็มที่ เราจำเป็นต้องหยุดทำทุกอย่างและสังเกตลมหายใจ เราต้องสร้างสติซึ่งต้องการความนิ่ง ในเวลาที่จิตใจของเราสงบนิ่ง ว่างเปล่า และหยุดคิดเท่านั้น ไอเดียต่าง ๆ จึงจะเกิดขึ้น"
"การศึกษาสอนให้เรารู้คำตอบเพียงคำตอบเดียวของปัญหาทุกอย่างได้อย่างไร แทนที่จะมีจิตใจเปิดกว้าง เรากำลังถูกหลอกลวงให้เลือกคำตอบเพียงคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวในทุกสถานการณ์และมันก็ทำลายทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ทั้งหมดทิ้งไป"
วิธีสร้างความคิดที่ลึกซึ้ง
1 หาเวลาว่างในการคิด
2 คิดโดยไม่เลือกว่าเรื่องอะไร
3 จดบันทึกไอเดียประจำวันต่างๆ ไว้
4 เปิดใจให้กว้าง
5 ใช้เวลาคิดในตอนเข้าห้องน้ำ
6 โยนข้อห้ามทั้งไป คิดนอกกรอบไปเลย
7 ยอมรับในข้อผิดพลาดต่างๆ
8 แบ่งปันปัญหาให้คนอื่น
9 หยุดงานสักช่วง
6 มนุษย์พันธุ์ใหม่
เราจำเป็นต้องคิดให้มากขึ้นและทำให้น้อยลง หมายความว่าเราต้องทำอะไรให้ช้าลงหน่อย ให้ความสำคัญกับลางสังหรณ์และความคิดสร้างสรรค์มากว่าความคิดด้วยเหตุผล ด้วยตรรกะและการคิดวิเคราะห์บ้างเป็นครั้งคราว
เราคิดว่าโทรศัพท์มือถือเชื่อมโยงเราเข้าด้วยกัน แต่มันกำลังเปลี่ยนให้เราอยู่ในสังคมที่หยาบคาย ไม่อดทน จิตใจคับแคบ ก้าวร้าว ระบายโทสะใส่กันและผู้คนแยกตัว มันเชิญชวนให้โต้ตอบแทนที่จะไตร่ตรอง
อินเตอร์เน็ต “ได้พิสูจน์ตัวเองจนปราศจากข้อสงสัยแล้วว่า มันเป็นเครื่องมือในการทำให้โลกเข้าใจฉัน ไม่ใช่ทำให้ฉันเข้าใจโลก”
เราคิดว่าเราเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ต แต่บางทีในที่สุดมันอาจกลายเป็นผู้ใช้เราแทน เราเชื่อกันทั่วไปว่าความรู้จะค่อย ๆเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ดังนั้นเราจึงเชื่อกันว่าอินเตอร์เน็ตกำลังค่อยๆ เผยแพร่ความรู้ออกไปแต่มันก็เป็นไปได้เสมอว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอาจตรงกันข้าม ความโง่เขลาอาจกำลังเพิ่มขึ้นตามกาลเวลาเพราะปริมาณอันมหาศาลของขยะดิจิตอลและสิ่งรบกวนสมาธิซึ่งปัจจุบันคนสามารถร่วมกันสร้างและแพร่กระจายออกไปกำลังท่วมท้นจนบดบังการเรียนรู้และปัญญาของมนุษย์ให้จมหายไป
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย