Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
the strategist
•
ติดตาม
19 เม.ย. 2020 เวลา 09:18 • ธุรกิจ
“ค่าไฟแพงเพราะอะไร มาขยี้กัน อาจมีความรู้ทางเทคนิคหน่อยนะครับ”
ขอบคุณภาพจาก คมชัดลึก
ไหนๆก็ไหนๆ ขออนุญาติพูดเกินเลยกว่าสภาวะปัจจุบัน ค่าไฟที่แพงขึ้นของแต่ละบ้านหลักๆมาจากการใช้หน่วยไฟที่มากขึ้นและระบบการคิดค่าไฟของเราเป็นแบบอัตราก้าวหน้าซะด้วย ใช้มากยิ่งแพง แต่อย่างไรก็ตาม ค่าไฟในระบบที่การไฟฟ้าผลิตออกมา ยังสามารถทำให้ต่ำกว่านี้ได้ ปัจจุบันค่าไฟเฉลี่ยต่อหน่วยอยู่ที่ 3.5-3.6 บาทต่อหน่วย แต่รู้หรือไม่ว่า ค่าไฟต้นทุนนี้มาจากไหนบ้าง
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ระบบการจ่ายไฟของศูนย์ควบคุมกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (National dispacth centre) ที่ กฟผ. ดูแลอยู่นั่น มีหลักการสั่งจ่ายไฟฟ้าแบบ partial merit order คือ การจ่ายไฟแบบกำหนดโควต้าของเชื้อเพลิงที่อยู่ในระบบโดยไม่ได้มีการคำนึงถึงต้นทุนที่น้อยที่สุดเป็นหลัก โดยสัดส่วนไฟฟ้าที่สั่งจ่ายออกมาประกอบไปด้วย
#1. Must run (10%) คือโรงไฟฟ้าที่ต้องเปิดเครื่องดำเนินการอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาความมั่นคงในระบบ เช่น โรงไฟฟ้าที่เป็นของ กฟผ. ประเภท base load คือ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิต โดยโรงไฟฟ้าพวกนี้จะมีต้นทุนต่ำประมาณ 1.2-1.8 บาทต่อหน่วย ขึ้นอยู่กับราคาเชื้อเพลิงในขณะนั้น
#2 Must take (60-70%) โรงไฟฟ้าประเภทนี้เป็นโรงไฟฟ้าที่รัฐมีภาระผูกพันธที่ต้องจ่ายค่าไฟบางส่วนหรือโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เองที่มีภาระค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (take or pay) ที่ยังงัยก็ต้องมีต้นทุนในการจัดหา เพราะสั่งซื้อก๊าซด้วยสัญญาระยะยาวมาแล้ว นอกจากนี้ยังรวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ขยะ ชีวมวล โดยต้นทุนในการรับซื้อสูงมาก ทุกๆท่านคงเคยได้ยินคำว่า adder หรือ FiT โดย adder จะเป็นค่าไฟที่ กฟผ. รับซื้อจากเอกชน โดยบวกค่ารับซื้อเพิ่มจากราคาปกติอีก 8 บาท รวมเป็น 12 บาทต่อหน่วย ส่วน FiT จะอยู่ที่ 4-6 บาท ทำให้ต้นทุนค่าไฟของ กฟผ. จากการรับซื้อไฟฟ้ากลุ่มนี้อยู่ที่หน่วยละ 4-12 บาทเลยทีเดียว สูงมากกก กอไก่ล้านตัว
#3 merit order (10-20%) ส่วนสุดท้ายเป็นการจัดหาไฟฟ้าจากต้นทุนการผลิตที่ถูกที่สุด ไล่เรียงเข้ามาในระบบ ซึ่งจะทำให้ค่าไฟในระบบต่ำได้ต้องให้ความสำคัญต่อส่วนนี้อย่างมาก
จากหลักการข้างต้นในการบริหารต้นทุนค่าไฟในระบบของ กฟผ. จะเห็นได้ว่ามีการกำหนดโควต้าในการรับซื้อไฟ โดยการคำนึงต้นทุนที่น้อยที่สุดเป็นปัจจัยสุดท้าย อาจเนื่องด้วยมีภาระหน้าที่ต้องทำตามนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทน นี้เลยเป็นปัจจัยที่ 1 ที่ทำให้ต้นทุนค่าไฟในระบบยังสูงกว่าควรจะเป็น
ปัจจัยที่ 2 คือการที่รัฐมีโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพต่ำ (low efficency) ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่อหน่อยสูงเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้ารุ่นใหม่ของเอกชน ถามว่าทำไม กฟผ. ทำไมไม่หยุดการผลิตโรงไฟฟ้าเหล่านั้น ตอบได้ว่า ส่วนนึงต้อง run เพราะมีการทำสัญญาซื้อเชื้อเพลิงในการผลิตเอาไว้แล้ว หากไม่ผลิตก็จะสูญเสียประโยชน์จากเชื้อเพลิงดังกล่าว ทำให้โรงไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆของบริษัท เช่น Gulf Bgrim ที่มี effiecincy สูงต้องจอดทิ้งไว้ โดยรัฐยังคงต้องจ่ายค่า availability payment โดยไม่ได้อิเลตตรอนเข้ามาให้ระบบ หรือพูดง่ายๆว่าซื้อประกันหนือค่า stand by ว่าบริษัทดังกล่าวจะจ่ายไฟทันทีเมื่อระบบต้องการ
ปัจจัยที่ 3 ภาครัฐมีการจัดหาโรงไฟฟ้าในระบบมากเกินไป จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดประมาณ 45 GW (กิกะวัตต์) ขณะที่ใช้จริงประมาณ 28-32 GW จะเห็นได้ว่า มีการสร้างโรงไฟฟ้าในระบบมากเกินไป ทางเทคนิคจะเรียกว่ามี reserve margin ที่ประมาณเกือบ 40% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปของประเทศอื่นๆที่ 25-30% เกิดการลงทุนที่สิ้นเปลืองและยังเป็นต้นทุนแฝงต่อค่าไฟในระบบอีกด้วย
การใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ 22-26 GW หลัง Lockdown
กำลังการผลิตในระบบ 45 GW
ผมขอขยายความเพิ่มเติมให้เห็นว่า การที่ภาครัฐมีนโยบายอุดหนุนพลังงานทดแทนผ่านนโยบายที่เรียกว่า adder และ FiT จากข้อมูลภาครัฐมีการจ่ายค่าไฟอุดหนุนให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ปีละประมาณ 32,000 ล้านบาทสำหรับค่า adder และ 15,000 ล้านบาทสำหรับค่า FiT
หากนำเงินที่รัฐต้องเสียไปเพื่ออุดหนุนพลังงานหมุนเวียนดังกล่าวมาเทียบกับจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งประเทศจำนวนประมาณ 185,000 ล้านหน่วยต่อปี จะเห็นได้ว่าเงินที่อุดหนุนของภาครัฐกลับมาเป็นต้นทุนค่าไฟที่คิดกับประชาชนทั้งหมด 25 สตางค์ หรือพูดง่ายๆว่า หากทุกวันนี้ไม่มีการอุดหนุนพลังงานหมุนเวียนค่าไฟจะถูกลงประมาณ 25 สตางค์หรือ 7% (เทียบกับราคาค่าไฟปัจจุบัน 3.6 บาทต่อหน่วย)
สุดท้ายนี้ในมุมมองของผม รัฐควรจะต้องมีการทบทวนนโยบายต่างๆในการรับซื้อไฟ รวมถึงการบริหารต้นทุนค่าไฟในระบบให้รัดกุม ยิ่งอยู่ในสภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวแบบนี้แล้ว การลดต้นทุนให้ภาคประชาชนและธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ
ขอบคุณที่ติดตาม ฝากกดไลท์ กดแชร์ด้วยนะครับ 🙏
11 บันทึก
34
9
10
11
34
9
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย