ภาวะขาดน้ำ
เป็นสาเหตุให้ร่างกายอาจสูญเสียของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งอาจเกิดจากการอาเจียนอย่างหนัก หรือท้องเสียอย่างรุนแรง
ดื่มน้ำมากเกินไป
อาจพบได้ในนักวิ่งมาราธอน หรือนักไตรกีฬา ที่ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ เพื่อทดแทนเหงื่อที่สูญเสียไป ซึ่งการดื่มน้ำมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้ระดับโซเดียมในเลือดลดลงได้
ฮอร์โมนผิดปกติ
ต่อมหมวกไตทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพื่อช่วยรักษาสมดุลของน้ำ โซเดียม และโพแทสเซียมในร่างกาย หากต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ อาจทำให้ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ หรืออาจเกิดกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndrome Of Inappropriate Anti-Diuretic Hormone: SIADH) เป็นเหตุให้ร่างกายเก็บน้ำไว้ แทนที่จะขับปัสสาวะตามปกติ จนส่งผลกระทบต่อปริมาณโซเดียมในเลือดได้
มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ไต และตับ
ภาวะหัวใจวาย หรือภาวะอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของไตและตับ อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกไปได้ และส่งผลให้ระดับโซเดียมในเลือดลดลง
การใช้ยาบางชนิด
ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาระงับปวด และยาขับปัสสาวะ อาจทำให้เสียน้ำในร่างกาย หรือปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
การใช้สารเสพติด
การใช้ยาอี (Ecstasy) เสี่ยงทำให้ Hyponatremia มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การวินิจฉัยภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
แพทย์อาจซักประวัติทางการแพทย์ และสอบถามอาการประกอบการวินิจฉัย เช่น การมีเหงื่อออกมาก และการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง