20 เม.ย. 2020 เวลา 05:25 • ความคิดเห็น
Price of Social Distancing ราคาของการเว้นระยะทางสังคม
โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี … There is no such thing as a free lunch เป็นคำพูดที่คุ้นหูพวกเราที่ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงนักเศรษฐศาสตร์หรือไม่ก็ตาม
การเว้นระยะทางสังคมก็ไม่มีข้อยกเว้น … เรา(ในนามของสังคม)ย่อมมีราคาที่ต้องจ่าย
วันนี้ผมจะมาชวนคุยกันครับว่า เราต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง .. แล้วสุทธิแล้ว เราต้องจ่ายกันเท่าไร (ถ้าสามารถเคาะตัวเลขออกมาได้)
“ราคา” มีทั้งมิติแบบแคบ และ กว้าง เรามาดูมิติแบบแคบกันก่อน
ในมิติแบบแคบๆ เราวัดราคาออกมาเป็นวัตถุที่สังคมตกลงใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและ บริการ นั่นก็คือ “เงินตรา” หรือ currency
เงินตรา
ในมุมมองของเงินตรานั้น ก็สามารถลงลึกไปอีกว่า “ใครจ่าย”
ใครใช้คนนั้นจ่าย
ก็มีทั้งที่จ่ายมากขึ้น และ จ่ายน้อยลง
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าอาหาร (เปิดตู้เย็นกินบ่อยขึ้น แฮ่ๆ) ค่าการสื่อสาร ค่ายาลดไขมัน เพราะกินเยอะเกิน ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายที่ลดลง
ค่าเดินทาง ค่าซักเสื้อผ้าทำงาน ค่าเครื่องสำอาง(สาวๆ) ค่าภาษีสังคม (งานแต่ง งานศพ เยี่ยมใข้ คลอดลูก ฯลฯ) ฯลฯ
สังคมเหมาจ่าย
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
เช่น เงินที่ต้องใช้เพื่อพยุงระบบเศรษฐกิจ ผ่าน กลไก องค์กร กระทรวงฯ กรมฯ ต่างๆ ค่าบำบัด น้ำเสีย คาร์บอนไดออกไซด์ (แต่ล่ะครัวเรือนใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ใช้น้ำมากขึ้น ขยะจากการบริโภคมากขึ้น) ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายที่ลดลง
ค่าบำบัด น้ำเสีย คาร์บอนไดออกไซด์ (แต่ล่ะบริษัท โรงงาน ห้างร้าน ใช้ไฟฟ้าน้อยลง ใช้น้ำน้ำน้อยลง ขยะจาก ธุรกิจ อุตสาหกรรม การขนส่งที่ลดลง) ค่าพลังงานที่ใช้ในการขนส่ง ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุจากการเดินทาง ฯลฯ
จะเห็นว่าในมุมของสังคม ราคาของหลายๆอย่างเป็นรายการเดียวกัน เพราะค่าใช้จ่ายลดลงจากที่หนึ่ง แต่ไปเพิ่มขึ้นอีกที่หนึ่ง และ นอกจากนั้น เมื่อสาวลงไปลึกๆ สังคมจะเอาเงินมาจากไหน ถ้าไม่ใช่จากภาษีของแต่ล่ะคนในสังคม
อย่างไรก็ตาม ราคาที่ต้องจ่ายทั้งหมดที่กล่าวมานี้ (แต่ล่ะคนจ่าย สังคมจ่าย เพิ่ม หรือ ลด) ที่เป็นตัวเงิน เราสามารถคำนวนได้ โดยอาศัยสมมุติฐานชุดหนึ่ง แล้วคำนวนว่า หักลบกลบกันแล้ว สุทธินั้น สังคมต้องจ่าย หรือ สามารถประหยัด ได้เท่าใด
ราคาที่ไม่ใช่เงิน
ยังมี “ราคา” ในอีกมิติหนึ่ง ที่ไม่สามารถแทนได้ด้วย “เงิน”

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา