21 เม.ย. 2020 เวลา 23:27 • ธุรกิจ
Barter System⁉️
ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ(Barter System)
การติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนผลิตผลกับวัตถุอื่นที่ต้องการทำให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยน(Barter System) โดยตรงขึ้นนั้น ทำให้มีความสะดวกในการดำรงชีวิตมาก​ขึ้นจากวัตถุหลายชนิดที่ไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
คนเรามีการแลกเปลี่ยนผลิตผลระหว่างกัน เช่น การนำขวานหินไปแลกข้าวหรือเนื้อสัตว์ ต่อมาจึงมีการใช้สิ่งมีค่าเป็นที่ต้องการทั้งสองฝ่ายเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ เปลือกหอย เมล็ดพืช ปศุสัตว์ ลูกปัด ขวานทองแดง หัวธนู เครื่องมือการเกษตร เป็นต้น และในที่สุดได้นำโลหะทองแดง โลหะเงิน โลหะทอง ซึ่งหายาก มีความคงทน ตัดแบ่งได้ง่ายมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เมื่อมีการรวมดินแดนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นประเทศในสมัยโบราณ ผู้มีอำนาจในการปกครองได้ใช้ตราเครื่องหมายของตนประทับลงบนเม็ดเงินที่ใช้ชำระหนี้ โลหะเงินประทับตราจึงเกิดเป็นเงินตราขึ้น
อุปสรรคและความยุ่งยากหลายประการที่จะทำให้ การ แลกเปลี่ยนไม่อาจทำได้
✅การแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของนั้นอาจทำไม่ได้กับสินค้าบางชนิดเช่น ของที่มีนำ้หนักมากเกินไปหรือมีปริมาณมากเกินไปเช่นการแลกวัวกับนุ่นหรือ การแลกสัตว์มีชีวิตเพียงครึ่งตัว
✅การแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของนั้นอาจมีปัญหา เมื่อของที่จะนำมา แลกเปลี่ยนไม่ใช่สิ่งที่บุคคลทั้งสองต้องการ เช่น เรามีปลาอยากแลกกับเป็ด แต่เจ้าของเป็ดอยากแลกข้าวสาร ดังนั้นการแลกเปลี่ยนก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้ต้องเสียเวลาหาบุคคลที่มี สิ่งของที่ตนต้องการและเมื่อพบบุคคลที่มีสิ่งที่ตนต้องการแล้ว การแลกเปลี่ยนถึงจะทำได้ เพราะพอใจทุกฝ่าย
✅การแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ อาจมีความยุ่งยากในการกำหนดแลกเปลี่ยน มากน้อยแค่ใหนถึงจะพอใจทั้งสองฝ่าย
ยุคปัจจุบัน
การแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของเกิดขึ้นอีกครั้ง
เมื่อยามเกิดวิกฤตโรคระบาด และยามขาดแคลนเงินสด
เมื่อ 20 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา
กองทัพอากาศ จัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 หรือ C-130 พร้อมกำลังพล สนับสนุน โครงการนำร่อง "ทัพฟ้าช่วยไทยต้านภัยโควิด-19 ขนข้าวชาวนาแลกปลาชาวเล"
เครดิตเจ้าของภาพ
โดยมี พลอากาศโท ตรีพล อ่องไพฑูรย์ เจ้ากรมกิจการพลเรือน กองทัพอากาศ ,นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมกัน ณ อาคารเอ็กซ์-เทอร์มินอล ท่าอากาศยานภูเก็ต จากนั้นเดินทางรับมอบข้าวสารและส่งมอบปลา ณ ลานจอดเครื่องบิน ท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมกันนี้ ทางจังหวัดพังงา เข้าร่วมในการส่งสินค้าเกษตร สับปะรด จำนวน 3.2 ตัน ในโครงการฯนี้ด้วย
นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
กล่าวว่า โครงการฯนี้เกิดขึ้นจากปัญหาที่ชาวเลชุมชนราไวย์ ยังคงสามารถออกเรือหาปลาแต่ขาดพื้นที่ทางการค้า มูลนิธิชุมชนไท ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้เห็นปัญหา ร่วมกันของชาวเลราไวย์ จึงได้หารือร่วมก้บผู้นำชุมชนชาวเลทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้น
"โดยชาวเลหลายพื้นที่ได้รวมกลุ่มในนาม เครือข่ายชาวเลอันดามัน ระดมจัดทำปลาแห้ง ประมาณ 1,000กิโลกรัม เน้นปลาพันธ์ที่มีขนาดเล็ก เช่น ปลาทูแดง ปลาทูแขก ปลาข้างเหลือง เป็นต้น เพื่อนำไปทำเป็นปลาเค็มตากแห้ง ถนอมอาหารสามารถเก็บไว้กินได้นาน
และ จังหวัดยโสธร เครือข่ายชาวนาภาคอีสาน สมาคมชาวยโสธร ได้เห็นความเดือดร้อนของชาวเลในพื้นที่ต่างๆในจ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และสตูล จึงประสานงานกันส่งมอบข้าวสาร จำนวน 9ตัน หรือ 9,000กิโลกรัมท(บริจาค 2 ตัน) ให้แก่เครือข่ายชาวเลอันดามัน เป็นการแก้ปัญหา ความเดือดร้อนของชาวเล
ถือว่า เป็นการตั้งใจให้เป็นสายพานที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อีกครั้ง เป็นเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรมด้วยการนำทรัพยากรที่มีมาแลกกัน ตามหลัก P2P-People to People และ Producer to Producer ทำให้เกิดการแก้ปัญหาปากท้อง และได้เห็นว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ทำให้เราอยู่รอดแม้ในภาวะวิกฤตสังคมเองจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้"นายภัคพงศ์ กล่าว
ขณะที่ นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงาร่วมบูรณาการโครงการนี้เพื่อช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่และชาวประมงพื้นบ้าน โดย นำปลาตากแห้ง 500กิโลกรัม แลกกับ ข้าวสาร2ตัน ของยโสธร ไปลงที่หมู่เกาะสุรินทร์ 1 ตัน และบ้านน้ำเค็ม 1 ตัน สับปะรดพันธุ์ภูงา 3,200กิโลกรัม หรือ 3.2 ตัน ส่งไปอุบลฯ 2,700 กิโลกรัม ส่งที่กทม.500 กิโลกรัม.
ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ กด Like กด Share เพื่อแบ่งปันข้อมูล
เป็นกำลังใจให้ 🌱🌱มุมมอง...ชาวบ้าน 🌱🌱
ด้วยนะคร่า❤️
ขอบคุณมากๆ ค่ะ🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา