20 เม.ย. 2020 เวลา 14:14 • สุขภาพ
COVID-19 กับ วัฒนธรรมมนุษย์ที่กำลังจะเปลี่ยนไป
COVID-19 & Culture Revitalization
ในปี 1956 Anthony F. C. Wallace นักมานุษวิทยาชาวอเมริกันได้เขียนบทความชื่อว่า "Revitalization Movements"ซึ่งเป็นการอธิบายกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมว่าเป็นอย่างไร Anthony อธิบายถึงโมเดลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความพยายามอย่างตั้งใจของคนในสังคมในการสร้างวัฒนธรรมที่น่าพึงพอใจมากขึ้น
กระบวนการเปลี่ยนผ่านที่ว่ามีลำดับขั้นตอนที่เชื่อมโยงกันอยู่ 5 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 สภาวะที่มั่นคง (Steady State)
ระยะที่ 1 สภาวะที่มั่นคง (Steady State) คือสภาวะของการเคลื่อนไหวของสังคมแบบมีดุลยภาพ คนในสังคมดำเนินชีวิตตามปกติ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆและต่อเนื่อง อาจมีความขัดแย้งและความตึงเครียดระหว่างกลุ่มผลประโยชน์และบุคคลต่างๆบ้าง แต่ไม่รุนแรงจนทำให้รู้สึกอึดอัด
เรามีชีวิตที่สุขสบายมาตลอด แต่หลังจากการเฉลิมฉลองปีใหม่ 2563 โลกใบนี้ก็เปลี่ยนไป
ระยะที่ 2 ระยะที่คนมีความตึงเครียดมากขึ้น (The Period of Increased Individual Stress)
ระยะที่ 2 ระยะที่คนมีความตึงเครียดมากขึ้น (The Period of Increased Individual Stress) เป็นระยะที่ระบบสังคมเสียสมดุลจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรง สงคราม โรคระบาด ซึ่งสถานการณ์นั้นส่งผลให้คนในสังคมเกิดความตึงเครียดอย่างมากและไม่พอใจต่อความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของระบบสังคม เกิดความสับสนวุ่นวาย แต่คนในสังคมยังคงเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และ เชื่อว่ายังสามารถปรับคืนสู่สภาวะปกติได้
เมื่อมีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยมากขึ้น ในขณะที่การรับมือของระบบสังคมนั้นไร้ประสิทธิภาพ
ระยะที่ 3 ระยะการบิดเบือนทางวัฒนธรรม (The Period of Cultural Distortion)
ระยะที่ 3 ระยะการบิดเบือนทางวัฒนธรรม (The Period of Cultural Distortion) เป็นระยะที่สมาชิก ในสังคมพยายามแสวงหาทางออกหรือสร้างดุลยภาพใหม่ โดยการเข้าร่วมในเหตุการณ์ที่สับสนวุ่นวายนั้นๆ ปรากฏการณ์ที่มักพบในระยะนี้ ได้แก่ การแพร่ระบาดทางอารมณ์หรือการแพร่ระบาดของพฤติกรรม เช่น การ ดื่มสุราอย่างหนัก การประพฤติผิดศีลธรรมในหมู่ญาติพี่น้องหรือคู่สมรส การกักตุนสินค้าเพื่อค้ากำไร การกล่าวร้ายป้ายสี
เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยและของโลกเพิ่มขึ้นจาก 5 เป็น 10 จาก 100 เป็น 500 และจาก 1,000 เป็น 10,000 ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทวีคูณ ระบบเศรษฐกิจล้มระเนระนาด จำนวนผู้ว่างงานและความยากจนแพร่กระจาย มีการกักตุนหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และอาหารเพื่อเก็งกำไร เกิดความหวาดระแวง อคติ และการเลือกปฏิบัติในวงกว้าง
ระยะที่ 4 ระยะการพัฒนาเปลี่ยนผ่าน (The Period of Revitalization)
ระยะที่ 4 ระยะการพัฒนาเปลี่ยนผ่าน (The Period of Revitalization) เป็นระยะที่สังคมก้าวสู่ช่วงของการบิดเบือนทางวัฒนธรรมอย่างเต็มที่ ยากจะกลับคืนสู่สภาวะปกติได้ หากไม่จัดตั้งองค์กรเพื่อเสริมพลังทางวัฒนธรรม สังคมนั้นๆจะกลายเป็นสังคมที่อ่อนแอ สมาชิกอพยพโยกย้ายไปอยู่สังคมอื่นที่มั่นคงกว่า หรือเกิดการเข่นฆ่าทำลายล้าง แบ่งแยกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยเพื่อปกครองตนเองโดยอิสระ ดังนั้นในระยะนี้จึงสำคัญมากในการรักษาสมดุลในสังคม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาจึงต้องเร่งเสริมพลังทางวัฒนธรรม เพื่อนำสังคมดุลยภาพกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
คาดกันว่า หลังการระบาดของ COVID-19 หลายอย่างจะเปลี่ยนไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้คือ 1) ดิจิทัลจะกลายเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต 2) การรักษาระยะห่างของผู้คนจะยังคงดำเนินต่อไป 3) การแบ่งฝักฝ่ายเลือกปฏิบัติกลายเป็นเรื่องปกติ 4) ผู้คนหันมาพึ่งพากันเองภายในประเทศมากขึ้น
ระยะที่ 5 สภาวะมั่นคงสม่ำเสมอครั้งใหม่ (The New Steady State)
ระยะที่ 5 สภาวะมั่นคงสม่ำเสมอครั้งใหม่ (The New Steady State) คือขั้นภาวะของการเคลื่อนไหวสู่ดุลยภาพอีกครั้งหนึ่ง เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากที่สังคมกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว การเปลี่ยนแปลงระยะนี้มี ลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีความตึงเครียดรุนแรง สภาพมั่นคงนี้จะอยู่ได้ยาวนานเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การประสานประโยชน์ระหว่างกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ และกลวิธีการพัฒนาที่ถูกนำมาใช้
แต่ไม่ต้องห่วง ถึงแม้หลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปหลังสถานการณ์โควิด-19 แต่เชื่อเถอะว่า ยังงัยมนุษย์ก็ต้องทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมนุยชาติแน่นอน
#ขอบคุณมากๆที่เข้ามาอ่าน โปรดกด Like และ กดติดตามให้ด้วยนะคะ ขอบคุณคะ# LOVE
โฆษณา